การเลี้ยงกบนา

ลักษณะทั่วไปของ กบนา

กบนา หรือ กบพื้นเมือง เป็นกบขนาดกลาง ที่พบอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 200 – 400 กรัม ด้านหลังมีสีน้ำตาลและมีจุดดำ

ด้านท้องสีขาว ที่ริมฝีปากมีแถบสีดำ ใต้คางอาจมีจุดดำหรือลายสีดำ ขาหน้าและขาหลังมี ความยาว ปานกลาง

เท้าหน้ามี 4 นิ้ว ไม่มีแผ่นหนังยึดติด ส่วนเท้าหลังมี 5 นิ้ว

รูปแบบบ่อเลี้ยงกบ บ่อเลี้ยงกบในปัจจุบันทำได้หลายแบบ ได้แก่

1) บ่อซีเมนต์ และถังซีเมนต์ชนิดกลม ควรเป็นบ่อที่กักเก็บน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร บ่อแบบนี้สามารถดัดแปลงนำไปใช้ในการเลี้ยงแบบต่างๆ เช่น การขยายพันธุ์ เลี้ยงกบเนื้อและพ่อแม่พันธุ์

การอนุบาลลูกอ๊อดและลูกกบเล็ก

2) บ่อดิน ข้อดี คือการลงทุนต่ำบริเวณพื้นที่ที่มีอากาศหนาวสามารถใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กบนาข้ามฤดูกาล

ได้ดีสามารถทำเป็นบ่อพักกบนาชั่วคราวในกรณีที่ต้องการลดอาหารเพื่อให้กบพักตัวในช่วงฤดูหนาว

ก่อนนำไปขาย

3) การเลี้ยงในกระชัง บริเวณพื้นที่ๆมีบ่อน้ำ หรือมีสระน้ำขนาดใหญ่ หรือมีร่องน้ำไหลผ่าน สามารถทำกระชังเลี้ยงกบได้

ลักษณะข้อดี ข้อเสีย ของกบนา

ข้อดี

1. ไข่กบนาสามารถฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 1-2 วัน

2. ลูกอ๊อดกบนาใช้ระยะในการเจริญเติบโตเป็นลูกกบ เพียง 30-45 วัน

3. รวมระยะเวลาการเลี้ยงจนกระทั่งสามารถจับขายได้ เพียง 3-4 เดือน

ข้อเสีย

1. เมื่อถึงฤดูหนาว กบนาจะจำศีล คือจะไม่กินอาหาร

2. กบนามีนิสัยดุร้าย กัดกินกันเองได้ ตั้งแต่ระยะลูกอ๊อด

3. กบนาตื่นตกใจได้ง่าย ดังนั้นอาจจะเกิดบาดแผลได้ง่าย