แหล่งเรียนรู้บ้านม้าไทย


  แหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งวิชาการ/สถานที่  บ้านม้าไทย บ้านผาสามยอด

 ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

      เดิมที นายเกษม  สมชาย  ฉายา (บุรุษเชื้อชาติอาชาไนยผู้มากับมีดอีโต้ด้ามเดียว) นายเกษม   สมชาย เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ มีพ่อเป็นทหารย้ายไปเรื่อยๆและเป็นผู้ใหญ่บ้าน  เคยเลี้ยงม้าที่จังหวัดลำปาง และขายม้าจนหมด เมื่อพ่อ แม่เสียชีวิต หลังจากนั้นก็เดินทางเขาสู่กรุงเทพฯเรียนจบปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร หลังจากนั้นก็เข้าเป็นอาจารย์สอนพละที่มหาวิทยาลัยเซาท์อีสเอเชีย พร้อมเป็นผู้ฝึกสอนเทนนิส  หลังจากนั้นได้ลาออกมาเป็นผู้จัดการฝ่ายเทคนิคของบริษัทเอกชนด้านการเกษตร สะสมเก็บข้อมูลและความรู้ด้านการเกษตรเรื่อยมา  ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านผาสามยอดตำบลผานกเค้าเมื่อ ปี พ.ศ.2544        

  ปัจจุบัน นายเกษม  สมชาย  มีครอบครัวและเป็นเจ้าของไร่นาสวนผสมที่บ้านผาสามยอด หมู่ 4 ตำบลผานกเค้า อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย โดยภายในพื้นที่ 28 ไร่ ได้ปลูกพุทรา ข้าวไร่ ลำไย และพืชผักต่างๆจุดเด่นของไร่ อ.เกษม คือการเลี้ยงม้าพันธ์ไทยกว่า30ตัว โดยการทำเกษตรแบบอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ พึ่งพาตนเอง ไม่มีเครื่องสูบน้ำ  ใช้ระบบตะบันน้ำแทน และไม่มีรถตัดหญ้า ใช้ม้ากินหญ้าแทน ปัจจุบันสวนเกษตร อ.เกษม เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์แก่เกษตรผู้สนใจด้วย และจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ในตำบลที่สำคัญอย่างมาก มีหน่วยงานต่างๆให้ความสนใจเข้าไปศึกษาเรียนรู้ โดยนายเกษมเป็นวิทยากรให้ความรู้อีกด้วย และนายเกษมยังได้ไปบรรยายเรื่องเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียนต่างๆ และสปป.ลาว เป็นต้น ปัจจุบันนายเกษม  สมชาย มีรายได้จากการทำเกษตรผสมผสานเฉลี่ยเดือนละ 25,000-30,000 บาท โดยที่ไม่มีหนี้สินแต่อย่างใด ซึ่งนายเกษม สมชาย ได้มีความภาคภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างมาก และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน หลายๆคนประเภทกลุ่มข้อมูล  (แหล่งเรียนรู้ชุมชน)

               การทำการเกษตรด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ โดยที่พื้นที่ที่ทำเกษตรนั้น ต้องไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม และมุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ ให้ได้ผลผลิตสูง อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต และสามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติเพื่อคุณภาพชีวิต และสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

    เกษตรกรและการเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างช้านานจนกลายเป็นรากฐานของสังคมไทย การปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เป็นการผลิตของคนส่วนใหญ่ วิถีชีวิตของคนเพาะปลูกและทำอาชีพเกษตรกรจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างสังคม วัฒนธรรม การปกครอง การกินอยู่ ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนการแสดงออกต่าง ๆ ของคนในประเทศและรวมไปถึงเรื่องของการค้า เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องดูแลให้อาชีพเกษตรกรอยู่ได้อย่าง        มีความสุขและมั่นคงในอาชีพของเขา

    ในยุคสมัยที่เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งต่าง ๆ เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทในการทำอาชีพ ของเกษตรกร ไปจนถึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการทำงานไป เช่น จากการใช้ควายไถนา เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักร, การใช้ปุ๋ยและสารเคมี, การใช้เทคโนโลยีควบคุมการปล่อยน้ำและอื่น ๆ อีกมาก ก็ยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้าง พัฒนาและเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นให้วงการเกษตรก้าวไกลให้ทันโลกและนำมาประยุกต์ใช้ในวงการเกษตรของไทยให้ได้ แต่เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยแม้จะอำนวยความสะดวก แต่ด้วยปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่ดิน, ต้นทุนการผลิตที่มากขึ้น, ภัยพิบัติ, ภาวะเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ก็ทำให้ภาคการเกษตรนั้นมีแนวโน้มที่จะอยู่อย่างลำบากมากขึ้น จนเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักนั้นอยู่อย่างลำบาก และมีแนวโน้มที่จะมีหนี้สินมากยิ่งขึ้น

การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้น ซึ่งเกษตรกรควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติ และเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเรียนรู้ และเมื่อได้ลงมือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ไม่นานก็จะสามารถเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของการทำเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตขึ้นนั้น ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว และหลักการสำคัญ คือการทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ และมีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร โดยไม่ท้อถอยต่อปัญหาหรืออุปสรรค จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริง แล้วเกษตรกรเองก็สามารถขอรับการผ่านรับรองมาตรฐานจากภาครัฐจึงจะนับได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ที่สมบูรณ์พร้อม

ความสัมพันธ์ของชุมชนกับการส่งเสริมความยั่งยืนของแหล่งเรียนรู้ จำนวน  1 - 2  หน้ากระดาษ 4A ผลงานเนื้อหา เรื่องราว ต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่น

       แหล่งเรียนรู้บ้านม้าไทย โดยนายเกษม  สมชายเป็นผู้ดูแลและเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์  เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้คนในชุมชนและคนทั่วไปได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

       เกษตรอินทรีย์ คือการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบในการผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูงอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและปลอดสารพิษโดยมีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจพอเพียง แก่มวลมนุษยชาติ และสรรพชีวิต

       ประโยชน์ของการทำเกษตรอินทรีย์

ให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีกว่า เนื่องจากระบบ เกษตรอินทรีย์ เป็นการใช้วัตถุดิบและ  อาหารจากธรรมชาติซึ่งจะไม่ทำลายระบบของดิน และ ย่อมไม่ส่งผลเสียในด้านลบต่อพื้นที่และต่อมนุษย์ที่เป็นห่วงโซ่อาหาร อาหารของพืชที่เป็นไปตามระบบของธรรมชาติย่อมจะมีความอุดมสมบูรณ์ได้ดีกว่าทำให้พืชนั้นให้ปริมาณผลผลิตโดยไม่ทำให้พืชทรุดโทรม

-  ให้อาหารปลอดสารพิษสำหรับชีวิตที่ดีกว่า เป็นที่แน่นอนว่าการทำการเกษตรอินทรีย์ คือการใช้อาหารบำรุงพืชหรือการกำจัดศัตรูพืชจากธรรมชาติปลอดจากสารเคมีไม่มีการตกค้างใดๆเพราะระบบอินทรีย์จะสามารถสลายได้เองและไม่ส่งผลด้านลบต่อการบริโภค

-  ให้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อเศรษฐกิจที่ดีกว่า ปัจจุบันเคมีการเกษตรนับว่าเป็นต้นทุนการผลิตที่มีค่าใช้จ่ายสูงสำหรับเกษตรกร แต่สำหรับการทำเกษตรอินทรีย์นั้นเป็นการใช้วัตุดิบปรุงแต่งจากธรรมชาติย่อมทำให้ต้นทุนการใช้งานประหยัดลดต้นทุนได้ดีกว่า

-  ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีกว่า

-  ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า

-  ให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

      สถานที่ตั้ง หมู่ 4 บ้านผาสามยอด    ตำบลผานกเค้า  อำเภอภูกระดึง     จังหวัดเลย

โทรศัพท์  080-1990874  โทรสาร...-......โทรศัพท์มือถือ....... 080-1990874.. E-mail.....

พิกัด..https://www.google.com/url?q=https%3A%2F%2Fmaps.app.goo.gl%2F8cYeSLzSpeWZt6Zo7%3Fg_st%3Dil&sa=D

      ผู้ให้ข้อมูลและผู้เรียบเรียง หรือ ผู้เขียน

         ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางวิลาวัณย์  แซ่อัง

                                               ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางวิลาวัณย์  แซ่อัง

            ข้อมูลเนื้อหา โดย นางสาวสุกันยา  ตะวันทัศไนย

                                           เรียบเรียงเนื้อหา โดย ครู นางวิลาวัณย์  แซ่อัง

                                               ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางวิลาวัณย์  แซ่อัง