งานช่างหลวง

งานช่างหรือศิลปกรรม เป็นสุนทรียสมบัติ คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน เกิดจากการสร้างสรรค์ของ "ช่าง" หรือ "ศิลปิน" ที่ประสานความคิด ฝีมือ ทัศนะทางความงาม เข้ากับคตินิยมและควมเชื่อในสังคม วัฒนธรรมที่ช่างดำรงชีวิตอยู่. จนกระทั้งเกิดเป็นแบบแผนเฉพาะของกลุ่มสกุลช่างในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาค มีวิวัฒนาการานช่างสืบทอดกันมาเป็นลำดับกาล

พระมหากษัตริย์หรือองค์พระประมุขทุกยุคสมัยทรงอุปถัมภ์บำรุงช่างและงานของช่างให้รุ่งเรืองวัฒนาจนเกิดเป็นงานของช่างอย่างยอดเยี่ยม และเพื่อสนองงาน ทั้งที่เป็นราชกิจของพระเจ้าแผ่นดิน และราชการบ้านเมืองของหลวง สร้างสรรค์งานตามกรอบประเพณีและระเบียบแบบแผนอย่างของหลวง จึงเรียกว่า "งานช่างหลวง"

ผลงานของช่างหลวงปรากฏเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติในหลากหลายประเภท ตั้งแต่โบราณสถาน ทั้งส่วนสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และส่วนประดับตบแต่ง เช่น พระมหาปราสาทราชมณเฑียร วัดวาอาราม ป้อม ค่าย กำแพง สะพาน สถานที่ราชการ จนถึงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เช่น เครื่องราชูปโภค เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศแลพระยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระพุทธรูป ศาสนวัตถุ เครื่องใช้สำหรับพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ และสิ่งที่สร้างถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา ผลงานเหล่านี้ มีทั้งที่ทราบและไม่ทราบนามของช่างผู้สร้างสรรค์ แต่เป็นต้นแบบและแบบอย่างของงานช่างและศิลปกรรมไทย

การจัดหมวดหมู่ของช่างหลวงแต่ละประเภทของราชสำนัก แตกต่างกันไปตามยุคสมัย หลายหมวดหมู่ เรียกว่า "กรมช่างสิบหมู่" ซึ่งมาจากคำว่า กรมช่างสิปปหมู่ แปลว่า กรมของหมู่ช่างศิลป์ ปัจจุบันกรมศิลปากร มีงานช่างและศิลปินที่อนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์งานช่างหลวงบางประเภท

Artworks of Royal Artisans

Thai artworks are respectable as valuable heritage of the country. They were created by 'Chang' (artisan) or 'Silapin" (artist). Artisans harmonized their ideas, skills and esthetics of beauty with their social ideology and beliefs. Consequently, unique patterns created by various artisan clans occured. Although they lived in different regions, each artisan clan had developed their artworks, and passed on their knowledge to their descendants.

The Kings of Thailand have been kindly patronizing and supporting both artworks and artisans. The artisans created marvelous workpieces to serve the royal commands of various occasions. The workpieces were finely made under the conventional practices and royal customs, so the were called 'Ngan Chang Luang' (artworks of royal artisans).

Artworks of royal artisans are the important heritage of the country. There can be divided into two main types. They are ancient monuments and artifacts. Ancient monument that display the skills of the royal artisans include engineering and arthitectural decorations. Some examples are the Grand Palaces, temples, fortresses, military camps, walls, bridges and governmental buildings.

The ancient artifacts, for examples, are the royal regalia, royal articiles of use, royal decorations, Buddha images, religious objects, utensils of high-ranked monks and religious offerings. Some of them were made by unknown artisans, but they all became original models of Thai craftworks and artworks.

The Royal Court of each period ahs diffenent way of categrizing their royal artisans Nowadays, this department is officially call 'Samnak Chang Sip Mu" (The office of Traditional Arts). Samnak Chang Sip Mu literally means the office of group of artisans. The Office of Traditional Arts is under the Thai Fine Arts Department. It employs numerous skillfull artisans and artists. Their main task are to conserve, to carry on and to create some type of royal artworks.

Source :