แหล่งเรียนรู้ชุมชน

วัดหนองเขิน

คำขวัญของตำบลหนองชาก “สิ่งศักดิ์สิทธิ์มิ่งมงคลหลวงพ่อเชียงแสน ดินแดนแห่งความรู้ อุ้มชูคนพิการ หมู่บ้านพัฒนาจิต แหล่งผลิตน้ำตาลทราย” สิ่งศักดิ์สิทธิ์มิ่งมงคลหลวงพ่อเชียงแสน จึงเป็นคำกล่าวที่ยืนยันได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เมื่อครั้งอดีต เดิมทีนั้น จังหวัดชลบุรีมีเมืองเก่าอยู่ในพื้นที่ ใกล้เคียงกับอำเภอบ้านบึงในปัจจุบันอยู่สองเมืองคือ เมืองปลาสร้อย(อำเภอเมืองชลบุรี) และเมืองพระรถ (อำเภอพนัสนิคม) ซึ่งมีประชาชนที่ย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศลาวตามบันทึกในประวัติศาสตร์ ซึ่งตั้งรกรากที่อำเภอพนัสนิคมและบางส่วนได้ขยายออกมาร่วมกับ พี่น้องชาวจีนที่พากันอพยพมาจากผืนแผ่นดินใหญ่มาตั้งชุมชนใหม่ในลุ่มน้ำที่ตื้นเขินจึงมีการเรียกชื่อชุมชนแห่งนี้ว่า บ้านหนองเขิน

พระพุทธเชียงแสนมิ่งมงคล

วัดหนองเขิน ได้สร้างขึ้นพร้อมกันกับการกำเนิดของชุมชน บ้านหนองเขิน ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่กว่า 140 ปี มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือ พระพุทธเชียงแสนมิ่งมงคล

ภายในพระอุโบสถวัดหนองเขิน

กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนนิกชน ร่วมกันถวายเทียนพรรษาเนื่องในวันเข้าพรรษา

ประตูทางเข้าวัดหนองเขิน

พระอุโบสถวัดหนองเขิน

วัดหนองเขิน มีเนื้อที่ 15 ไร่เศษ โดยได้รับบริจาคที่ดินจากนางสี ทองคำ และ นางฮอง แซ่เอ็ง พร้อมทั้งลูกหลาน ปัจจุบันได้รับบริจาคเพิ่มเติมให้กับทางวัด อีกจำนวน 9 ไร่ จากคุณไพฑูรย์ เนื่องจำนงค์ โดยพระครูวิศาลธรรมทัศน์ (หลวงพ่อสมศักดิ์ ธมฺมเสวี) เจ้าอาวาสวัดหนองเขินรูปปัจจุบัน ได้จัดทำเป็นพื้นที่เรียนรู้การเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ลานวัฒนธรรม เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างวัดและชุมชน

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ลานวัฒนธรรม

พระประจำวันเกิด

หน่วยฝึกอบรมประชาชนประจำตำบลหนองชาก

หอระฆัง

อาคารปฏิบัติธรรม

สถานที่ตั้ง : วัดหนองเขิน หมู่ 4 ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

https://www.google.com/maps/place/Wat+Nong+Khoen/@13.283336,101.1696399,16.25z/data=!4m5!3m4!1s0x3102d2bad6a9ff6d:0x96857ed20b517bd6!8m2!3d13.2822918!4d101.1734164

ความสัมพันธ์ของชุมชนกับการส่งเสริมความยั่งยืนของแหล่งเรียนรู้

พระครูวิสาลธรรมทัศน์ ทายาทวิทยาคมหลวงปู่มหาสวัสดิ์ วัดเม้าสุขา ท่านเป็นพระนักพัฒนา เป็นที่รักมากของชาวบ้านหนองเขิน ชาวบ้านบึงและระแวกใกล้เคียง ท่านเป็นพระผู้ให้เสมอ และด้านวิชาการม่เป็นรองผู้ใด เพราะจากการได้รับใช้ หลวงปู่มหาสวัสดิ์ มานานถึง 22 ปี ได้นำเอาอปฏิปทาและคำสั่งสอนแนวทางการปฏิบัติของพระครูบาอาจารย์ มาปรับใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมตามหลัก “บวร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน และส่วนราชการ นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนต่อไป

อ้างอิงข้อมูล : หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชล ปีที่ 13 ฉบับที่ 272 วันที่ 1-31 สิงหาคม 2564

ผู้เรียบเรียง : นางสาวณัฐธยาน์ หวังเคียงกลาง ครู กศน.ตำบลหนองชาก