กลุ่มทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองบ้านกกบก

      แนวคิดก่อเกิดผลิตภัณฑ์และต่อยอดภูมิปัญญาจากการต้องการอนุรักผ้าทอพื้นเมืองเพื่อให้คงอยู่กับชุมชนโดยเอาความรู้ใหม่ผสมเข้าไปในกระบวนการผลิตการผลิตผ้าฝ้ายปลอดสารพิษเกิดตั้งแต่กระบวนการเตรียมดินจะต้องไม่มีการพ่นยาฆ่าหญ้าหรือใช้สารเคมีใดๆ แม้แต่ปุ๋ยเคมีก็ต้องละเว้นโดยใช้ ปุ๋ยชีวภาพแทนจนถึงขั้นสุดท้ายที่มีการเก็บ ดอกฝ้ายการย้อมสี การทอล้วนปลอดจากการใช้สารเคมี ผ้าฝ้ายอินทรีย์หรือฝ้ายปลอดสารพิษเกิดจากการที่กลุ่มแม่บ้านบ้านกกบก เพื่อต้องการอนุรักษ์พันธ์ฝ้ายและกระบวนการผลิตแบบพื้นบ้านและวัฒนธรรมที่ดีให้มีการสืบทอด ภูมิปัญญาเก่าบูรณาการกับความรู้ใหม่
    การส่งต่อภูมิปัญญาการทอผ้าจากรุ่นสู่รุ่น จากผู้เฒ่าผู้แก่ รุ่นยายสู่รุ่นลูกและหลาน ความสามัคคีกลมเกลียวของสมาชิกกลุ่ม จัดสรรแบ่งบทบาทหน้าที่ตามความชอบ และความถนัดของแต่ละคน โดยรุ่นยายจะทอหูกค้นเครือฝ้าย สืบเส้นฝ้ายทางยืน ปั่นหลอดเตรียมทอ ผ้าฝ้ายด้วยมือ ส่วนรุ่นลูกหลานทำเรื่องมัดย้อม และการตลาด ศึกษาคิดค้น ออกแบบลวดลายผ้ามัดย้อม และลายมัดหมี่ให้สวยงามและทันสมัย เตรียมสีธรรมชาติสำหรับย้อมผ้า และการย้อมผ้าอย่างมีคุณภาพและสวยงาม ดูแล ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทอผ้า จัดหาแหล่งวัตถุดิบในการทำสีธรรมชาติในชุมชน สนับสนุนกิจกรรมด้านอื่นๆ ภายในกลุ่ม วางแผนการตลาด ส่งเสริมการขาย และออกออกบูทตามงานต่างๆ และที่สำคัญคือ วางแผนการบริการจัดการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล แก้ปัญหา ให้คำปรึกษา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมีคุณภาพและการดำเนินงานของกลุ่มฯ เกิดความยั่งยืน

สถานที่ตั้ง บ้านกกบก ตำบลหนองงิ้ว  อำเภอวงัสะพุง จังหวัดเลย   โทรศัพท์มือถือ 096-1634931
พิกัด  https://goo.gl/maps/LKcPYmQYFu1amMb38

กระบวนการ ขั้นตอนการผลิต
แนวคิดก่อเกิดผลิตภัณฑ์ต่อยอดภูมิปัญญาจากการต้องการอนุรักษ์ผ้าทอพื้นเมืองเพื่อให้คงอยู่กับ ชุมชนโดยนำเอาความรู้ใหม่ผสมเข้าไปในกระบวนการผลิตการผลิตผ้าฝ้ายปลอดสารพิษเกิดตั้งแต่กระบวนการเตรียมดินจะต้องไม่มีการพ่นยาฆ่าหญ้าหรือใช้สารเคมีใดๆ แม้แต่ปุ๋ยเคมีก็ต้องละเวน้โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนจนจึงขั้นสุดท้ายที่มีการเก็บดอกฝ้ายการย้อมสี การทอล้วนปลอดจากการใช้สารเคมี

    1.นำ ดอกฝ้ายมาเก็บเศษวัสดุที่ติดอยู่กับดอกฝ้ายให้สะอาด แล้วนำไปตากแดดให้แห้งปุยฝ้ายฟู

    2. นำ ดอกฝ้ายที่ปุยฟู ไูปอิ้วเพื่อแยกเมลด็ฝ้ายออกจากปุยฝ้ายการอิ้วต้องอิ้วขณะที่ดอกฝ้ายร้อนอยู่เพื่อให้สามารถแยกปุยฝ้ายออกจากเม็ลดได้ง่าย นำปุยฝ้ายที่ได้มาดีดเพื่อได้ปุยฝ้ายที่ละเอียด
    3. นำปุยฝ้ายที่ดีดละเอียดแล้วนำ มาล้อขนาดกลมเท่าประมาณนิ้วมือความยาวประมาณ5 นิ้ว 

    4. นำฝ้ายที่ล้อแล้วมาเข็นด้วยหราเข็นฝ้ายเปียจัดทำเป็นไจ เตรียมย้อมสีธรรมชาติ 

    5. นำฝ้ายที่เป็นเส้นมาย้อมด้วยสีจากไม้ครามและเปลือกไม้อื่น ๆ ตามต้องการ 

    6. นำด้ายที่ย้อมแล้วมาค้นเพื่อทำเครือหูกตามขนาดลวดลายที่ต้องการตามแบบทอด้วยมือ 

    7. ทอเป็นผืนโดยใช้ฝ้ายเส้นพุ่งปั่นในหลอดบรรจุในกระสวยทอให้ได้ลลวดลายตามต้องการ 

    8. ทอเสร็จจัดจำหน่าย

 ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย  นางสาวกาญจนา  สุริมงคล
                                        เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวกาญจนา  สุริมงคล
                                        ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย กศน.อำเภอวังสะพุง  และคณะ