หมู่ช่างปั้น

ช่างปั้น คือ บุคคลประเภทหนึ่ง ที่มีทั้งฝีมือ และ ความสามารถเป็นช่าง อาจกระทำการประมวลวัสดุต่างๆ อาทิ ดิน ปูน ขี้ผึ้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง มาประกอบเข้าด้วยกัน สร้างเป็นรูปทรงที่มีศิลปะลักษณะ พร้อมอยู่ในรูปวัตถุที่ได้สร้าง ขึ้นนั้นได้เป็นอย่างดี และ มีคุณค่าในทางศิลปกรรม

งานปั้น และ ช่างผู้ทำงานปั้นนี้ เมื่อสมัยโบราณที่ล่วงๆ ไปนั้นเรียกว่า “งานปั้น” และ “ช่างปั้น” แต่ในปัจจุบัน “งานปั้น” เปลี่ยนไปเป็น “ประติมากรรม” ซึ่งมีนัยว่า มาแต่คำภาษาบาลีว่า ปฏิมากมฺม หรือในภาษาสันสกฤตว่า ปรฺติมากรฺม ส่วนคำว่า “ช่างปั้น” ก็ได้รับความนิยม เรียกว่า “ประติมากร”

ช่างปั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นช่างที่มีความสำคัญ จัดอยู่ในลำดับรองถัดลงมาแต่ช่างเขียน ความสำคัญของงานปั้น และ ช่างปั้น จึงเป็นรองงานเขียน และ ช่างเขียน กระนั้นก็ดี ช่างปั้น และ งานปั้นก็ยังมีความสำคัญ หรือ มีอิทธิพล เหนืองานช่างประเภทอื่นอยู่หลายประเภทด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องด้วยงานช่างบางประเภท ต้องอาศัยวิธีการบางอย่าง ของช่างปั้นนำไปเป็นแบบ ดำเนินการทำงานช่างประเภทนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้

งานปั้นอย่างไทย หรือ งานปั้นแบบไทยประเพณี มักเป็นงานปั้นที่มีรูปลักษณ์ โน้มไปในรูปแบบที่เป็นลักษณะ รูปประดิษฐ์ หรือ ที่เรียกว่า ”อดุมคตินิยม“ ตามคติความเชื่อในหมู่คนส่วนมากแต่อดีต เนื่องด้วยเป็นงานศิลปกรรม ที่ได้รับการจัดให้มีขึ้น สำหรับหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย และ สร้างเสริมความสำคัญแก่ถาวรวัตถุ และถาวรสถานทั้งใน ฝ่ายศาสนจักร และ ฝ่ายอาณาจักรซึ่งมีคตินิยมรูปแบบที่เป็นลักษณะ “บุคลาธิษฐาน” เป็นสำคัญ

งานปั้นแบบไทยประเพณี ที่บรรดาช่างปั้นแต่อดีต ได้สร้างสรรค์ขึ้นไว้นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท งานปั้น แต่ละประเภทยังประกอบการขึ้นเป็นงานปั้น ด้วยวิธีการ และ กระบวนการต่างๆ กัน

Sculpting & Stucco Works

In Thailand, plastering dn stucco works were dated not later than the 4th Century as there was a fragment of a stucco Buddha from the same period found in Suphan Buri Province. In Dvaravati Culture (7th - 11th Century), there were numerous bas-relief and high-relief sculptures, including human and animal figures, and decorative stuccos found at Buddhist monuments. Those figures were the Lord Buddha, Bodhisattva, scenes from Jakaka (Tales of the Lord Buddha's former births), and life-scenes of people.

The art of plastering and stucco was passed on to Sukhothai and Lanna Periods. Some Distinguished stucco works dated between the 14th - 16th Century were the walking Buddha image at Wat Phra Sri Rattana Mahathat, the decorative stuccos on the arch pediment and the Chedi at Wat Phra Pai Luang in Sukhothai Province, and the stucco angles on the wall of Jet Yot Vihara at Wat Photharam Mana Vihara, Chiang Mai Province.

In early Ayutthaya Period, the use of decorative stucco with Prang, Chedi, Ubosot and Vihara appeared in various styles. They became the archetype of Lai Thai (Thai Pattern) in the present day. In the late 16th - 17th Century, some stuccos presented well-composed design and virtual moment, e.g. the decorative stucco at Wat Khao Bandi It in Petchaburi Province, and the stucco Buddha on the wall of Vihara at Wat Lai in Lop Buri Province.

In Rattanakosin Period, the new decorative style of stucco occurred. The pediments of Ubosot and Virara were decorated with auspicious paintings and glazed tiles. It reflected influence of Chinese art, which as the favorite art style of King Nagklao (1824 - 1851). Thai stucco work changed again during the regn of Kin Mongkut (1868 - 1910). The new design called 'Lai Thet' was created. It was the combination of Thai, Chinese and Western Art. In the later period, the Western technique to produce molds from casted cement was initiated. The patterns and round relief sculptures were designed after the cement molds were finished. The sculptures and the well-designed patterns were used for decorating temples, govermental buildings and bridges.

Nowadays, ancient stucco work has been revitalized by the royal remarks of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn. The Office of Traditional Arts (Chang Sip Mu), Thai Fine Arts Department, took significant roles in conserving plastering and stucco work at many importnat temples, such as Wat Phra Sri Rattana Satsadaram (Emerald Buddha Temple) in Bangkok, and Wat Mahathat in Nakhon Sri Thammarat Province.