ของดี กศน.ตำบลศรีสุทโธ


ต้นกก

ชื่อทางการค้า : กกราชินี, กกรังกา, กกลังกา

ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyperus involucratus Roxb.

ชื่อพ้อง Cyperus alternifolius L.

ชื่อวงศ์: CYPERACEAE

ชื่อสามัญ: Umbrella Plant

ชื่อท้องถิ่น: กกรังกา, หญ้ากก, กกกลม,

ถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะพืช: ไม้ล้มลุก

ลักษณะทั่วไป: เป็นวัชพืชน้ำที่เจริญได้ดีในช่วงฤดูฝนมีลักษณะแตกกอ ลำต้นเหนียว

เมื่อออกดอกปลายฤดูฝน เมล็ดก็จะร่วงลงดิน และจะเจริญในฤดูฝนปีต่อมา

การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด แยกกอ

ประโยชน์ของต้นกก

1. ทำเป็นเสื่อสำหรับนอน สำหรับปูพื้นในห้องรับแขกแทนพรม และปูลาดตามพื้นโบส์ถวิหาร

เพื่อความสวยงาม

2. ทำเป็นกระเป๋า แทนกระเป๋าหนัง ทำเป็นรูปต่าง ๆ ได้หลายแบบ แล้วแต่ผู้ประดิษฐ์คิดค้นแบบ

ต่าง ๆ กัน ทำเป็นกระเป๋าสตางค์ ทำเป็นกระเป๋าหิ้วสตรี กระเป๋าใส่เอกสาร แต่ปัจจุบันมีผู้ทำกันน้อย

เพราะกระเป๋าหนัง กระเป๋าพลาสติก ราคาถูกลงมากการทำไม่ค่อยคุ้มค่าแรงงาน

3. ทำเป็นหมอน เช่น หมอนรองที่นั่ง หมอนพิงพนักเก้าอี้ เรียกว่า หมอนเสื่อ

4. ทำเป็นกระสอบ เรียกว่ากระสอบกก

5. ทำเป็นเชือกสำหรับมัดของที่ห่อแล้ว ตามร้านค้าทั่วไปนิยมใช้เชือกกก เพราะราคาถูกมาก

6. ทำเป็นหมวก ใช้กันแดด กันความร้อนจากแสงแดด กันฝน หรือเพื่อความสวยงาม

7. ทำเป็นกระจาดใส่ผลไม้ หรืออาหารแห้ง

8. การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับริมสระน้ำ ในสวน หรือปลูกในภาชนะร่วมกับ

ไม้น้ำอื่น ๆ

9. เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน และต้นกกมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย ปรับสมดุล

นิเวศน์วิทยา

10. ใช้เป็นยารักษาโรค เช่น

- ใบ ตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผล

- ต้น รสเย็นจืด ต้มเอาน้ำดื่ม รักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบ ขับน้ำดี

- ดอก รสฝาดเย็น ต้มเอาน้ำอม แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก

- เหง้า รสขม ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ละลายน้ำร้อนดื่ม บำรุงธาตุ

เจริญอาหาร แก้เสมหะ ขับน้ำลาย

- ราก รสขมเอียน ต้มเอาน้ำดื่ม หรือตำกับเหล้า คั้นเอาน้ำดื่ม แก้ช้ำใน ขับโลหิตเน่าเสีย