โดนัทจิ๋ว

ที่มาของขนมโดนัท

ประชากรวัยทำงานในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 15-59 ปี จัดเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ คือประมาณ 2 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด (ล้านคน) หรือประมาณ 43 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดทั่วประเทศ 64 ล้านคน ในช่วงอายุของวัยทำงานโรคมะเร็งที่พบ 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก ในบรรดาผู้ป่วยใหม่จํานวน 12.7 ล้านคนดัง นั้นหลักโภชนาการที่ถูกต้องก็เป็นอีกวิธีที่สามารถยับยั้งหรือป้องกันโรคได้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้าไปเสริมสร้างการรักษาโรคต่างๆได้ เช่น การทานเนื้อสัตว์ แต่ทั้งนี้ควรเลือกชนิดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย อาทิ สะโพกไก่ หมู หรือเนื้อปลา และผลไม้ที่สามารถรักษาโรคได้อีกด้วย

สตรอว์เบอร์รีเป็นสกุลไม้ดอกในวงค์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธ์สารอาหารของสตรอว์เบอร์รีเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อเพื่อให้หัวใจแข็งแรงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

ช็อกโกแลตเป็นอีกหนึ่งของหวานที่สาวๆหลายๆคนชื่นชอบแต่บางคนคิดว่าหวานๆแบบนี้ไม่ดีต่อสุขภาพแน่เลยแต่คุณอาจคิดผิดเพราะจริงๆแล้วช็อกโกแลตมีประโยชน์หลายด้านไม่ว่าจะเป็นการลดความอ่อนเยาว์ ช่วยลดความเครียด ช่วยผิวสวย และบรรเทาอาการไอได้อีกด้วย

ลูกเกด คือ องุ่นแห้ง ที่มีการผลิตในหลายพื้นที่ทั่วโลก และสามารถรับประทานเปล่าๆ หรือจะใช้ในการทำอาหาร การอบขนม และการหมักบ่มก็ได้ช่วยป้องกันฟันผุ เพราะน้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในลูกเกดไม่เหมือนกับน้ำตาลทรายทั่วไป ที่เมื่อรวมตัวกับแบคทีเรียในช่องปากจะทำให้เกิดกรดแลกติกที่ทำให้เกิดโรคฟันผุได้ มีธาตุเหล็กที่ช่วยรักษาโรคโลหิตจางมีธาตุเหล็กที่ช่วยรักษาโรคโลหิตจางมีไฟเบอร์ ที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย มีโบรอน ที่ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ ได้ดีขึ้นเส้นใย ช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายกรดทาร์ทาริก ช่วยในการย่อยอาหาร เบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงผิวพรรณและสายตา

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าในสังคมไทยนั้น ได้มีการนำเอาอาหาร ขนมของชาวตะวันตกเข้ามาในประเทศอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นขนม อาหารว่าง เช่น ขนมเค้ก วาฟเฟิล โดนัลจิ๋ว เป็นต้น ทำให้คนส่วนมากหันไปบริโภคอาหารและขนมของชาวต่างชาติกันมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารเช้า กลางวันหรืออาหารเย็น และเป็นที่นิยมและหาทานได้ง่ายโดยเฉพาะขนมโดนัทจิ๋ว

โดนัท (อังกฤษ: Doughnut, Donut) เป็นขนมแป้งทอดหรืออบ ที่มีเนื้อคล้ายกับขนมเค้ก มีลักษณะกลมมีรูตรงกลางคล้ายกับห่วงยาง มีหลายรสชาติ ถ้าเป็นของไทยจะมีน้ำตาลอยู่ที่ผิวของขนม โดนัทสามารถแบ่งออกตามกรรมวิธีการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ โดนัทยีสต์ และโดนัทเค้ก กระบวนการผลิตโดนัทยีสต์นั้น จะใช้ยีสต์เป็นส่วนประกอบในการหมักแป้งให้ขึ้นฟู ซึ่งแตกต่างจากโดนัทเค้ก จะใช้ผงฟูในการหมักแป้งให้ขึ้นฟู ดังนั้นรสชาติ และเนื้อสัมผัสจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากโดนัทเป็นเพียงแป้งทอดธรรมดา ไม่มีรสชาติ ผู้ผลิตจึงได้เพิ่มสิ่งต่างๆลงไป เพื่อให้โดนัทมีรสชาติที่ดีขึ้น อาทิ สอดไส้ คลุกน้ำ ตาล เคลือบหน้าโดนัทด้วยสีสันต่างๆ

2. ประโยชน์ของส่วนผสม

2.1 ประโยชน์ ของช็อกโกแลต

1. สารประกอบในช็อกโกแลต มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็ง และลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ เพราะมีสารที่ชื่อว่า ฟีโนลิค อยู่ในปริมาณสูง ซี่งเป็นสารซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และป้องการก่อตัวของไขมันในเส้นเลือด ที่สำคัญยังช่วยให้แก่ช้าได้อีกด้วย

2. ช่วยกระตุ้นอารมณ์รัก ช็อกโกแลตทำให้อยากมีเซ็กส์มากขึ้น เพราะในช็อกโกแลตมีสารกระตุ้น ที่มีผลต่อหัวใจ และระบบประสาทเมื่อรับประทานช็อกโกแลต หัวใจจะเต้นแรงขึ้น รู้สึกคึกคัก เล่ากันว่า นักรักชื่อกระฉ่อนโลกอย่างจิอาโคโม คาสซาโนวา (1725-1795) กินช็อกโกแลตก่อนขึ้นเตียงกับผู้หญิงที่หลงเสน่ห์ ด้วยช็อกโกแลตขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารกระตุ้นอารมณ์ใคร่ และผู้หญิงร้อยละ 50 สารภาพว่ากินช็อกโกแลตก่อนเมคเลิฟ

3. ช่วยแก้อาการเมาค้าง หรือ hangover ได้ด้วย

4. ช่วยปรับอารมณ์และจิตใจ ให้เข้าสู่สภาวะปกติ เหมาะมากสำหรับสาวๆ ที่เลือดจะไปลมจะมาทั้งหลาย ฉะนั้น ช็อกโกแลตจึงถือได้ว่า เป็นขนมหวานอันดับหนึ่งสำหรับผู้หญิง ช่วยลดอาการปวดท้อง หงุดหงิด หน้าบวม ตัวบวม ก่อนมีประจำเดือน ช็อกโกแลตมีสารทริพโทฟาน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนสำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมเซโรโทนิน สารสื่อประสาทที่ควบคุมอารมณ์ เมื่อร่างกายขับเซโรโทนินออกมาช่วยให้ผ่อนคลายความวิตกกังวลได้

5. ป้องกันการเกิดมะเร็ง เพราะพิสูจน์แล้วว่า สารที่พบในช็อกโกแลต เป็นสารชนิดเดียวกันกับ สารที่พบใน ผัก ผลไม้ และไวน์แดง

6. ช่วยลดอาการอักเสบ เวลาเจ็บป่วยต่างๆ มีผลต่อสมอง เพราะช่วยให้ตื่นตัว และยังช่วยให้ กระฉับกระเฉงอีกด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการศึกษา ในชายอายุระหว่าง 65-84 ปี จำนวนเกือบ 500 คนที่อาศัยในเมือง Zutphen ประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่า 1 ใน 3 ของคนกลุ่มนี้ไม่ได้รับประทานโกโก้ ขณะที่ค่าเฉลี่ยมัธยฐานของกลุ่มของการรับประทานโกโก้จะอยู่ที่ 4.2 กรัมต่อวัน ในจำนวนอาสาสมัครกลุ่มนี้พบว่า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2528-2543 มีอาสาสมัครเสียชีวิตลง 314 คน ซึ่งพบว่าคนที่รับประทานโกโก้มากที่สุด มีความเสี่ยงลดลงครึ่งหนึ่งของคนที่ไม่ได้รับประทาน

http://www.refresherthai.com/article/Benefits_of_Chocolates.php ที่มา