โต้งแม่ก้องจาง

"โต้งแม่ก้องจาง"

อยู่ หมู่ 2 บ้านผาปังหลวง ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง

สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด) ลองติจุด 17.580497 ละติจุด 99.088388

ที่มาของชื่อ โต้งแม่ก้องจาง ได้มีตำนานเล่าว่า พื้นที่บริเวณโต้งแม่ก้องจางนี้ ถือว่าเป็นชัยภูมิที่ดี เป็นพื้นที่ทางเดินหรือเป็นทางผ่านของโคลงช้าง พอเวลาที่จะต้องการคล้องช้าง ชาวบ้านก็จะใช้บริเวณนี้เป็นสมรภูมิสำหรับคล้องช้าง ซึ่งภาษาเหนือ คำว่า คล้อง จะพูดว่า ก้อง ,คำว่า ช้าง จะพูดว่า จ้าง จึงได้คำว่า ‘ก้องจ้าง’และได้เพี้ยนมาเลื่อยๆจนเป็นชื่อ ‘ก้องจาง’และพื้นที่บริเวณนี้จะมีลำห้วยหนึ่งไหลผ่าน ลำห้วยนั้นจึงได้ชื่อว่า ลำห้วยแม่ก้องจาง (สำหรับ แหล่งเรียนรู้ “โต้งแม่ก้องจาง” ได้มาจากการทำนาทำการเกษตรเป็นพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งการทำนา ภาษาเหนือ โต้ง เลยได้ชื่อแหล่งเรียนรู้นี้ขึ้นว่า โต้งแม่ก้องจาง

โต้งแม่ก้องจาง มีพื้นที่อยู่จำนวน 19 ไร่ เป็นการทำเกษตรผสมผสาน โดยได้น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาใช้ ได้จัดสรรแบ่งพื้นที่การทำเกษตรผสมผสาน ดังนี้ ด้านการเลี้ยงสัตว์ มีการขุดบ่อเลี้ยงปลา บ่อปลาจำนวน 4 บ่อ เลี้ยงปลาสวาย ปลาจะละเม็ด และปลานิล การเลี้ยงไก่ ไก่ที่เลี้ยงมี 2 พันธุ์ คือ ไก่พื้นเมือง และไก่พันธุ์ประดู่หางดำ มีรวมกันทั้งหมด 100 กว่าตัว ด้านการปลูกพืช ดังนี้ การได้ทำเป็นสวนมะนาวพันธุ์ตาฮิติ มีทั้งแบบปลูกลงดินกับปลูกในวงบ่อ การปลูกไผ่กิมซุง จำนวนกว่า 50 ต้น และแบ่งพื้นที่ทำนา จำนวนพื้นที่ 17 ไร่ นอกจากนั้น สวนแห่งนี้ยังปลูกพืชสวนครัว ได้แก่ พริก ข่า ตะไคร้ หรือไม่เว้นแม้แต่พืชกินใบ อย่างกะหล่ำปลี ผักกาดดอก เพื่อใช้ในการบริโภคและเป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงภายในสวน เช่น นำพืชผักมาใช้เป็นอาหารปลา และไก่ทั้งหมดจะปล่อยให้หากินตามธรรมชาติ

แหล่งเรียนรู้โต้งแม่ก้องจาง มีฐานสำหรับการเรียนรู้ ดังนี้

การเรียนรู้พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งแหล่งเรียนรู้แห่งนี้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า

ฐานการเรียนรู้ ไผ่

ฐานการทำถ่าน

ฐานมะนาว

ด้านการท่องเที่ยววิถีชุมชน โลเคิล อไลค์ (Local Alike) จับมือกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันสร้างสรรค์เส้นทางการท่องเที่ยโดยชุมชนที่ชุมชนผาปัง ได้มาถ่ายทำรายการในแหล่งเรียนรู้ โต้งแม่ก้องจาง แห่งนี้ด้วย

แหล่งเรียนรู้โต้งแม่ก้องจาง ได้เปิดรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศในการศึกษาดูงาน และให้ผู้ที่มาดูศึกษาดูงานได้ให้ลงมือปฏิบัติจริง

แหล่งเรียนรู้แห่งนี้ถือเป็นต้นแบบของแหล่งความรู้ แนวทางการทำอาชีพเกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเองที่ยั่งยืน และได้มีการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลผาปัง เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2559 จึงเป็นสถานที่สำหรับให้ผู้คนที่สนใจเกษตรทฤษฎีนี้เข้ามาเรียนรู้กันอย่างเต็มที่