เรื่องที่ 3

ทัศนศิลป์สากลที่เกิดจากความงามตามธรรมชาติและธรรมชาติกับทัศนศิลป์

ศิลปะกับธรรมชาติ

ธรรมชาติ (Natural) หมายถึง สิ่งที่ปรากฏให้เห็นตามวัฏจักรของระบบสุริยะ โดยที่มนุษย์มิได้เป็นผู้สรรค์สร้างขึ้น เช่น กลางวัน กลางคืน เดือนมืด คืนเดือนเพ็ญ ภูเขา น้ำตก ถือว่าเป็นธรรมชาติ หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

ศิลปะ (Art) ตามความหมายทางพจนานุกรมและนักปราชญ์ทางศิลปได้ให้ความหมายอย่างกว้างขวางตามแนวทางหรือทัศนะส่วนตัวไว้ดังนี้ คือ ศิลปะ(ART) คำนี้ ตามแนวสากล มาจากคำว่า ARTI และ ARTE ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้กันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คำว่า ARTI นั้น หมายถึง กลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14, 15 และ 16 ส่วนคำว่า ARTE หมายถึง ฝีมือ ซึ่งรวมถึง ความรู้ของการใช้วัสดุของศิลปินด้วย เช่น การผสมสีสำหรับลงพื้น การเขียนภาพสีน้ำมัน หรือการเตรียม และการใช้วัสดุอื่นอีกศิลปะ และตามความหมายของพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ได้อธิบายไว้ว่าศิลป (สิน ละ ปะ) น. หมายถึง ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ให้ความหมายของศิลปไว้ว่า ศิลป หมายถึง งานที่ต้องใช้ความพยายามด้วยฝีมือและความคิด เช่น ตัดเสื้อ สร้างเครื่องเรือน ปลูกต้นไม้ เป็นต้น และเมื่อกล่าวถึง งานทางวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) หมายถึงงานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์ นอกจากต้องใช้ความพยายามด้วยมือ ด้วยความคิด แล้วต้องมีการพวยพุ่งแห่งพุทธิปัญญาและจิตออกมาด้วย (INTELLECTURL AND SPIRITUAL EMANATION)ศิลปะ ตามความหมายของพจนากรุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ ไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2530 ได้อธิบายไว้ว่า “ART ศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปลักษณ์ต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา”

ธรรมชาติ สามารถบอกถึงประสบการณ์ และสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีตได้ ซึ่งถือว่า “ธรรมชาติ” เป็น “ครู” ของมนุษย์

มนุษย์อาศัยธรรมชาติในการดำรงชีวิต ผลผลิตส่วนใหญ่ที่ใช้ในการดำรงชีวิตเกือบทั้งหมดก็มาจาก ธรรมชาติทั้งสิ้น วัสดุจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาสร้างสรรค์ ประกอบด้วย พืช หิน กรวด ทราย ดิน

องค์ประกอบที่สำคัญในงานศิลปะ

1. รูปแบบ (FORM) หมายถึง รูปร่างลักษณะที่ศิลปินถ่ายทอดออกมาให้ปรากฏเป็นรูปธรรม แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

1.1 รูปแบบธรรมชาติ (NATURAL FORM) ได้แก่ น้า ภูผา ต้นไม้ ลำธาร กลางวัน กลางคืน ท้องฟ้า ทะเล

1.2 รูปแบบเรขาคณิต (GEOMETRIC FORM) ได้แก่ สี่เหลียม สามเหลี่ยม วงกลม ทรงกระบอก

1.3 รูปแบบนามธรรม (ABSTRACT FORM) ได้แก่ รูปแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเองโดยอิสระ หรืออาจตัดทอน (DISTROTION) ธรรมชาติ ให้เหลือเป็นเพียงสัญลักษณ์ (SYMBOL) ที่สื่อความหมายเฉพาะตัวของศิลปิน

2. เนื้อหา (CONTENT) หมายถึง การสะท้อนเรื่องราวลงไปในรูปแบบดังกล่าว เช่น กลางวัน กลางคืน

3. เทคนิค (TECHNIQUE) หมายถึง ขบวนการเลือกสรรวัสดุ ตลอดจนวิธีการสร้างสรรค์นำมาสร้าง

4. สุนทรียศาสตร์ (AESTHETICAL ELEMENTS) ซึ่งมี 3 อย่าง คือ ความงาม (BEAUTY) ความแปลกหูแปลกตา (PICTURESQUENESS) และความน่าทึ่ง (SUBLIMITY) ศิลปกรรมชิ้นหนึ่งอาจมีทั้งความงามและความน่าทึ่งผสมกันก็ได้ เช่น พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีทั้งความงามและความน่าทึ่งผสมกัน ซึ่งจะแยก

5. จุด เส้น สี แสง เงา รูปร่าง รูปทรง

1) จุด ……………………………………… คือ องค์ประกอบที่เล็กที่สุด จุดเป็นสิ่งที่สามารถบอกตําแหน่งและทิศทางโดยการนำจุดมาเรียงต่อกันให้ เป็นเส้น เกิดน้ำหนักที่ให้ปริมาตรแก่รูปทรง

การเกิดของจุด จุดสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ

1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น จุดในลายของสัตว์ เปลือกหอย ผีเสื้อ แมลง พืช เปลือกไม้ ฯลฯ

2. เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่การจิ้ม กระแทก กด ด้วยวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆเช่น ปากกา ดินสอ พู่กัน กิ่งไม้ และของปลายแหลม ทุกชนิด

2) เส้น หมายถึง จุดหลายๆ จุดที่เรียงชิดติดกันเป็นแนวยาว โดยการลากเส้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งที่ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป ได้ดังนี้

เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกแข็งแรง สูงเด่น สง่างาม น่าเกรงขาม

เส้นนอน ให้ความรู้สึกสงบราบเรียบ กว้างขวาง การพักผ่อน หยุดนิ่ง

เส้นแนวเฉียง ให้ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง ไม่หยุดนิ่ง

เส้นตัดกัน ให้ความรู้สึกประสานกัน แข็งแรง

เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนโยน นุ่มนวล

เส้นคด ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ไหลเลื่อน ร่าเริง ต่อเนื่อง

เส้นประ ให้ความรู้สึกขาดหาย ลึกลับ ไม่สมบรูณ์ แสดงส่วนที่มองไม่เห็น

เส้นขด ให้ความรู้สึกหมุนเวียนมึนงง

เส้นหยัก ให้ความรู้สึกขัดแย้ง น่ากลัว ตื่นเต้น แปลกตา

3) สี

ทฤษฎีสี หมายถึง หลักวิชาในเรื่องของสีที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบว่าแสงสีขาวจาก ดวงอาทิตย์เมื่อหักเห ผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม (prism) แสงสีขาวจะ กระจายออกเป็นสีรุ้ง เรียกว่า สเปคตรัม มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง

นักวิชาการสาขาต่าง ๆ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องสี จนเกิดเป็นทฤษฎีสี ตามหลักการของนักวิชาการสาขา ต่าง ๆ เช่น

แม่สีของนักฟิสิกส์ หรือ(แม่สีของแสง) (Spectrum Primaries) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของคลื่นแสง มี 3 สี คือ สีเขียว สีน้ำเงิน และสีแดง

แม่สีของนักเคมี (Pigmentary Primaries) คือ สีที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและวงการศิลปะ (สีวัตถุธาตุ) ประกอบด้วย

สีขั้นที่ 1 (Primary Color) คือ แม่สีพื้นฐาน มี 3 สี ได้แก่

1. สีเหลือง (Yellow)

2. สีแดง (Red)

3. สีน้ำเงิน (Blue)

สีขั้นที่ 2 (Secondary color) คือ สีทีเกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่

1. สีส้ม (Orange) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีเหลือง (Yellow)

2. สีม่วง (Violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)

3. สีเขียว (Green) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)

สีขั้นที่ 3 (Intermediate Color) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแม่สีกับสีขั้นที่ 2 จะเกิดสีขั้นที่ 3 ขึ้นอีก 6 สี ได้แก่

1. สีน้ำเงินม่วง (Violet-blue) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีม่วง (Violet)

2. สีเขียวน้ำเงิน (Blue-green) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีเขียว (Green)

3. สีเหลืองเขียว (Green-yellow) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีเขียว (Green)

4. สีส้มเหลือง (Yellow-orange) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีส้ม (Orange)

5. สีแดงส้ม ( Orange-red) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีส้ม (Orange)

6. สีม่วงแดง ( Red-violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีม่วง (Violet)

คุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ

1. สีแท้ หรือความเป็นสี (Hue) หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ

ทั้ง 12 สี



2. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสูทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง และสีที่ถูกผสมด้วยสีดำจนหม่นลง ความจัดหรือความบริสุทธิ์จะลดลงความจัดของสีจะเรียงลำดับจากจัดที่สุด ไปจนหม่นที่สุดได้หลายลำดับ ด้วยการค่อยๆ เพ่ิมปริมาณของสีดำที่ผสมเข้าไปทีละน้อยจนถึงลำดับที่ความจัดของสีมีน้อยที่สุดคือเกียบเป็นสีดำ

3. น้ำหนุักของสี (Values) หมายถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ (Darkness) ของสีแต่ละสี สีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่ง สีนั่นจะสว่างขึ้น หรือมีน้ำหนักอ่อนลงถ้าเพ่ิมสีขาวเข้าไปทีละน้อย ๆ ตามลำดับเราจะได้น้ำหนักของที่เรียงลำดับจากแก่สุดไปจนถึงอ่อนสุดน้ำหนักอ่อนแก่ของสี เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และดำน้ำหนักของสีจะลดลงด้วยการ ใช้สีเทาผสม (tint) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดลง เกิดความรู้สึก ที่สงบ ราบเรียบ และน้ำหนักของสีจะเพ่ิมขึ้นมากขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม (shade) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง เกิดความรู้สึกขรึม สีกลับ นอกจากนั้นนัำหนักของสียังหมายถึงการเรียงลำดับน้ำหนักของสีแท้ด้วยกันเอง โดยเปรียบเทียบน้ำหนักอ่อนแก่กับสีขาว ดำเราสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสีกับภาพขาวดำได้อย่างชัดเจนและเมื่อเรานำภาพสีที่เราเห็นว่ามีสีแดงอยู่หลายต่าตั้งแต่อ่อน กลาง แก่ ไปถ่ายเอกสารขาว - ดำ เมื่อนำมาดูจะพบวา สีแดงจะมีน้ำหนักอ่อน แก่ตั้งแต่ขาว เทา ดำ นั้นเป็นเพราะว่าสีแดงมีน้ำหนักของสีแตกต่างกันนั่่นเอง

สีที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้แบ่งเป็น 2 วรรณะ โดยแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วน คือ

1) สีวรรณะร้อน (Warm Color) ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดงส้ม สีแดง สีม่วงแดง สีม่วง

2) สีวรรณะเย็น (Cool Color) ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตา ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ทั้ง 2 วรรณะ คือ สีกลางที่เป็นได้ทั้งสีร้อน และสีเย็น

4) รูปร่าง รูปทรง

เมื่อเรามองเห็นต้นไม้ เส้นรอบนอกของทรงพุ่มที่มีลักษณะ คดโค้ง หรือเส้นตั้ง ของลำต้น ซึ่งเป็นเส้นรอบรูปที่ตัดกับบริเวณว่าง สิ่งนั้น คือ รูปร่าง (form) มี ๒ มิติ (กว้างกับยาว) ส่วนเนื้อที่ภายในของทรงพุ่มหรือทรงกระบอก ของลำต้นนั้น เป็นรูปทรง (shape) มี ๓ มิติ ให้ความรู้สึกเป็นกลุ่มก้อน มีน้ำหนัก มีเนื้อที่ภายใน (กว้าง ยาว และลึก)

– รูปร่าง รูปทรงธรรมชาติ เป็นรูปร่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

– รูปร่าง รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปร่างที่ประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง เช่น รูปครึ่งวงกลม รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม เป็นต้น

– รูปร่าง รูปทรงอิสระ เป็นรูปร่าง รูปทรงต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากรูปร่าง ธรรมชาติ และรูปร่างเรขาคณิต

5. มวลและปริมาตร (mass and volume)

มวล หมายถึง เนื้อทั้งหมดของสาร ถ้าเป็น พุ่มไม้ ก็คือ พื้นที่ภายในทรงพุ่มทั้งหมด มวลของหิน คือ เนื้อที่แข็งแกร่งของหิน

ปริมาตร (volume) คือ พื้นที่กินระวางในอากาศหรือบริเวณว่าง (space) ของวัตถุต่าง ๆ กำหนดเป็นรูปทรงที่แสดงเป็น 3 มิติ การกำหนดมวลและปริมาตร มักจะถูกเรียกกลืนไปกับ เรื่องของเนื้อที่และปริมาณ เช่น ใช้พันธุ์ไม้ในปริมาณที่มาก ๆ มาปลูกรวมกัน เพื่อสร้างเนื้อที่ ดังนั้นในการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ลงในพื้นที่ จึงต้องคำนึงถึงปริมาณของวัตถุและการใช้เนื้อที่

6. ผิวสัมผัส (texture) หมายถึง ลักษณะพื้นผิวหน้าของวัตถุ เมื่อสัมผัสจับต้อง หรือมองเห็นแล้วรู้สึกได้ว่าหยาบ ละเอียด เป็นมัน ขรุขระ เป็นเส้น เป็นจุด เป็นกำมะหยี่ หรือพื้นผิวสัมผัสเรียบ สม่ำเสมอ จะให้ลักษณะผิวสัมผัสละเอียด (Fine texture) ความรู้สึก ต่อ ลักษณะผิว

– ลักษณะผิวที่เรียบ จะให้ความรู้สึกลื่น คล่องตัว รวดเร็ว

– ส่วนลักษณะผิวที่ขรุขระ หยาบ หรือเน้นเส้นสูงต่ำ จะให้ความรู้สึก มั่นคง แข็งแรง

7. ลวดลาย (pattern) ลวดลายในการจัดสวน เป็ฯการจัดตกแต่งพื้นผิว (surface) ด้วยลักษณะต่าง ๆ ให้เห็นเป็นลวดลายขึ้น อาจจะจัดโดยใช้ลักษณะซ้ำ ๆ กันของ จุด เส้น สี หรือรูปร่างบนพื้นผิว เพื่อปรุงแต่งพื้นผิวให้สวยงาม ผิวพื้นในสวน ที่สามารถกำหนด ลวดลายลงไปได้ เช่น

– พื้นผิวที่ให้ความรู้สึกอ่อนนุ่ม (sorf surface) ได้แก่ สนามหญ้า พื้นที่โรยกรวด ทราย

– ผิวพื้นที่ให้ความรู้สึกกระด้าง (hard surface) ได้แก่ พื้นซิเมนต์ พื้นศิลาแลง พื้นอิฐ หรือพื้นหินขัด

– พื้นผิวที่ให้ความรูเ้สึกค่อนข้างแข็ง (Semi-hard surface) ได้แก่ พื้นซิเมนต์สลับปูหญ้า

ประเภทการสร้างสรรค์ของศิลปินออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มที่ยึดรูปธรรม (REALISTIC) หมายถึง กลุ่มที่ยึดรูปแบบที่เป็นจริงในธรรมชาติมาเป็นหลักในการสร้าง งานศิลปะ 2. กลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) หมายถึง กลุ่มที่ยึดแนวทางการสร้างงานที่ตรงข้ามกับ กลุ่มรูปธรรม ซึ่งศิลปิน กลุ่มนี้มุ่งที่จะสร้างรูปทรง (FORM) 3. กลุ่มกึ่งนามธรรม (SEMI-ABSTRACT) หมายถึง กลุ่มที่สร้างงานทางศิลปะโดยใช้วิธีลดตัดทอน (DISTORTION) รายละเอียดที่มีในธรรมชาติให้ปรากฏออกมาเป็นรูปแบบทางศิลปะ

ความคิดสร้างสรรค์ การตกแต่งร่างกาย ที่อยู่อาศัยและผลิตภัณฑ์

การออกแบบ เป็นส่วนหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของมนุษย์ ดังนี้

1. ออกแบบตกแต่งที่อยู่อาศัย ใช้หลักองค์ประกอบศิลป์

2. ออกแบบให้กับร่างกาย โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์

3. ออกแบบผลิตภัณฑ์ รูปแบบที่แปลกใหม่และเป็นจุดสนใจในธุรกิจด้านอุตสาหกรรม

4. ออกแบบสำนักงานในและนอกสถานที่ทำงานที่ได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์ให้น่าทำงาน สะดวกในการใช้สอย ซึ่งแบ่งการออกแบบได้เป็น 2 ประเภท คือ

1 ออกแบบตกแต่งภายใน ได้แก่ การออกแบบตกแต่งภายในอาคาร ตกแต่งภายในบ้าน ภายในสำนักงาน ภายในอาคารสาธารณะ ภายในยานพาหนะ การออกแบบตกแต่งหน้าร้านค้า

2 การออกแบบตกแต่งภายนอก ได้แก่ การออกแบบตกแต่งสวนและบริเวณภายนอกอาคาร การออกแบบภูมิทัศน์ในส่วนพื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ ถนน สะพาน ฯลฯ

วีดีทัศน์สอนเสริม โดย อ.พิมพ์ใจ ศิริสาคร

AVSEQ01.mp4

สาระที่ 1 ทัศนศิลป์

AVSEQ02.mp4

สาระที่ 2 ประเภทของทัศนศิลป์