เรื่องที่ 4

ประเภทของละครสากล

ประเภทของละครสากล

ละครสากลแบ่งออกเป็นประเภทได้ดังนี้

ละครประเภทโศกนาฏกรรม (Tragedy) เป็น

วรรณกรรมการอักษรที่เก่าแก่ที่สุดและมีคุณค่าสูงสุดในเชิงศิลปะและวรรณคดี ละครประเภทนี้ถือกำเนิดในประเทศกรีซ และพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ภายใต้การนำของ เอสดิลุส (Aeschylus, 525 -465 B.C.) โซโปคลีส (Sophocles, 496 - 406 B.C.) และยูริพิดีส (Euripides, 484 - 406 B.C.)เป็นละครที่พยายามตอบปัญหา หรือตั้งคำถามที่สำคัญ ๆ เกี่ยวกับชีวิตที่ต้องนำมาให้ผู้ชมต้องขบคิด เช่นชีวิต คืออะไร มนุษย์คืออะไร อะไรผิด อะไรถูก อะไรจริงภายใต้จักรวาลที่เต็มไปด้วยความเร้นลับ และความประเภทนี้ถือกำเนิดจากพิธีทางศาสนา จึงนับว่าเป็นละครที่มีความใกล้ชิดศาสนาอยู่มาก แม้ในปัจจุบันละครแทรจิดี ที่มีความสมบูรณ์ยังสามารถให้ความรู้สึกสูงส่ง และความบริสุทธิ์ทางจิตใจ ได้ด้วยการชี้ชวนแกบังคับให้มองปัญหาสำคัญๆ ของชีวิตทำให้ได้ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์กล้าเผชิญความจริงเกี่ยวกับตนเองและโลกและมองเห็นความสำคัญของการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าสมกับที่ได้เกิดเป็นมนุษย์

ลักษณะสำคัญของละครประเภทโศกนาฏกรรม

1. ต้องเป็นเรื่องที่แสดงถึงความทุกข์ทรมานของมนุษย์และจบลงด้วยความหายนะของตัวเอง

2. ตัวเอกของแทรจิดีจะต้องมีความยิ่งใหญ่เหนือคนทั่ว ๆ ไป แต่ในขณะเดียวกันเราจะต้องมีข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดที่เป็นสาเหตุของความหายนะที่ได้รับ

3.ฉากต่างๆที่แสดงถึงความทรมานของมนุษย์ จะต้องมีผลทำให้เกิดความสงสาร และความกลัวอันจะนำไปสู่ความเข้าใจชีวิต

4. มีความเป็นเลิศในเชิงศิลปะและวรรณคดี

5.ได้ความรู้สึกอันสูงกว่าหรือความรู้สึกของผ่องแผ้ว จริงใจและการชำระล้างจิตใจบริสุทธิ์

2. ละครประเภทตลกขบขัน ตามหลักของทฤษฎีการละครที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปนั้น มักจะถือว่าละครประเภทตลกขบขันแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1) ละครตลกชนิดโปกฮาๆ (Farce) ให้ความตลกขบขันจากเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เหลือเชื่อเป็นการแสดงที่รวดเร็วและเอะอะตึงตัง

2) ละครตลกที่มีลักษณะเป็นวรรณกรรม (Comedy) บางเรื่องเป็นวรรณกรรมชั้นสูงที่นับเป็นวรรณคดีอมตะของโลกเช่นสุขนาฏกรรม (Romantic Comedy) ของเช็คสเปียร์ (Shakespeare)ละครตลกประเภทเสียดสี (Satiric Commedy) โมลิแยร์ (Moliire) และตลกประเภทความคิดของจอห์น เบอร์นาร์ด ชอว์ เป็นต้น ละครคอมเมดีมีหลายประเภทดังนี้

- สุขนาฏกรรม (Romantic Comedy) ละครคอมเมดี ประเภทนี้ถือเป็นวรรณกรรมชั้นสูงเช่น สุขนาฏกรรมของวิลเลี่ยม เชกสเปียร์ เรื่อง เวนิสวานิช (The Merchants of Venice) ตามใจท่าน (As You Like It) และ ทเวลฟร์ (Twlfth Night) เป็นต้น

- ละครตลกชั้นสูง (Hight Comedy) หรือตลกผู้ดี (Comedy of Manners)เป็นละครที่ล้อเลียนเสียดสีชีวิตในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมชั้นสูงซึ่งมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับมากมาย ความสนุกสนานขบขันของผู้ชมเกิดจากการที่ได้เห็นวิธีการอันแยบยลต่างๆที่ตัวละครในเรื่องนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงกฎข้อบังคับของสังคม

- ละครตลกประเภทเสียดสี (Satiric Comedy) ละครตลกประเภทนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับตลกชั้นสูง แต่เน้นการเสียดสีโจมตีวิธีการที่รุนแรงกว่า ในขณะที่ตัวละครชั้นสูงมุ่งล้อเลียนพฤติกรรมของคนในวงสังคมชั้นสูง ละครตลกเสียดสีมุ่งโจมตีข้อบกพร่องของมนุษย์โดยทั่วไป ไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ในแวดวงสังคมใด ละครตลกประเภทนี้มุ่งที่จะแก้ไขสิ่งบกพร่องในตัวมนุษย์และสังคมด้วยการนำข้อบกพร่องดังกล่าวมาเยาะเย้ยถากถางให้เป็นเรื่องขบขันและน่าละอาย เพื่อที่ว่าเมื่อได้ดูละครประเภทนี้แล้ว ผู้ชมจะได้มองเห็นข้อบกพร่องของตนเกิดความละอายใจและพยายามปรับปรุงแก้ไขต่อไป

- ละครตลกประกอบความคิด (Comedy Ideas) ละครตลกประเภทนี้ใช้วิธีการล้อเลียนเสียดสี แต่เน้นการนำเอาความคิดความเชื่อของมนุษย์ที่ผิดพลาดบกพร่อง หรือล้าสมัย มาเป็นจุดที่ทำให้ผู้ชมหัวเราะ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ผู้ชมกลับไปคิดแก้ไขข้อบกพร่องในความคิดความเชื่อของตนเอง และของสังคมโดยส่วนรวม จึงเรียกละครประเภทนี้อีกอย่างหนึ่งว่า “ละครตลกระดับสมอง (Intellectual Comedy) ซึ่งจัดอยู่ในระดับวรรณกรรมเช่นกัน นักเขียนที่เป็นผู้นำในการประพันธ์]ละครตลกนี้ได้แก่ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw)

- ละครตลกประเภทสถานการณ์ (Stituation Comedy)ละครตลกประเภทนี้มักเกิดจากเรื่องราวที่สับสนอลเวงประเภทผิดฝาผิดตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องบังเอิญแทบ ทั้งสิ้ นลักษณะของการแสดงก็มักจะออกท่าออทางมากกว่าตลกชั้นสูง

- ละครตลกประเภทโครมคราม(Slapstick Comedy) ละครตลกประเภทนี้มีลักษณะเป็นเอะอะตึงตัง มักมีการแสดงเมื่อไล่จับกัน และการตีก็มักจะทำให้เกิดเสียงอึกทึกครึกโครมมากกว่าที่จะทำให้ใครเจ็บจริงๆ ละครประเภทนี้มีความแตกต่างจากคอมเมดีชั้นสูงมาก และมีความใกล้เคียงไปทางละครฟาร์สมากกว่า

- ละครรักกระจุ๋มกระจิ๋ม (Sentimental Comedy) และละครตลกเคล้าน้ำตา (Tearful Comedy) ละครตลกประเภทนี้ จัดอยู่ในประเภทละครเริงรมย์ที่เขียนขึ้นเพื่อให้ถูกใจตลาดเช่นเดียวกับละครชีวิตประเภทเมโลดรามา (Melodrama) และมีลักษณะใกล้เคียงไปทางเมโลดรามามากกว่า คอมเมดี เพราะผู้เขียนให้ความเห็นอกเห็นใจกับตัวเอกมาก ผิดกับลักษณะของการเขียนประเภทคอมเมดี ซึ่งมักจะล้อเลียน หรือเสียดสีโดยปราศจากความเห็นใจและความตลกของตัวเอก และความตลกของตัวเองมักจะน่าเอ็นดู ส่วนใหญ่แล้วตลกมักจะมาจากตัวคนใช้หรือเพื่อนฝูงของพระเอกนางเอกมากกว่า

3. ละครอิงนิยาย (Romance) เป็นเรื่องราวที่มนุษย์ใฝ่ฝันจะได้พบมากกว่าที่จะได้พบจริงๆ ในชีวิตประจําวัน ละครประเภทนี้มีลักษณะที่หลีกไปจากชีวิตจริง ไปสู่ชีวิตในอุดมคติ รูปแบบของละครโรมานซ์นิยมการสร้างสรรค์อย่างมีสาระเต็มทีโดยไม่ยึดกฎเกณฑ์ใดๆ ผู้เขียนบทละครสามารถวางโครงเรื่อง โดยนำเหตุการณ์มาต่อกันเป็นตอน ๆ ในด้านภาพและเสียงและมักเป็นบทที่นำไปจัดแสดงด้วยฉาก แสง สี และเครื่องแต่งกายที่งดงามตระการตาส่วนในด้านการแสดง ละครโรมานซ์นิยม ใช้การเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลคล่องแคล่ว งดงาม และไม่พยายามลอกเลียนแบบการกระทำที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงจนเกินไป อาจใช้ลีลาที่สร้างสรรค์ขึ้นให้มีความงามมากกว่าชีวิตจริง และเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่ต้องการจะสื่อต่อผู้ชม

4.ละครประเภทเริงรมย์ (Melodramma) หมายถึ งละครที่ถือความสำคัญของโครงเรื่อง (Plot) หรือความสนุกสนานของการดำเนินเรื่องเป็นสำคัญตัวละครมีความสำคัญรองลงมาจึงใช้ตัวละครเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่องที่สนุกสนานและเพื่อให้เข้าใจง่ายติดตามท้องเรื่องได้ง่ายจึงนิยมใช้ตัวละครประเภท “ตายตัว” เช่นพระเอก นางเอกผู้ร้าย เป็นต้น

5. ละครสมัยใหม่ (Modern Drama) มีแนวทางดังนี้

1) ละครสมัยใหม่แนว “เหมือนชีวิตหรือเป็นธรรมชาติ” (Realism/Naturalism) หมายถึง ละครสมัยใหม่ที่พยามมองชีวิตด้วยความเป็นกลาง และสะท้อนภาพออกมาในรูปของละครตามความเป็นจริง โดยไม่เสริมแต่งหรือบิดเบือนตลอดจนใช้วิธีการจัดเสนอที่ทำให้ละครมีความใกล้เคียงกับชีวิตมากที่สุด

การเริ่มต้นละครยุคสมัยใหม่ ในราวปลายศตวรรษที่ 19 บรรดาผู้นำในด้านละครสมัยใหม่ต่างก็พากันเรียกว่า “ละครคือชีวิต” (Theatre is lift itself) และการแสดงละครที่ต้องที่ถูกต้องคือการนำเอา “แผ่นภาพชีวิต” (Slice of Life) ที่เหมือนจริงทุกประการมาวางบนเวทีโดยไม่มีการดัดแปลง

2) ละครสมัยใหม่แนว “ต่อต้านชีวิตจริง” (Anti - realism) เกิดขึ้นเมื่อราวไปคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีหลาย แนวดังนี้

- ละครแนวสัญลักษณ์ (Symbolism) เป็นละครที่ใช้สัญลักษณ์ในการนำเสนอความเป็นจริง แทนที่จะหลอกภาพที่เหลือมาแสดงแต่อย่างเดียว แต่จะอวดว่าอ้างว่า “ความจริง”ที่เสนอโดยใช้สัญลักษณ์ที่ลึกซึ้งกว่าความจริงที่ได้มาจากการลอกเลียนแบบธรรมชาติ โดยใช้ทั้งการสัมผัส นอกจากจะคัดค้านการลอกแบบชีวิตจริงมาใช้ในการประพันธ์ แล้วยังคัดค้านการสร้างฉากที่เหมือนจริงตลอดจนการเน้นรายละเอียดและการใช้ข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับกาลเวลา และสถานที่ในการเสนอละครมากเกินไป นิยมใช้ฉาก เครื่องแต่งกายที่ดูเป็นกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงว่าเป็นยุคใด แต่จะเน้นการใช้อารมณ์ บรรยากาศและทำให้ฉาก แสง สี เครื่องแต่งกายเป็นสัญลักษณ์

- ละครแนวโรแมนติก (Romantic) หรือ โรแมนติซิสม์ (Romantism) สมัยใหม่เป็นละครที่สะท้อนให้เห็น จิตนาการ ความใฝ่ฝัน และอุดมคติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์แทนที่จะได้จะให้เห็นแต่อำนาจฝ่ายต่ำ หรือตกเป็นทาสของสิ่งแวดล้อม

- ละครแนวเอกส์เพรสชั่นนิสม์ (Expressionism) เป็นละครที่เสาะแสวงหาความจริงส่วนลึกของสมอง และจิตใจมนุษย์ ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับความจริงที่เห็นและจับต้องได้ ฉากในละครบางครั้งจึงมีลักษณะบูดเบี้ยว และมีขนาดแตกต่างไปจากความเป็นจริงมาก คือเป็นภาพที่ถูกบิดเบือนไปตามความรู้สึกนึกคิด หรืออารมณ์ของตัวละครละครประเภทนี้ไม่ใช้การแสดงแบบเหมือนชีวิต หรือเป็นธรรมชาติแต่อาจให้ตัวละครใส่หน้ากาก หรือเคลื่อนไหวแบบหุ่นยนต์ หรือแสดงการเคลื่อนไหวแบบอื่นๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม

- ละครแนวเอพิค (Epic) เป็นละครที่มีอิสระในด้านลีลาการแสดง บทเจรจา และเทคนิคของการจัดเสนอที่ทำให้ดูห่างไกลจากแนวเหมือนชีวิต แต่ยังคงเสนอเรื่องราวที่ติดตามได้ มีเหตุผลตามสมควร และมีภาพสะท้อนเกี่ยวกับโลก และมนุษย์เสนอต่อผู้ชม แบร์ โทลท์ เบรซ นักเขียนชาวเยอรมันเป็นคนสำคัญที่สุดที่ทำให้ละครแนว เอพิคได้รับความนิยมแพร่หลาย ทั่วโลก

- ละครแนวแอบเสิร์ด (Abaurd) เป็นละครที่มีแนวการนำเสนอแบบตลกขบขัน ด้วยลีลาของจำอวดแบบเก่าแก่ แต่เนื้อหาสาระแสดงให้เห็นความวุ่นวายของโลก ความว่างเปล่าไร้จุดหมายของชีวิต การใช้ภาษามักแสดงให้เห็นความบกพร่องและการเสื่อมค่าของภาษา จนถึงขนาดที่ว่าภาษาในโลกปัจจุบันนั้นใช้สื่อความหมายแทบไม่ได้เลย การดูละคแนวแอบเสิร์ด จึงคล้ายกับการดูภาพเขียนแบบแอบเสิร์ด จึงคล้ายกับการดูภาพเขียนประเภท แอบสแทรคท์ คือผู้ดูจะต้องตีความหมายทุกอย่างด้วยตนเอง นำเอาแนวคิดความรู้สึก และประสบการณ์ของตนเข้ามามีส่วนในการ “เข้าถึง” ดังนั้นผู้ชมแต่ละคนจึงอาจแปลความหมายที่ได้รับจากการดูละครแอบเสิร์ดเรื่องเดียวกันแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจินตนาการภูมิหลังและเจตคติของแต่ละคน

การจัดการแสดงละคร

การจัดการแสดงละคร หมายถึง การนำบทละครหรือเรื่องราวที่มีอยู่มาจัดเสนอในรูปแบบของการแสดง ณสถานที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นละครหรือสถานที่ที่สามารถจัดแสดงให้ผู้ชมชมได้

ผู้ชมละคร คือ ผู้รับรู้คุณค่าของละครและมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อคุณค่านั้น ๆ โดยการนำไปกล่อมเกลานิสัย ใจคอ รสนิยม หรือเจตคติของคนที่มีต่อสิ่งต่างๆในชีวิต ในขณะเดียวกันผู้ชมคือผู้ที่วิจารณ์การละคร ปฏิกิริยาของผู้ชมที่มีแต่ละครจึงมีอิทธิพลต่อผู้สร้างสรรค์ละครเป็นอย่างมาก

แหล่งเรียนรู้

ละครโศกนาฏกรรม https://www.youtube.com/watch?v=9BWPREP_8Xg

ละครตลกชนิดโปกฮาhttps://www.youtube.com/watch?v=6OFmCkIgxng

https://www.youtube.com/watch?v=ePFfw37nrsk

ละคร Comedyhttps://www.youtube.com/watch?v=fLj9eneWWeU

ละคร Tragedy กับ Comedy https://www.youtube.com/watch?v=-Msk2hrWOrk

https://www.youtube.com/watch?v=QfQI0iNXVBU

ละคร Romantic Comedy https://www.youtube.com/watch?v=Wf_2dWIRK1E

ละคร Anti-realism https://www.youtube.com/watch?v=T9VtPrZ9LQs

ละคร Expressionism https://www.youtube.com/watch?v=08KXaHZK33M

ละคร Epic https://www.youtube.com/watch?v=tSw9Gp8kmCc

ละคร Absurd https://www.youtube.com/watch?v=qbFG7K9Ql0s

https://www.youtube.com/watch?v=8DbC90JWLQE