สวนรุกขชาติพระบาท

สวนรุกขชาติพระบาท ปัจจุบัน สังกัด สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช และ ประสานงานการเบิกจ่าย งานธุรการ ผ่านกลุ่มงาน วิชาการ สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (สาขา ลําปาง) ความเป็นมาในการจัดตั้งนั้น เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2540 สํานักงานป่าไม้เขตลําปาง (เดิม) ได้ใช้พื้นที่สวนรุกขชาติพระบาทแห่งนี้จัดกิจกรรม ปลูกป่าแบบประชาอาสาเนื่องในวันต้นไม้ประจําปีของ ชาติในพื้นที่ที่ถูกราษฎรบุกรุกถือครอง มาดําเนินการปลูกฟื้นฟูสภาพป่าให้คืนคงเดิม และนายปรีดา ไชยานุวงศ์ ป่าไม้เขตลําปางในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้มีทัศนียภาพที่สวยงาม สภาพป่าค่อนข้าง สมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้หลากหลายขึ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วไป มีจุดเด่นเป็นที่เคารพสักการะของพี่น้องชาวจังหวัด ลําปาง และพื้นที่ใกล้เคียง คือ ศาลเจ้าพ่อ โรงดอย อยู่ใกล้แหล่งชุมชนเมืองซึ่งห่างจากศูนย์ราชการจังหวัด ลําปางเพียง 1 กิโลเมตรเศษ การคมนาคมสะดวก

ในการจัดตั้งสวนรุกขชาติพระบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชที่มีค่า หายาก พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ ไม่มีค่าทางเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร พืชกินได้ และพืชให้สีย้อมผ้า พืชป่าให้ดอกสวยงาม ไม้ประดับ ไม้ในพุทธประวัติ พรรณไม้มงคลประจําจังหวัดและสวนรวมพรรณไม้ในวรรณคดีของไทยฯลฯ เป็นแหล่ง ศึกษาค้นคว้าวิจัยในทุกสาขาวิชาทางพฤกษศาสตร์เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการบริการ ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาหาความรู้ด้านป่าไม้ ตลอดจนพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจและสร้างจิตสํานึกให้ประชาชนมีความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่แห่งนี้ให้คงอยู่ ตลอดไป



จุดเด่นที่น่าสนใจ

1. ศาลเจ้าพ่อโรงดอย ซึ่งมีอายุมากกว่า 200 ปี เป็นสถานที่คนสมัยก่อนมีความเชื่อว่าเป็นสื่อกลาง ระหว่างมนุษย์และเทพยดา เพื่อรวบรวมความเชื่อและศรัทธาในอํานาจศักดิ์สิทธิ์ในการปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ที่ กระจัดกระจายให้รวมไว้กับสื่อแห่งความศักดิ์สิทธิ์ร่วมกัน และในทุกๆ วันขึ้น 3 ค่ํา เดือน 9 (ตรงกับเดือน พฤษภาคมหรือมิถุนายน) ของทุกปี จะมีการประกอบพิธีกรรมบวงสรวง

2. อ่างเก็บน้ํา เป็นอ่างเก็บน้ําขนาดกว้าง 50 x50 เมตร สร้างเพื่อเป็นแหล่งน้ําไว้ใช้อุปโภคในสวนรุกขชาติพระบาท เนื่องจากระบบน้ําประปาเข้าไม่ถึงที่นี่ เป็นสถานที่พักคลายร้อนของผู้สัญจรไปมาได้เป็นอย่างดี

3. ศาลาชมวิว ตั้งอยู่บนเนินเขาภายในสวนรุกขชาติ ห่างจากสํานักงานประมาณ 200 เมตร สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองลําปางได้เป็นบางส่วน

4. เรือนเพาะชํา สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้วงจรชีวิตของไม้ในวัยอนุบาล และเทคนิคการเพาะกล้าไม้แต่ ละชนิดที่มีความแตกต่างกัน

5. สวนรวบรวมพรรณไม้ ประกอบด้วย สวนรวบรวมพรรณไม้สมุนไพร สวนรวบรวมพรรณไม้ประจํา จังหวัด สวนรวบรวมพรรณไม้ในวรรณคดี สวนรวบรวมพรรณไม้เศรษฐกิจ สวนรวบรวมพรรณไม้ในพุทธประวัติ