กล้วยอบพลังงานแสงอาทิตย์

วิสาหกิจกล้วยอบพลังงานแสงอาทิตย์ "กล้วยตาก" เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปพื้นฐานและเป็นที่ชื่นชอบสำหรับทุกเพศวัย การทำงานของฝ่ายอุตสาหกรรมโดยชุดโครงการ SMEs ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร (นครปฐม) ได้เริ่มสนใจงานวิจัยเกี่ยวกับกล้วยตากนี้ตั้งแต่ปี 2548 เมื่อดูกระบวนการผลิตทำให้ไม่อยากกินกล้วยตากอีก เพราะจากกระบวนการผลิตไม่ถูกต้องตามหลัก GMP (แนวทางการผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดี) เนื่องจากการผลิตทำกันอย่างง่ายๆ ตามประสาชาวบ้านที่ทำกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ และยังไม่คิดจะปรับเปลี่ยนอะไร เพราะทำแบบนี้ก็ยังขายได้อยู่ ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงอะไรด้วย จากภาพจะเห็นได้ว่า แผงตากกล้วยจะเป็นแบบไม้ไผ่เมื่อใช้ไปนานๆ ในสภาพที่ผ่านแดดผ่านฝนมาเป็นระยะเวลานาน จะขึ้นราสีดำ ลานตากเป็นลานเปิดโล่งทำให้มีแมลงวัน ผึ้ง ผีเสื้อบินตอมกันมากมาย ฝุ่นที่ฟุ้งเนื่องจากรถที่วิ่งผ่านไปมา กล้วยตากสีผิวไม่สม่ำเสมอและกล้วยมีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งกล้วยตากตกเกรดนี้สามารถขายได้ในราคา 3-4 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่กล้วยตากเกรดดีขายได้ในราคา 40 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งราคาแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งการผลิตกล้วยตากต้องทำทุกวัน ไม่เว้นแม้ในฤดูฝน ทำให้กล้วยตากที่ลานตากเปียกชื้นจนต้องทิ้งเป็นจำนวนมาก ส่วนกล้วยเกรดดีจะถูกเก็บไว้ในห้องเย็นเป็นจำนวนมากเลยค่อยๆ ทยอยนำออกมาอบแล้วนำไปบรรจุตามออเดอร์ที่ได้รับ

สำหรับกลุ่มวิสาหกิจผลิตกล้วยอบพลังงานแสงอาทิตย์ตำบลผาปังได้รับการสนับสนุนการบริหารจัดการจากสำนักงานเกษตรอำเภอแม่พริก นางสาวสำราญ นักวิชาการเกษตรประจำตำบลผาปังให้การสนับสนุนความรู้ สำหรับเทคโนโลยี Green House ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นผู้ให้การสนับสนุนการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร (นครปฐม) กลุ่มเป้าหมายหลักในการจำหน่ายคือ กลุ่มประชาชนผู้มาศึกษาดูงาน โดยมีมีกลุ่มวิสาหกิจครัวชุมชนเป็นผู้รับไปจำหน่ายและจัดต้อนรับเป็นอาหารว่างระหว่างการศึกษาดูงาน ในขณะเดียวกันจึงได้กลายเป็น "การตลาดแบบปากต่อปาก" จากที่ลูกหลานในตำบลผาปังได้ซื้อไปฝากมิตรสหายในต่างถิ่น ในปัจจุบันยังมีปัญหาวัตถุดิบกล้วยในบริเวณตำบลผาปังมีจำนวนไม่เพียงพอ และการอบกล้วยในช่วงถดูฝน