ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปลาส้ม เป็นการแปรรูปอาหารจากปลาชนิดหนึ่งที่แพร่หลายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องปรุงหลักประกอบด้วย ปลา เกลือ กระทียม ข้าวสุก ผสมกัน หมักจนมีรสเปรี้ยว มีทั้งแบบที่ใช้ ปลาทั้งตัว และแบบที่ใช้เฉพาะเนื้อปลา ซึ่งแบบที่ใช้เนื้อปลาอย่างเดียวอาจเรียกปลาส้มฟักหรือแหนมปลา สัดส่วนต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่นชาวไทยมีสูตรปลาส้มเป็นของตนเอง โดยเครื่องปรุงใช้ พริก เกลือ กระเทียม น้าซาวข้าว ข้าวเหนียวใหม่นึ่ง จะต้องคั่วเกลือให้แห้งและตำให้ละเอียดก่อนน้ามาคลุกกับส่วนผสมอื่น ปลาส้มของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ต่างไป โดยจะน้าปลา เช่น ปลากระดี่ ปลาตะเพียน มาผ่าท้องเอาไส้ออก หมักเกลือไว้ ๒-๓ วัน แล้วจึงล้าง จากนั้นนำไปชุบในน้ำตาลโตนด ที่เคี่ยวกับข้าวคั่ว เรียงใส่ไห ปิดปากไหให้แน่น ทิ้งไว้ ๗-๑๐ วัน ก็สามารถน้าไปปรุงอาหารได้

เนื่องจากประธานกลุ่มเป็นกรรมการกลุ่มประมงตำบลซึ่งมีแนวความคิดที่จะแปรรูปปลาน้ำจืดที่มีในชุมชนมาแปรรูปเป็นปลาส้มเพื่อจำหน่ายทั้งในและนอกชุมชนและน้าผลิตผลจากครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เรียบเรียงโดยนางสาวนูไนน๊ะ มะมิง

จัดทำโดยนางสาวนูไนน๊ะ มะมิง