การแข่งขันเรือยาว
ชื่อเรื่อง “ประเพณีแข่งเรือยาวปากน้ำปราณ”
ชุมชน เทศบาลปากน้ำปราณ ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประเพณีการแข่งเรือยาวปากน้ำปราณ เป็นกีฬาพื้นบ้านเก่าแก่ของชาวกรุงเก่า ที่มีการเล่นสืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณกาล ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงพระราชพิธีประจำเดือน 11 ซึ่งเป็นการอาษยุชพิธีนั้น จะมีพิธีแข่งเรือยาวด้วย ซึ่งมักเป็นที่สนใจของนักพนันขันต่อที่จะมีการพนันปะปนอยู่ด้วย และมีการละเล่นอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมปะปนมาด้วย การเล่นแข่งเรือยาวนับเป็นกีฬาพื้นบ้านที่นิยมเล่นสืบทอดต่อเนื่องและทำกันมาโดยตลอด แม้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ปรากฏหลักฐานว่ามีการเล่นแข่งเรือยาวกันเป็นประจำเสมอมา เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งทรงโปรดให้ปรับปรุงพระราชวัง มีการขุดสระภายในพระราชวัง ใน พ.ศ. 2361 ก็ทรงโปรดให้มีการแข่งเรือใน ครั้งนั้นด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 5 การแข่งเรือเป็นกีฬาที่เล่นกันอย่างแพร่หลาย เมื่อมีชาวต่างชาติชมด้วย ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งความว่า
การเล่นแข่งเรือของชาวบ้านปากน้ำปราณในสมัยก่อนมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นการทำบุญ ทำกุศล สร้างความสนุกนาน สร้างสีสันต์ให้ชุมชน คือ ชาวบ้านจะเล่นกันในเทศกาลทอดกฐิน ซึ่งจะอยู่ในเดือน 10-12 ซึ่งระยะนี้จะเป็นช่วงฤดูน้ำมาก ชาวบ้านที่อยู่ตามที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำจะใช้เรือเป็นพาหนะ เมื่อมีงานพิธีทำบุญจะมีการแห่ เพื่อนำองค์กฐิน ไปยังวัดปากคลองปราณ เมื่อเสร็จพิธีการทางศาสนาแล้ว ก็จะมีการเล่นแข่งเรือกัน ซึ่งถือกันว่าผู้ที่ร่วมแข่งขันจะได้บุญทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้การเล่นแข่งเรือยังเป็นการเล่นเพื่อจุดมุ่งหมายอีกประการ เช่น บางท้องถิ่นจะจัดให้มีการแข่งเรือในงานทำบุญไหว้พระประจำปีของแต่ละท้องถิ่น บางแห่งจะมีการแข่งเรือเพื่อเป็นการบรวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ บางแห่งจัดให้มีการเล่นแข่งเรือเทศกาลสนุกสนานรื่นเริงต่าง ๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตามการแข่งเรือยาวของบ้านปากน้ำปราณมักจัดการเล่นกันเฉพาะในฤดูน้ำทะเลมาก การเล่นแข่งเรือของชาวบ้านปากน้ำปราณ มักจัดเป็นประเพณีประจำปี และมีการเล่นเป็นที่แพร่หลายและเป็นที่รู้จักของ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ ในปัจจุบันการแข่งเรือยังมีการเล่นกันอยู่โดยทั่วไป
ประเภท : วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ ประเพณี
ประวัติความเป็นมา :
การแข่งขันเรือพายของชาวปากน้ำปราณ เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2480 โดยจะแข่งขันกันในงานทอดกฐินทางน้ำของวัดปากคลองปราณ ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องด้วยชาวตำบลปากน้ำปราณส่วนใหญ่มีอาชีพประมง เจ้าภาพงานทอดกฐินจึงมักจะเป็นเถ้าแก่เรือ เพื่อความเป็นสิริมงคลกับการประกอบอาชีพประมงด้วย ซึ่งเจ้าภาพจะนำผ้าไตรองค์กฐินลงไปตั้งในเรือ และใช้เรือฉลอม จำนวน 2 ลำมาเทียบคู่กัน เรียกว่า เรือองค์ เมื่อทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ฉลองผ้าไตรองค์กฐินเรียบร้อยแล้ว จะแห่ล่องไปตามแม่น้ำปราณบุรี ผ่านเขาเจ้าแม่ทับทิมทอง ขึ้นไปจนถึงบริเวณที่แม่น้ำปราณบุรีที่เป็นน้ำจืดจะหยุดขบวนแห่(บริเวณท่าลาดกระดาน) เพื่อกินข้าวห่อที่ชาวบ้านช่วยกันบริจาคมาสำหรับเลี้ยงผู้ที่เข้าร่วมขบวนแห่องค์กฐิน หลังจากกินข้าวห่อเรียบร้อยแล้วเรือองค์พร้อมขบวนแห่จะล่องเรือกลับมาจอดที่ท่าเรือ และเริ่มการแข่งขันเรือพายของชาวบ้าน โดยนำเรือที่ชาวบ้านมีอยู่มาจัดฝีพายลงแข่งขัน โดยฝีพายจะแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 8 – 10 คน โดยเมื่อก่อนเรือที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น เรือม้าบิน และเรือเข็มทอง เป็นต้น
การแข่งเรือพายของชาวตำบลปากน้ำปราณมีเป็นประจำทุกปี และในปี พ.ศ. 2519 ฝีพายชาวตำบลปากน้ำปราณได้ไปพายเรือยาว ในการแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธง ณ สนามแม่น้ำหลังสวน จังหวัดชุมพร ฝีพายชาวตำบลปากน้ำปราณสามารถพายเรือจนเป็นที่ยอมรับของชาวอำเภอหลังสวนเป็นอันมาก และได้ทำสถิติการพายเรือได้เร็วที่สุดในระยะทาง 500 เมตร ด้วยเวลา 1.26 นาที (พ.ศ.2522) ปัจจุบันยังไม่มีฝีพายจากที่ใดทำลายสถิตินี้ได้ นี่คือความสามารถ ความเก่งกาจและความภาคภูมิใจ ของฝีพายชาวปากน้ำปราณ นอกจากนี้การยืนพายเรือเพื่อส่งให้เรือมีความเร็วมากขึ้น ก็เป็นเคล็ดลับเด็ดของชาวตำบลปากน้ำปราณ ซึ่งฝีพายที่อื่นไม่สามารถเลียนแบบได้
ในปีพ.ศ. 2539 ชมรมเรือยาวปากน้ำปราณร่วมกับเทศบาลตำบลปากน้ำปราณ ได้เสนอขอถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราช เจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และได้รับพระราชทานจำนวน 2 ประเภท ดังนี้ ประเภทเรือพาย 30 ฝีพาย และประเภทเรือพาย 22 ฝีพาย โดยบรรจุประเพณีการแข่งขันเรือยาวสนามแม่น้ำปราณบุรี (ปากน้ำปราณ) ขึ้นมาในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 เป็นสนามแข่งขันเรือยาวประจำปี ซึ่งปัจจุบันตำบลปากน้ำปราณมีเรือยาวประเภท 30 ฝีพายจำนวน 6 ลำ ดังนี้
1. เรือเดชสมิง
2. เรือชลเทพ
3. เรือเทพวารินทร์
4. เรือมงคลโสภิต
5. เรือแม่พรายทองทิพย์
6. เรือขุนพญา
สถานที่ตั้ง(พิกัด) ของแหล่งท่องเที่ยว :