การจักสานไม้ไผ่

                       

ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น 

การประกอบอาชีพ 

" การทำเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ "


ประวัติข้อมูลส่วนตัวของผู้ประกอบ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น  

" คุณตาชาย อุตมูล " 

อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 8 บ้านโนนสว่าง 

ตำบลโนนป่าซาง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย 

ประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่น 

        คุณตาชาย อุตมูล อายุ 81 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 8 บ้านโนนสว่าง ตำบลโนนป่าซางอำเภอผาขาว จังหวัดเลย  เริ่มทำจักสานตั้งแต่ย้ายมาอยู่ บ้านโนนสว่าง เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยการสังเกตจากของจริง และได้ลงมือทำเองโดยริเริ่มคิดและดัดแปลงด้วยตัวเอง เดิมทีแรกสานเครื่องจักสาน ตะกร้า ต่อมาเริ่มทำข้องใส่ปลา ไซใส่ปลา และทำตุ้มใส่ ปลาไหล โดยอุปกรณ์จากไม้ไผ่ทั้งหมด โดยจากทำจากไม้ไผ่สดไม่ได้ตากแดดหรือเผา จะทำผลิตภัณฑ์คงทนแข็งแรง โดยส่วนมากจะไม่ได้นำไปขายที่ตลาด เพราะมีชาวบ้านและแม่ค้ามารับเองที่บ้าน จนบางทีไม่เพียงพอต่อการขาย

เครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีประโยชน์ ในการดำรงชีวิต 

       

จะเห็นได้ว่าเครื่องจักสานสากไม้ไผ่มีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืนและดำรงอยู่คู่สังคมสืบต่อไป

งานจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่ชาวบ้านทําเพื่อใช้ในครัวเรือนมาแต่โบราณแม้ในปัจจุบัน  งานจักสานหรือเครื่องจักสานจะมีอยู่น้อยแต่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไปทุกภาคในประเทศนอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว งานจักสานยังสะท้อน วัฒนธรรม สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาของชาวบ้านได้อีกด้วย 

ในขณะที่สภาพสังคม เศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากเดิม การไปมาหาสู่กันระหว่างเมืองกับชนบทติดต่อกันได้สะดวก รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางกระแสวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมเดิมทําให้สภาพความเป็นอยู่การดํารงชีวิตของคนในชุมชมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบทําให้งานจักสานหรืออาชีพจักสานลดน้อยลงไปเรื่อยๆจนถึงเพื่อการส่งเสริมความรู้ด้านงานจักสานแก่ผู้ที่สนใจในอาชีพได้สืบทอดงานจักสานให้คงอยู่ต่อไป             

        การประกอบอาชีพในทุกวันนี้มีหลากหลายทางมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายและมีความสะดวกสบายมากขึ้นอยากกินปลาก็เดินไปซื้ออยู่ตลาดจนคนในยุคปัจจุบันไม่รู้จักกรรมวิธีขั้นตอนในอุปกรณ์ในการประยุกษ์เลือกนำภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้จากไม้ไผ่เอาวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาใช้ใการทำมาหากินไม่รู้จักอุปกรณ์พื้นบ้านอีสานที่ปู่ย่าจักรสานขึ้น 

        อย่างเช่น สุ่มไก่ การสานกระด้ง กระติบข้าว อีโฮ่งใช้ร่อนปลา กระชังใส่ปลาซึ่งอุปกรณ์บางอย่างเราก็ไม่รู้จัก จึงจำเป็นอย่างมากที่เราควรจะศึกษาขั้นตอนในการทำอุปกรณ์พื้นบ้านต่างๆเพื่อจะได้สืบสานต่อไปคู่ไว้ให้อยู่กับคนไทยไปยาวนาน


        ทั้งนี้ ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เป็นการส่งเสริมรายได้ ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และยังเป็นกิจกรรม ที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และคลายความเหงาได้อีกด้วย

ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง การสานข้องใส่ปลา เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าต้องใช้ วัตถุดิบอะไรบ้าง และมีขึ้นตอนการทำอย่างไรดังนี้


ข้อง  เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยผิวไม้ไผ่ ปากแคบอย่างคอหม้อ มีฝาปิดเปิดได้ เรียกว่า ฝาข้อง ฝาข้องมีชนิดที่ทำด้วยกะลามะพร้าว และใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไว้เรียกว่า งาแซง ข้องใช้สำหรับใส่ ปลาปู กุ้ง หอย กบ เขียด


การใช้งาน ใช้ใส่ปลา กุ้ง หอย ทุกชนิด ใช้ในเวลาที่ออกหาปลา โดยผูกข้องไว้ที่เอว ถ้าจับปลาที่มีขนาดใหญ่นิยมใช้ข้องเป็ด เพราะปลาไม่ต้องงอตัวอยู่ในข้อง ปลาจะนอนตามความยาวของตัวข้อง จะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน ถ้าขังปลาด้วยข้องเป็ดแล้วนำไปแช่น้ำที่ไหล ยิ่งจะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้หลายวัน

        ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง การสานข้องใส่ปลา เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าต้องใช้ วัตถุดิบอะไรบ้าง และมีขึ้นตอนการทำอย่างไรดังนี้

ข้อง  เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยผิวไม้ไผ่ ปากแคบอย่างคอหม้อ มีฝาปิดเปิดได้ เรียกว่า ฝาข้อง ฝาข้องมีชนิดที่ทำด้วยกะลามะพร้าว และใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไว้เรียกว่า งาแซง ข้องใช้สำหรับใส่ ปลาปู กุ้ง หอย กบ เขียด

การใช้งาน ใช้ใส่ปลา กุ้ง หอย ทุกชนิด ใช้ในเวลาที่ออกหาปลา โดยผูกข้องไว้ที่เอว ถ้าจับปลาที่มีขนาดใหญ่นิยมใช้ข้องเป็ด เพราะปลาไม่ต้องงอตัวอยู่ในข้อง ปลาจะนอนตามความยาวของตัวข้อง จะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน ถ้าขังปลาด้วยข้องเป็ดแล้วนำไปแช่น้ำที่ไหล ยิ่งจะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้หลายวัน

อุปกรณ์ในการสานตะข้อง

         1.  ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้น เเละเหลาเป็นเส้นบางๆตามความยาวที่ต้องการ

         2. มีดสำหรับเหลา 1 อัน ต้องเป็นมีดที่คม

         3. เศษผ้าสำหรับพันที่นิ้วชี้ ใช้งานเมื่อเหลาไม้ไผ่ป้องกันการบาดมือ

         4. ท่อนไม้ที่เหลาเป็นทรงกลม สำหรับทำเเบบขนาดของปากตะข้อง

วิธีการทำ

1.นำไม้ไผ่ที่เป็นลำมามาผ่า เเล้วจักให้เป็นเส้นๆ เสร็จเเล้วเหลาให้เป็นเส้นบางๆ จะใช้เฉพาะที่ผิวเปลือกนอกในการสานตะข้อง เพราะจะมีความทนทาน กว่าการใช้ใส้ข้างใน


2.ในการเหลาจะเหลาไว้หลายขนาด ถ้านำมาสานที่ตัวข้องจะใช้เส้นที่ยาวเเบน ถ้านำมาทำที่ปากข้องจะใช้เส้นเล็กเเละกลม เพื่อความเเน่นหนา เเละคงทน


3.ทำการสานโดยสานตั้งเเต่ฐานของตะข้องขึ้นมาก่อน โดยสานเป็นการสลับ 1 เว้น 1

ตะกร้าสานไม้ไผ่

ไซดักปลาสานไม้ไผ่

ข้องใส่ปลาสานไม้ไผ่

สถานที่ตั้งของผู้ประกอบภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถดูเส้นทางผ่าน Google Maps ที่ปักหมุดด้านบนนี้ (พิกัด 17.120080, 102.048074)

ผู้ให้ข้อมูลและผู้เรียบเรียง หรือ ผู้เขียน

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว  เขียนโดย นางสาวนิภาวรรณ  สาลี

        ภาพถ่าย/ภาพประกอบ        โดย  นางสาวนิภาวรรณ  สาลี

ข้อมูลอื่น ๆ 

        ข้อมูลเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านจากไม้ไผ่ไทย องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม