แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เสมาหินทราย

         เสมาหินที่พบมีทั้งสภาพสมบูรณ์และชำรุดปักรวมกันอยู่ในบริเวณวัดพัทธสีมาราม ส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว บางใบเป็นหินทรายสีแดงมีขนาดใหญ่เล็กปะปนกันตรงกลางมีลวดลายรูปสถูปเจดีย์ประดับอยู่เกือบทุกใบ บางใบเป็นหม้อ "ปูรณฆฏะ" ประกอบลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ใบเสมาทั้งหมดสามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีรูปทรงใกล้เคียงหินธรรมชาติ กลุ่มที่สลักเป็นแผ่นเรียบมีรูปร่างค่อนข้างแน่นอน กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะมีสถูปตอนบน กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะสถูปตอนบนประกอบลายพันธุ์พฤกษา กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะ 2 ชั้น 3 ชั้น ประกอบลายพันธุ์พฤกษา กลุ่มใบเสมาที่เป็นเสาแปดเหลี่ยมฐานบัวปลายสอบเข้าหากัน จำนวน 1 ใบ และใบเสมาที่มีอักษรประกอบ 1 ใบ

       เสมาหินบ้านบุ่งผักก้ามถูกค้นพบที่วัดพัทธสีมาราม บ้านหนองบัวทอง ตำบลวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นเสมาหินที่มีการกำหนดอายุโดยวิธีทางโบราณคดี โดยใช้วิธีเปรียบเทียบทางประวัติศาสตร์ และศิลปะโดยศึกษาจากศิลปะโบราณวัตถุ สถานที่ที่มีลักษณะรูปแบบลวดลายใกล้เคียงกันและเปรียบเทียบกับศิลปะโบราณวัตถุจากประเทศใกล้เคียงและคัมภีร์ที่ให้อิทธิพลการกำหนดรูปแบบสลักบนใบเสมา จึงกำหนดอายุได้ว่า สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 13-16 มีอายุไม่ต่ำกว่า 900 – 1,200 ปี เป็นแบบศิลปะทวาราวดี    

       เสมาหินที่พบมีทั้งสภาพสมบูรณ์และชำรุดปักรวมกันอยู่ในบริเวณวัดพัทธสีมาราม ส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว บางใบเป็นหินทรายสีแดงมีขนาดใหญ่เล็กปะปนกันตรงกลางมีลวดลายรูปสถูปเจดีย์ประดับอยู่เกือบทุกใบ บางใบเป็นหม้อ "ปูรณฆฏะ" ประกอบลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ใบเสมาทั้งหมดสามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีรูปทรงใกล้เคียงหินธรรมชาติ กลุ่มที่สลักเป็นแผ่นเรียบมีรูปร่างค่อนข้างแน่นอน กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะมีสถูปตอนบน กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะสถูปตอนบนประกอบลายพันธุ์พฤกษา กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะ 2 ชั้น 3 ชั้น ประกอบลายพันธุ์พฤกษา กลุ่มใบเสมาที่เป็นเสาแปดเหลี่ยมฐานบัวปลายสอบเข้าหากัน จำนวน 1 ใบ และใบเสมาที่มีอักษรประกอบ 1 ใบ

       พบใบเสมาปักรวมกันอยู่ที่คูน้ำคันดิน ในบริเวณวัดพัทธสีมาราม มีทั้งสภาพสมบูรณ์และชำรุดนับได้ 40 ใบ และใบเสมา 1 ใบ ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลยได้ทำสำเนาจารึกไว้พบว่าเป็นอักษรอินเดียใต้ (อักษรปัลลวะ) จำนวน 12 บรรทัด ตัวอักษรลบเลือนอ่านได้เป็นบางคำ ลักษณะอักษรรูปแบบนี้สันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบอักษรช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-16

การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนและภาครัฐ  

            การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการจัดการดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน

      การท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงถือเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชนโดยแท้ ทั้งยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชุมชนกับนักท่องเที่ยวในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตเข้าใจความต่างทางวัฒนธรรม สร้างความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่น ก่อให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืนในที่สุด

• ชุมชนมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมีวิถีการผลิตที่พึ่งพาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

        • ชุมชนมีระบบสังคมที่เข้าใจกันรู้สึกเป็นเจ้าของ และเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา

        • มีกฎ-กติกาในการจัดการสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว

        • มีองค์กรหรือกลไกในการทำงานเพื่อจัดการการท่องเที่ยว และสามารถเชี่อมโยงการท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชนโดยรวมได้

       • ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม  มีระบบจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับผู้มาเยือน

       • ลักษณะของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่าง เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวบ้านกับผู้มาเยือน

       • สร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ทั้งชาวบ้านเองและผู้มาเยือน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่ได้ทำเพื่อปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นความหวังไปถึงความยั่งยืนในอนาคต ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเพราะการท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ใช่การท่องเที่ยวกระแสหลัก แต่เป็นการเดินทางไปในชุมชนหรือทำกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีคุณค่า มีเอกลักษณ์ มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง นำมาซึ่งความอยู่ดีมีสุขของเจ้าของบ้าน และความประทับใจของผู้มาเยือนจนต้องเดินทางกลับมาเยือนซ้ำ พร้อมทั้งบอกต่อให้ผู้อื่นได้มาสัมผัสประสบการณ์เช่นเดียวกัน ซึ่งจะเป็นโอกาสให้การท่องเที่ยวไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน

สถานที่ตั้ง วัดพัทธสีมาราม บ้านหนองบัวทอง ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ผู้ให้ความรู้ พระวีระยุทธ สิริปัญโญ เจ้าอาวาสวัดพัทธสีมาราม

   ข้อมูลเนื้อหา โดย นายฐาปกรณฺ ลีกระจ่าง

                                     เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวกาญจนา  สุริมงคล

                                        ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย กศน.ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง