ประวัติสำนักงาน

ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

ประวัติสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีเมืองใหม่ เดิมเป็นศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอศรีเมืองใหม่ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่วัน ที่ 20 มกราคม พ.ศ.2537 เป็นต้นมา เริ่มต้นได้ใช้อาคารห้องสมุดอำเภอศรีเมืองใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ถนนช่อชงโค ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ เป็นสถานที่ทำงาน

ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ได้ย้ายไปใช้อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จนถึงปี พ.ศ.2547 ได้ย้ายมาใช้อาคารสำนักงานศึกษาธิการอำเภอศรีเมืองใหม่เป็นสำนักงานและใช้อาคารที่ว่าการอำเภอศรีเมืองใหม่(หลังเก่า)เป็นห้องสมุดประชาชนอำเภอจากนั้นปี พ.ศ.2551 ได้ย้ายมาใช้อาคารที่ว่าการอำเภอศรีเมืองใหม่(หลังเก่า)จากนั้นปี พ.ศ.2560 ทำพิธีเปิดอาคารห้องสมุดอำเภอศรีเมืองใหม่ วันที่19กรกฎาคม พ.ศ.2560 ซึ่งตั้งอยู่ถนนช่อชงโค ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่จนถึงปัจจุบันศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออื่นๆ ทั่วประเทศ จำนวน 789 แห่ง มีฐานะเป็น สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถานศึกษาและส่วนราชการระดับอำเภอปัจจุบันศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีเมืองใหม่มีผู้อำนวยการสถานศึกษาและบุคลากรรวม 25 คน (ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน ,ข้าราชการครู 1 คน ,พนักงานราชการ ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 1 คน ,ครู กศน.ตำบล 11คน ครูศูนย์การเรียนชุมชน 8 คน ,นักวิชาการศึกษา 1 คน และบรรณารักษ์ 1 คน,พนักงานบริการ 2 คน)


ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีเมืองใหม่ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา

ปรัชญา การศึกษาตลอดชีวิตน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วิสัยทัศน์ เป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในศตวรรษที่ ๒๑

พันธกิจของสถานศึกษา

1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพเพื่อยกระดับการศึกษาพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัยและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2.จัดและประสานภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมทั้งการดำเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนและแหล่งการเรียนรู้อื่นในรูปแบบต่างๆ

3. พัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

4. พัฒนาหลักสูตรรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สื่อและนวัตกรรมการวัดและประเมินผลในทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน

5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพเพื่อมุ่งจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

กลยุทธ์

กลยุทธ์ที่1จัดการเรียนรู้ตามพระบรมราโชบายด้านการจัดการศึกษาของรัชกาลที่๑๐และโครงการพระราชดำริของราชวงศ์

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนากำลังคนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ

กลยุทธ์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการ

กลยุทธ์ที่ 7 จัดการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาหลักสูตรสื่อรูปแบบและนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้การวัดและประเมินผลงานบริการทางวิชาการและการประกันคุณภาพการศึกษา