ประเพณีบุญข้าวจี่

ประเพณีบุญข้าวจี่ วัดป่าสมัยพัฒนาราม ม.9 บ้านนาเหล่าน้อย ต.ปวนพุ อ.หนองหิน จ.เลย 

ชาวบ้านนาเหล่าน้อย พอถึง เดือนสาม ก็จะจัด“บุญข้าวจี่” เป็นประเพณีที่ถือว่ามีชื่อเสียงมากของชาวบ้าน นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม คือ ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว และนวดให้เหนียวแล้วเสียบไม้ย่างไฟ

เดือนสาม “บุญข้าวจี่” เป็นประเพณีที่ถือว่ามีชื่อเสียงมากของชาวจังหวัดเลย นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม คือ ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว และนวดให้เหนียวแล้วเสียบไม้ย่างไฟ

มูลเหตุที่ทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม คงจะเนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาหมดภาระในการทำนา ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งฉางใหม่จึงอยากร่วมกัน ทำบุญข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ ส่วนมูลเหตุดั้งเดิมที่จะมีการทำ บุญข้าวจี่ มีเรื่องเล่าว่า ในกาลครั้งหนึ่งนางปุณณะทาสี ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ ครั้นถวายแล้วนางคิดว่าพระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน เพราะ อาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ ภาวะจิตของนางปุณณะทาสี จึงรับสั่งให้พระอานน์ปูลาดอาสนะแล้วทรงประทับนั่งฉันท์

ณ ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งและเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาบันปัตติผล ด้วยอานิสงส์ที่ถวายขนมแป้งจี่ ชาวอีสานทราบอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทำ ข้าวจี่ ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา

การปฏิบัติในงานประเพณีบุญข้าวจี่ เมื่อทางวัดและทางบ้านกำหนดวันทาบุญเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะไปเตรียมหาไม้ไผ่สาหรับเสียบ ข้าวจี่ เมื่อถึงวันทาบุญก็จะเอาไม้เสียบและฟืนที่เตรียมไว้สาหรับทาบุญข้าวจี่ ไปรวมกันที่วัด เมื่อก่อไฟจนเป็นถ่านดีแล้วชาวบ้านแต่ละคนเอาข้าวเหนียวทาเป็นปั้นโรยเกลือและเคล้านวดให้เข้ากันจนข้าวมีลักษณะเหนียว กะจำนวนให้ครบพระภิกษุสามเณร

ในวัดเสียบไม้ปิ้งไฟหรือย่างบนกองไฟจวนสุกทาไข่ให้ทั่วแล้วปิ้งต่อไปจนไข่เหลือง บางแห่งเมื่อปิ้งเสร็จเอาน้ำอ้อยปึกยัดไส้ด้วย

(น้ำอ้อยอาจเอายัดไส้ก่อนปิ้งไฟก็ได้) หรือจะไม่ใส่น้าอ้อยก็ได้ จึงจัดอาหารคาวหวานและข้าวจี่มารวมกันที่ศาลาวัด นิมนต์พระภิกษุและสามเณรในวัดทั้งหมดมารับถวายทาน ข้าวจี่หากไม่มารวมกันทาที่วัด ชาวบ้านอาจต่างคนต่างทามาจากที่บ้านของตนโดยเสร็จแล้ว ต่างนำ ข้าวจี่ มาที่วัดก็ได้ พิธีถวายมีการกล่าวคาบูชาดอกไม้ กราบไหว้พระรัตนตรัย รับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรถวายข้าวจี่แล้วยกไปถวายพระภิกษุสามเณรพร้อมอาหารคาวหวานก่อนยกไปถวายมีการกล่าวคาถวายข้าวจี่อีกด้วย กิจกรรมที่น่าสนใจใน ถือได้ว่าชาวบ้านนาเหล่าน้อย ได้ถือปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 300 ปี

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย  นางดารุณี    คำมา

    ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางดารุณี   คำมา