1.งานถักจากไหมพรม

2.การทำพรมเช็ดเท้า

3.

อาชีพ

ตำบลสามัคคี อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี


หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันรัฐบาลไทยมีนโยบายมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายขาดเงินออมมีหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบมากทางกศน.ตำบลสามัคคีได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีอาชีพเสริมหลังจากการทำการเกษตรจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและนักศึกษาตำบลสามัคคีและตำบลหนองแวงฝึกทักษะการทำอาชีพเสริมคืองานถักจากไหมพรมเพื่อใช้สอยจำหน่ายและใช้สอยในชีวิตประจำวันรวมทั้งเป็นการนำวัสดุที่หาง่ายนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการผลิตจากการถักไหมพรม

เพื่อสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เน้นการจัดการศึกษาเพื่อการมีอาชีพมีรายได้และมีงานทำโดยมีเป้าหมายในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในทุกๆด้านในระยะเวลา ๑ ปี เพื่อให้สามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้หน่วยงานจัดทำโครงการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นการอบรมงานถักจากไหมพรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้นักศึกษา กศน. และประชาชนตำบลสามัคคีให้มีรายได้เสริม พึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้แสดงออกถึงความคิด ความสามารถในด้านศิลปะ งานเย็บปักถักร้อย และพัฒนางานฝีมือสามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เสริมได้


โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (การทำพานบายศรี)

ระหว่างวันที่ 26 เดือน มิถุนายน ถึง 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

ณ บ้านสามัคคี ตำบลสามัคคี อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี

๓. หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงาน กศน.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศด้านความมั่นคง คือ พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อยกระดับและการพัฒนาศักยภาพ สร้างงานและพัฒนาอาชีพตามความต้องการของประชาชน จึงได้มอบหมายภารกิจให้สถานศึกษาในสังกัด ดำเนินการจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างสอดคล้องกับนโยบายอย่างมีคุณภาพ เท่าเทียมและทั่วถึง

กศน.ตำบลสามัคคี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำโสมเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงมอบหมายให้ กศน. ตำบลสามัคคี ดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ลักสูตรการทำพานบายศรี สอดคล้องตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและศักยภาพของพื้นที่ การทำพานเป็นอาชีบายศรีเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประกอบอาชีพของผู้ที่ยังไม่มีงานทำหรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ เป็นอาชีพอิสระที่ผู้เรียนสามารถนำมาเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้ เนื่องจากเป็นอาชีพที่ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่มีต้นทุนในการประกอบอาชีพ

วัตถุประสงค์

๑.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเกิดทักษะในการทำพานบายศรี

๒.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเกิดทักษะเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชกกลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ

ประชาชน ตำบลสามัคคี จำนวน 15 คน

เชิงคุณภาพ

ร้อยละ 80 ของประชาชนตำบลสามัคคีมีทักษะในการทำพานบายศรีและนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้กับตนเอง

โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (การทำข้าวแต๋น)

ระหว่างวันที่ 25-30 เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑

ณ บ้านโชคชัย หมู่ที่ 2 ตำบลสามัคคี อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี


หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันรัฐบาลไทยมีนโยบายมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ขาดเงินออม มีหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบมากทางกศน.ตำบลสามัคคีได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีอาชีพเสริมหลังจากการทำการเกษตรจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนตำบลสามัคคีฝึกทักษะการทำอาชีพเสริมคือการทำขนมข้าวแต๋นเพื่อสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เน้นการจัดการศึกษาเพื่อการมีอาชีพมีรายได้และมีงานทำโดยมีเป้าหมายในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในทุกๆด้านเพื่อให้สามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงกำหนดให้หน่วยงานจัดทำโครงการฝึกอบรหลักสูตรระยะสั้นการอบรมการทำขนมข้าวแต๋น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ประชาชนตำบลสามัคคีให้มีรายได้เสริมพึ่งพาตนเองได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้แสดงออกถึงความคิดความสามารถในการแปรรูปและพัฒนางานฝีมือสามารถนำไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เสริมได้

กศน.ตำบลสามัคคีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอน้ำโสมเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงมอบหมายให้ กศน. ตำบลสามัคคี ดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพลักสูตรการทำขนมข้าวแต๋นสอดคล้องตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและศักยภาพของพื้นที่ การทำขนมข้าวแต๋นเป็นอาชีพหนึ่งที่เป็นช่องทางในการประกอบอาชีพของผู้ที่ยังไม่มีงานทำหรือผู้ที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ เป็นอาชีพอิสระที่ผู้เรียนสามารถนำมาเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองได้ เนื่องจากเป็นอาชีพที่ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่มีต้นทุนในการประกอบอาชีพ

วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมการมีงานทำ สร้างอาชีพ และเป็นการส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้

2.เพื่อฝึกทักษะการการทำขนมข้าวแต๋นรสชาติต่างๆ

3. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการฝึกพัฒนาการบริหารจัดการการทำขนมและสร้างอาชีพของผู้เรียน

กลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ

ประชาชน ตำบลสามัคคี จำนวน 15 คน

เชิงคุณภาพ

ประชาชนตำบลสามัคคีมีทักษะในการทำขนมข้าวแต๋นและนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้กับตนเอง

“ขนมข้าวแตน” ประวัติความเป็นมาบทนำ เมื่อเอ่ยถึงขนมไทยในสมัยก่อน น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักขนมข้าวแตนหรือเรียกกันติดปากว่า”ขนมนางเล็ด” เป็นขนมที่ทำมาจากข้าวเหนียวราดด้วยน้ำตาลคนไทยในอดีตจะทำขนมในเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ เช่น ขนมห่อ จะทำในวันสาทหรือวันสงกานต์ วันออกพรรษาจะทำกระยาสาท หรือทำขนมนางเล็ด ขนมหูช้าง เพื่อใช้ในการประกอบประเพณีเทศมหาชาติ จึงนับได้ว่าขนมไทยมีความสำคัญ ต่อประเพณี หรือเทศกาลต่างๆของคนไทยมาก ขนมไทยในอดีตเหล่านี้ยังอยู่คู่กับคนไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้ขนมไทยจะทำตลอดทั้งปี โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงประเพณีหรือเทศกาลต่างๆ จึงนับได้ว่าขนมไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของชุมชนมาก เพราะสามารถผลิตขายได้ตลอดทั้งปี ทำให้มีรายได้เพิ่มให้กับครอบครัวอีกทาง ภูมิปัญญาชาวบ้านที่จะนำเสนอการทำขนมไทย ที่กล่าวในครั้งนี้คือ ภูมิปัญญาการทำ“ขนมข้าวแตน” ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ความเป็นมาของขนมข้าวแตน ในอดีตยายเกตุมีอาชีพทำนา เมื่อเวลาว่างจากการทำนายายจะอยู่บ้านไม่ได้ทำอะไร จนเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ยายจึงคิดหารายได้พิเศษนอกเหนือจาการทำนา โดยการทำขนมนางเล็ด โดยการทำขนมนางเล็ดแล้วหาบขายตามโรงเรียน ตามหมู่บ้านและในตลาดและยังรับทำขนมในยามเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ อีกด้วยเมื่อขนมนางเล็ดขายดีขึ้น จึงเลิกอาชีพทำนา แล้วหันมาทำขนมขายอย่างเดียวทำอยู่มาไม่นานก็เริ่มมีคู่แข่ง ทำให้ขนมนางเล็ดยอดการขายตกต่ำลง ยายเกตุจึงคิดหาวิธีที่จะทำขนมออกมาในรูปแบบใหม่ๆที่ไม่ซ้ำกับใคร จากนางเล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่มีสีขาวธรรมดา ก็ทดลองหาส่วนประกอบที่จะมาผสม เพื่อให้มีรสชาติ มีสีสัน มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน โดยการลองผิดลองถูก อยู่หลายครั้ง เริ่มแรกใช้น้ำส้มจากส้มเขียวหวานมาผสมกับข้าวเหนียว ผลที่ออกมาก็ได้ตามที่ต้องการ แต่ส้มในสมัยนั้นราคาแพงมาก จึงสู้ราคาไม่ไหวและต้องเลิกทำสูตรนี้ไป ต่อมายายเกตุจึงหันมาทดลองใช้แตงโมซึ่งมีราคาถูกกว่าส้มและหาได้ง่าย ประกอบกับสีของแตงโมก็น่ารับประทานยายเกตุจึงใช้นำแตงโมผสมกับข้าวเหนียว และใช้เป็นสูตรในการทำขายมาจนปัจจุบันนี้ และได้ตั้งชื่อให้ใหม่เพราะรูปร่าง กลิ่น สี รสชาติ เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด โดยทำให้แผ่นเล็กลง ไม่มีขอบ เป็นแผ่นแบนๆ และตั้งชื่อให้ใหม่ ชื่อ “ขนมข้าวแตน