การศึกษาขั้นพื้นฐาน

โครงสร้าง

      เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายมีแนวปฏิบัติในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จึงได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 ดังนี้

ระดับการศึกษา  แบ่งออกเป็นออกเป็น 3 ระดับ คือ

      1. ระดับประถมศึกษา

      2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

      3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

สาระการเรียนรู้  สาระการเรียนรู้ประกอบด้วย  5 สาระ ดังนี้

      1. สาระทักษะการเรียนรู้  เป็นสาระเกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้แหล่งเรียนรู้ การจัดการความรู้ การคิดเป็นและการวิจัยอย่างง่าย

      2. สาระความรู้พื้นฐาน เป็นสาระเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

      3. สาระการประกอบอาชีพ เป็นสาระเกี่ยวกับการมองเห็นช่องทางและการตัดสินใจประกอบอาชีพ ทักษะในอาชีพ การจัดการอาชีพอย่างมีคุณธรรมและการพัฒนาอาชีพให้มั่นคง

      4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต เป็นสาระเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต  ศิลปะและสุนทรียภาพ

      5. สาระการพัฒนาสังคม เป็นสาระเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี หน้าที่พลเมือง และการพัฒนาตนเอง ครอบครัว  ชุมชน  สังคม

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต   กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม 

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  ประกอบด้วย 

     1. วิชาบังคับ  มีสาระการเรียนรู้ 5 สาระ ทักษะการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน การประกอบอาชีพ ทักษะการดำเนินชีวิต การพัฒนาสังคม 

     2. วิชาเลือก เป็นวิชาที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นเองโดยให้ยึดหลักการในการพัฒนา คือ พัฒนาโปรแกรมการเรียน เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางและเป้าหมายการเรียนของผู้เรียน สถานศึกษาจึงต้องวิเคราะห์ความต้องการความจำเป็นและความสนใจของผู้เรียน เพื่อออกแบบโปแกรมการเรียน ภายในโปรแกรมการเรียนจะประกอบไปด้วยรายวิชาต่างๆที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้

                   ทั้งนี้ วิชาเลือกในแต่ละระดับ สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย  3 หน่วยกิต 

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 

โครงสร้างหลักสูตร กศน.2551

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

การวัดผลและประเมินผล

เกณฑ์การจบหลักสูตร