เรื่องที่ 1

ความเป็นมาของทัศนศิลป์สากล

ความหมายของศิลปะและทัศนศิลป์

ศิลปะ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ปัญญา ความคิด หรือความงาม ซึ่งแสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ โดยมีจุดประสงค์ที่แน่นอนและมีความคิดสร้างสรรค์

ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับมนุษย์

ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับมนุษย์มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่ยุคหินหรือประมาณ 4,000-5,000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่มนุษย์อาศัยอยู่ในถ้ำต่างๆ เพิงผา ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และหาของป่าเป็นอาหาร โดยมาศิลปะในสมัยนี้จะเป็นภาพวาด ปรากฎตามผนังถ้ำต่างๆ เช่น ภาพวัวไบซัน ที่ถ้ำอัลตาริมา ประเทศสเปน ภาพสัตว์ชนิดต่างๆที่ถ้ำลาสโคว์ ประเทศฝรั่งเศส และสำหรับประเทศไทย เช่น ภาพวาดที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ที่บ้านเชียง จังหวัดอุบลราชธานี

ภาพวัวไบซัน ที่ถ้ำอัลตาริมา ประเทศสเปน

(httpsart-manman.blogspot.com201803blog-post.html)

httpswww.google.co.thsearchq=ภาพผาแต้ม+ประเทศไทย

httpswww.google.co.thsearchq=ภาพสัตว์ชนิดต่างๆที่+ถ้ำลาสโลว์+ประเทศฝรั่งเศส

ทัศนศิลป์ (อังกฤษ : visual arts) คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะอย่างมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทัศนศิลป์ คือ ศิลปะที่มองเห็นได้ การรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม มีขั้นตอนและกระบวนการในการถ่ายทอดที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศนศิลป์นั้น

แนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา

ประเภทของงานทัศนศิลป์ ์แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. จิตรกรรม

จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงาม เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา ผู้ทำงานด้านจิตรกรรม เรียกว่า จิตรกร

ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จัก อยู่ที่ถ้ำ Chauvet ประเทศฝรั่งเศส มีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ เป็นรูปม้า แรด สิงโต ควายแมมมอธ หรือภาพมนุษย์ที่กำลังล่าสัตว์

จิตรกรรม สามารถจำแนกได้ตามลักษณะผลงาน และ วัสดุอุปกรณ์การสร้างสรรค์เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาด และ ภาพเขียนจิตรกรรมภาพวาด (Drawing) คือ ภาพวาดเส้น อาจเรียกด้วยคำทับศัพท์ ว่า ดรออิ้ง (Drawing)

ภาพวาดในสื่อสิ่งพิมพ์ แบ่งออก ได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาดลายเส้น และ การ์ตูน

จิตรกรรมภาพเขียน (Painting) เป็นการสร้างงาน มิติบนพื้นระนาบด้วยสีหลายสี เช่น สีน้ำ สีน้ำมัน สีฝุ่น สีชอล์ค หรือสีอะคริลิค ซึ่งผลงานทางด้านจิตรกรรมภาพเขียนของสีแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน เช่น

1. การเขียนภาพสีน้ำ (Color Painting)

อุปกรณ์ที่ใช้

1) สีน้ำ 2) กระดาษ 3) พู่กัน 4) จานสี 5) ที่ใส่น้ำ 6) กระดาษรองวาด 7) สีไม้เพื่อเติมภาพให้ครบถ้วน 8) อุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้ทำเทคนิคต่างๆ เช่น ฟองน้ำ ทิชชู เทียนไข เป็นต้น



https://www.google.co.th/search?q=ตัวอย่างภาพวาดสีน้ำ

2. การเขียนภาพสีน้ำมัน (Oil Painting)

อุปกรณ์ที่ใช้

1) ผ้าใบสำเร็จรูปขนาดประมาณ 30×40 cm. ยี่ห้อ NS Frame เท่านั้น 2) สีน้ำมัน reeves เซท 12 สี หรือ 18 สี และสีน้ำมัน ยี่ห้อ winsor สีขาว titanium white 1หลอด (สีขาวใช้เยอะ จึงต้องซื้อสีขาวเพิ่ม) 3) แปรงแบนของ เรอนาซองส์ ขนาดหน้ากว้างประมาณ 1 นิ้วครึ่งถึง 2นิ้ว 4) พู่กันกลม ไทยแหลมทองหรือสง่ามยุระ เบอร์ 5,9,12

5) พู่กันแบน เรอนาซองส์ ด้ามน้ำตาล เบอร์ 12,18,24 6) พู่กันแบน ไทยแหลมทอง เบอร์ 12,18,24 7) เกรียงสำหรับใช้ผสมสี ส่วนหน้าเกรียงยาวประมาณ 2 นิ้ว 8) น้ำมันลินสีด ของ st หรือ winsor 9) ผ้าสำหรับเช็ดพู่กัน



2. ประติมากรรม

งานประติมากรรม เป็นผลงานด้านศิลปที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ ที่มีความลึก หรือนูนหนา และมีน้ำหนัก โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ สร้างสรรค์ผลงานเพื่อสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์

การสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ

1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่มีความเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัวกันได้ดี ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น

2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น



3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็งตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ได้แก่ โลหะ ปูน แก้ว ขี้ผึ้ง เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ

4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติโดยการนำวัสดุต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ มี 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว

ประเภทของงานประติมากรรม

1. ประติมากรรมแบบนูนต่ำ (Bas Relief) เป็นรูปปั้นที่นูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลังรองรับ มองเห็น ได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือ ด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูปจริง ได้แก่ รูปนูนบนเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือพระเครื่องบางองค์

https://www.google.co.th/search?q=รูปนูนต่ำ

2. ประติมากรรมแบบนูนสูง (High Relief) เป็นรูปปั้นแบบต่างๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับแบบนูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึงหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน เหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำ แต่ใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ

3. ประติมากรรมแบบลอยตัว (Round Relief ) เป็นรูปปั้นแบบต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้าน หรือตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ พระพุทธรูป รูปปั้นต่างๆ เช่น

https://www.google.co.th/

รูปปั้นเดวิด

งานศิลป์ชิ้นนี้คาดกันว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยฟื้นฟูวิทยาการช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1501-1504 งานปั้นชิ้นนี้เป็นประติมากรรมหินอ่อนสีขาวมากจากเมืองคาร์รารา (Carrara) แกะสลักรูป พระเจ้าเดวิด (King David) แห่งประเทศอิสราเอล ตามตำนานในคำภีร์ไบเบิ้ล ลักษณะเป็นงานปั้นรูปูชายหนุ่ม่ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ยืนเปลือยกายอยู่ ขนาดคร่าวสูง 5.17 เมตร หรือ 17.0 ฟุต แสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงและความงดงามของร่างกายมนุษย์ งานชิ้นนี้สร้างขึ้นจากศิลปินชาวอิตาเลียน นามว่า มิเคลันเจโล ปัจจุบันรูปปั้นเดวิด ได้ถูกจัดแสดงอยู่ที่ Accademid Galley ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ประติมากรรมเดวิดเป็นรูปปั้นนับเป็นผลงานชิ้นเอกที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทางศิลปะในยุค "ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ” (Renaissance) รูปปั้นเดวิดของมิเคลันเจโล ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ Accademia Gallery ในกรุงฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี

สัญลักษณ์ของความงาม

สิ่งที่ทำให้รูปปั้นชิ้นนี้ได้ความนิยมและเป็นหนึ่งในตัวแทนงานปูนปั้นนั่นคือ ความสวยงามของ การรังสรรค์งานชิ้นนี้ออกมาที่จะทำให้เราได้เห็นถึงความละเอียดในการปั้นกล้ามเนื้อที่สวยงามของเพศชาย ตั้งแต่หัวจรดเท้าทั้งดวงหน้า แขน ขา และส่วนอื่นช่างสมบูรณ์ไปหมด เรียกได้ว่ารูปปั้นชิ้นนี้คือตัวแทนความงามของเพศชายในยุคนั้นมาจนถึงยุคนี้

เรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับ รูปปั้นเดวิด

รูปปั้นเดวิดนี้ เป็นรูปปั้นที่มีอายุมาอย่างยาวนาน ซึ่งทำให้รูปปั้นรูปนี้มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเยอะมาก อย่างแรกเลยรูปปั้นเดวิดนี้เคยมีคนปาเก้าอี้ใส่ด้วยเมื่อปี ค.ศ. 1526 นั่นทำให้รูปปั้นเดวิดมีร่องรอยความเสียหายด้วย 4 แห่งเลยทีเดียว สองเป็นเรื่องของความเชื่อที่ว่ากันว่า ผู้ชายอย่างเดวิด ในสมัยนั้นที่มีมือเท้าใหญ่ แข็งแรง นั่นคือ เป็นผู้ชายที่แข็งแรง แข็งแกร่งกว่าคนอื่น สามเดวิด เป็นคนถนัด มือซ้าย เอาล่ะคราวนี้เราก็เล่ามาพอสังเขปแล้วเชื่อว่าครั้งต่อไปที่เราเห็นรูปปั้นเดวิด เราคงรู้จักและเข้าใจเค้าได้มากขึ้น

รูปปั้นนักคิด (The Thinker) นักประติมากรรมที่ปั้นรูปนี้ คือ โอกุสต์ รอแด็ง เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1840 เป็นนักประติมากร และจิตรกร เป็นคนฝรั่งเศส เป็นนักประติมากรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยนั้นเขาได้ศึกษางานประประติกรรมที่กรุงปารีส เริ่มแรกเขาได้สร้างชื่อในผลงานชิ้นเล็กๆ อยู่หลายชิ้น งานส่วนที่ใหญ่ที่เขาทำได้รับ แรงบันดาลใจมาจากนักกวีชื่อดังเต ผลงานของที่สร้างชื่อของเขาก็คือ รูปปั้นนักคิด ( the thinker ) เป็นรูปปั้นของ ดังแตในตอนครุ่นคิด

3. สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง การออกแบบผลงานทางทัศนศิลป์ ที่เป็นการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ที่คนทั่วไปอยู่อาศัยได้และอยู่อาศัยไม่ได้ เช่น สถูป เจดีย์ อนุสาวรีย์ บ้านเรือนต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึง การกำหนดผังบริเวณต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงามและเป็นประโยชน์แก่การใช้สอย

งานของสถาปัตยกรรม มี 3 แขนง ดังนี้

1. สถาปัตยกรรมออกแบบก่อสร้าง เช่น การออกแบบสร้างตึกอาคาร บ้านเรือน เป็นต้น

ttps://pixabay.com/th/เบอร์ลิน-สถาปัตยกรรมสมัยใหม่-อาคาร-3466928/

2. ภูมิสถาปัตย์ เช่น การออกแบบวางผัง จัดบริเวณ วางผังปลูกต้นไม้ จัดสวน เป็นต้น

3. สถาปัตยกรรมผังเมือง ได้แก่ การออกแบบบริเวณเมืองให้มีระเบียบ มีความสะอาด และถูกหลักสุขาภิบาล

องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม

บทความ De Architectura ของวิทรูเวียส ซึ่งเป็นบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุด กล่าวไว้ว่า สถาปัตยกรรมต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสามส่วนหลักๆ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวและสมดุล ได้แก่ ความงาม (Venustas) ความมั่นคงแข็งแรง (Firmitas) และประโยชน์ใช้สอย (Utilitas)

4. ภาพพิมพ์

ศิลปะภาพพิมพ์ ( Printmaking)

ภาพพิมพ์ หมายถึง รูปภาพที่สร้างขึ้นมาโดยวิธีการพิมพ์ เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ศิลปิน มีทั้งเจตนาและความเชี่ยวชาญในการใช้คุณลักษณะพิเศษเฉพาะของเทคนิควิธีการทางภาพพิมพ์แต่ละชนิดมาใช้ในการถ่ายทอดจินตนาการ ความคิด และอารมณ์ ความรู้สึกออกมาในผลงานได้โดยตรง

รูปแบบของศิลปะภาพพิมพ์ในด้านเทคนิค

1 . กรรมวิธีการพิมพ์ผิวนูน (Relief Process)

2. กรรมวิธีการพิมพ์ร่องลึก (Intaglio Process )

3. กรรมวิธีการพิมพ์พื้นราบ (Planography Process

4. กรรมวิธีการพิมพ์ผ่านช่องฉลุ (Serigraphy)

5. กรรมวิธีการพิมพ์เทคนิคผสม (Mixed Tecniques

6. การพิมพ์วิธีพื้นฐาน (Basic Printing

รูปแบบของศิลปะภาพพิมพ์ในทางทฤษฎีสุนทรียศาสตร์

1. รูปแบบแสดงความเป็นจริง (Figuration Form)

2. รูปแบบผันแปรความเป็นจริง (Semi - Figuration Form)

3. รูปแบบสัญลักษณ์ (Symbolic Form)

4. รูปแบบที่ปราศจากเนื้อหา (Non - Figuration Form)