ประโยชน์ของป่าชุมชน
ป่าชุมชน บ้านปากหมัน ตำบลปากหมัน โดยปกติแล้ว เป็นภูเขาตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าชุมชนของบ้านปากหมัน ตำบลปากหมัน มีความสูง 620 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชุมชนบ้านปากหมันได้ปรับปรุงพื้นที่ส่วนหนึ่งบนยอดเขาให้เป็นลานกางเต็นท์และจุดชมทัศนียภาพ
นั่งรถอีแต๊ก ชมธรรมชาติ พักแรมค้างคืน ลุ้นหมอกเช้าที่ภูอีเลิศเป็นภูเขาตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าชุมชนของบ้านปากหมัน
ตำบลปากหมัน มีความสูง 620 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชุมชนบ้านปากหมันได้ปรับปรุงพื้นที่ส่วนหนึ่งบนยอดเขาให้เป็นลานกางเต็นท์และจุดชมทัศนียภาพ สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้น ทะเลหมอก และชมดาวบนฟ้ายามค่ำคืน นอกจากนี้ยังมองเห็นภูเขาและบ้านเรือนในเขตตำบลปากหมันของฝั่งไทยและภูเขากับพื้นที่การเกษตรในฝั่งลาวด้วย บนภูอีเลิศไม่มีบ้านพัก มีเพียงลานกางเต็นท์และห้องน้ำ ผู้ที่จะขึ้นไป ค้างแรมและแคมป์ปิ้งต้องเตรียมอุปกรณ์กางเต็นท์และเสบียงอาหารขึ้นไปเอง จากจุดทางขึ้นภูอีเลิศต้องใช้รถอีแต๊กของชุมชนหรือจักรยานยนต์เท่านั้น เพราะเป็นเส้นทางขรุขระและดินโคลน ใช้เวลาเดินทาง 45 นาที ถึงจุดกางเต็นท์ จากนั้นเดินเท้าเพียง 100 เมตร ถึงจุดชมวิว สอบถามข้อมูลการเดินทาง ที่พัก การเช่ารถอีแต๊กที่ใช้ขึ้น-ลงภูอีเลิศได้ที่ ภูอีเลิศ โฮมสเตย์ “ป่าชุมชน” ก็คือพื้นที่ป่าไม้ที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมต่อการจัดการเพื่อให้ตอบสนองวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ดังนั้น ป่าชุมชนจึงสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในที่ดินประเภทต่างๆ เพียงแต่ระดับการมีส่วนร่วมและการจัดการอาจมีความเข้มข้นและความหลากหลายที่แตกต่างกันออกไป
การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนและภาครัฐ
ป่าชุมชน บ้านปากหมัน ตำบลปากหมัน รับรางวัลระดับประเทศ คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน เมื่อปี พ.ศปี 2561 ป่าชุมชน บ้านปากหมัน เป็นป่าชุมชนมีประโยชน์และจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า. ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม บนฐานของระบบ ความคิด ภูมิปัญญา และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างสวยงาม มีการจัดหมู่บ้านนวัตวิถีโดยพัฒนาชุมชน โดยกิจกรรมในงานมีการเยี่ยมชมนิทรรศการผลิตภัณฑ์ OTOP ชิมเมนูอาหารพื้นถิ่น และผู้ที่มาร่วมงานสามารถ นอนบ้านพักโฮมสเตย์ได้ จากการมเยี่ยมชมทะเลหมอกภูอีเลิศ และชมน้ำตกแก่งช้าง ที่กั้นชายแดนไทย-ลาว
ทั้งนี้ โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เป็นยุทธศาสตร์ใหม่ ที่จะส่งผลดีต่อนโยบายของรัฐบาลในการสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ เกิดชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน โดยการนำนวัตกรรมผสานวิถีชีวิตชุมชน ในการผลิตสินค้าท้องถิ่น หรือผลิตภัณฑ์ OTOP ภายใต้แนวคิด ร่วมสุข ร่วมวิถี ร่วมสมัย ผนวกกับการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งเป็นยุคการเปลี่ยนผ่าน จากเดิมที่เป็นการผลักดันสินค้าให้ขายได้โดยรัฐ นำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนไปจำหน่ายนอกชุมชน ซึ่งทำให้เกิดรายได้เฉพาะรายเฉพาะกลุ่มเท่านั้น มาเป็นการกระจายรายได้ตามความต้องการของคนในชุมชน โดยใช้เสน่ห์จากภูมิปัญญา วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม พัฒนาต่อยอดด้วยนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผสานชีวิตชุมชน สร้างสรรค์เสน่ห์อัตลักษณ์ วิถีชีวิตชุมชนให้มีคุณค่า ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาเยี่ยมเยือน และเกิดการใช้จ่ายเงินในชุมชน เป็นการกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ สร้างตลาดใหม่ที่ชุมชน ดึงคนเข้าหมู่บ้าน ด้วยชุมชนท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพยกระดับ OTOP Quadrant D ให้พร้อมขาย สร้างรายได้ พัฒนาชุมชนท่องเที่ยวให้มีการกระจายรายได้เพิ่มมากขึ้น
ประโยชน์ทางด้านสังคม หลายชุมชนได้รับผลประโยชน์จากป่าชุมชนทางด้านสังคมในรูปแบบต่างๆกันไป ที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างความร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมจัดการป่าไม้อันเป็นการทำงานเพื่อส่วนรวม อันส่งผลต่อความรักสามัคคีที่สามารถส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมอื่นๆร่วมกันในชุมชน ทั้งในด้านศาสนาหรือความเชื่อ การประกอบอาชีพ การรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ตามความเหมาะสม กับทั้งอาจส่งผลต่อการพัฒนาอาชีพตามศักยภาพของชุมชนตามมา การใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ในบางแห่งอาจมีการสร้างเครือข่ายโดยป่าชุมชนที่เชื่อมโยงความร่วมมือกับหมู่บ้านอื่นทั้งในระดับตำบล อำเภอ ภูมิภาค และประเทศอีกด้วย
ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ เท่าที่ผ่านมาดูเหมือนว่าชุมชนได้รับประโยชน์ในด้านนี้จากป่าชุมชนไม่สูงเท่าที่ควร เนื่องจากข้อจำกัดของสถานภาพทางกฎหมายป่าไม้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ได้รับในรูปแบบจากการเก็บหาของป่าและสมุนไพรตามที่กฎหมายเอื้ออำนวยให้เพื่อการบริโภคและอุปโภคในครัวเรือน ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้ในระดับหนึ่ง ในกรณีที่มีจำนวนมากอาจมีการรวบรวมจำหน่ายซึ่งอาจมีการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ที่เป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับป่าชุมชนที่อยู่ในที่ดินบางประเภทก็สามารถตัดฟันไม้ยืนต้นที่มีอยู่จำหน่ายอันเป็นการสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี
จุดเด่น เป็นป่าชุมชนมีประโยชน์และจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า. ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม บนฐานของระบบ ความคิด ภูมิปัญญา และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างสวยงาม และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว คือ ภูอิเลิศ
สถานที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้ประกอบอาชีพหรือของชุมชน
สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 4 บ้านปากหมัน ตำบลแขวง........ปากหมัน .........
อำเภอ/เขต........ด่านซ้าย................... จังหวัด............เลย...................
โทรศัพท์............. 061-053-1516........... โทรสาร.......................-......
.โทรศัพท์มือถือ........ 061-053-1516.......... E-mail.....................-.....
ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางจรัสศรี บัวพิทักษ์
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางจรัสศรี บัวพิทักษ์ และ อาจารย์นรเศรษฐ์ แสนประสิทธิ์