วัดศรีสันตยาราม   ตำบลปากปวน 

อำเภอวังสะพุง    จังหวัดเลย 

วัดศรีสันตยาราม ตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 

1. ประเภทศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

- วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี ขนมธรรมเนียม ฯลฯ

2. ชื่อของศิลปะ วัฒนธรรมและ(หรือ) ประเพณี

วัดศรีสันตยาราม ตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

3. ประวัติความเป็นมาของศิลปะ วัฒนธรรมหรือประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชุมชน

       วัดศรีสันตยาราม ตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นสถานที่ศูนย์รวมจิตใจ ความเชื่อ ความศรัทธา ของชาวตำบลปากปวน โดยเฉพาะเจดีย์ หลวงปู่เฉย สุทฺโธ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดศรีสันตยาราม ก่อตั้งเมือปี พ.ศ. 2424 มีหลวงปู่เฉย สุทฺโธ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาท่านได้มรณภาพลง ก็ได้มีพระครูถาวรจารุวัตร ได้เป็นเจ้าอาวาส และได้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ได้เปิดสอนแผนกธรรม บาลี

       ปัจจุบันมีเจ้าอธิการชั้น กตปุญโญ เป็นเจ้าอาวาส วัดศรีสันตยาราม มีพระภิกษุ สามเณร จำพรรษา 7 รูป

สถานที่สำคัญภายในวัด ได้แก่

อุโบสถ วัดศรีสันตยราม 

ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์จะใช้เพียงพื้นที่โล่งๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง "สีมา" เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายในพระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม

วัดศรีสันตยาราม มีความสัมพันธ์กับชุมชน คือเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงใช้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆของชุมชน

การเดินทาง

เดินทางได้ทั้งรถประจำทาง และรถโดยสายส่วนตัว เส้นทางจาก วังสะพุง – เมืองเลย กิโลเมตรที่ 6 และเส้นทางจากเมืองเลย – วังสะพุง กิโลเมตรที่ 16

รถโดยสารที่ผ่าน รถขอนแก่น เมืองเลย และรถอุดรธานี – เมืองเลย 

4. การสืบสาน การอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี

วัดศรีสันตยาราม เป็นทั้งสถานที่ดำเนินกิจการในหมู่ของพระสงฆ์เอง และเป็นที่ประกอบกิจกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชน กิจการและกิจกรรมเหล่านี้ อิงอยู่กับหน้าที่ หรือศาสนกิจหลักของพระสงฆ์ คือ การศึกษา การปฏิบัติธรรม และการเผยแผ่สั่งสอนประชาชน

จากการปฏิบัติกิจหน้าที่และดำเนินกิจการเหล่านี้ บทบาทของวัดได้พัฒนาขึ้นโดยลำดับตามกาลเวลา จนในที่สุด วัดได้กลายเป็นศูนย์กลางของสังคม เป็นที่รวมจิตใจของประชาชน ทำหน้าที่ทั้งทางศาสนา ทางการศึกษา ทางวัฒนธรรม และทางสังคมโดยตรง มีบทบาทที่เป็นรายละเอียดมากมาย

โดยมีการมีบทบาท ร่วมกับชุมชนในการทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อกล่าวโดยสรุป บทบาทเหล่านั้นมีดังนี้

1. เป็นสถานศึกษาและฝึกอบรมศีลธรรม สั่งสอนวิชาการต่างๆ เท่าที่มีในสมัยนั้นๆ ทั้งโดยตรง คือ แก่ผู้มาบวชตามประเพณี และแก่เด็กที่มาอยู่วัด และโดยอ้อม แก่ผู้มาทำกิจกรรมต่างๆ ในวัด หรือมาร่วมกิจกรรมในวัด ทั้งวิชาหนังสือและวิชาช่างต่างๆ

2. เป็นสถานก่อกำเนิดและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เป็นที่สืบทอดวัฒนธรรม ที่รวบรวมศิลปกรรม ตลอดจนเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์

3. เป็นสถานสงเคราะห์ ช่วยให้บุตรหลานชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยเลี้ยงชีพพร้อมไปกับได้ศึกษาเล่าเรียน เป็นที่รับเลี้ยงฝึกอบรมเด็กที่มีปัญหา เด็กอนาถา ตลอดจนผู้ใหญ่ซึ่งไร้ที่พักพิง

4. เป็นสถานที่ปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับปัญหาชีวิต เป็นที่ระบายความทุกข์ความเดือดร้อน ความรุ้สึกคับแค้นข้องใจต่างๆ และ ปรึกษาหารือรับคำแนะนำสั่งสอนเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหา

5. เป็นสถานที่ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท โดยอาศัยความเคารพนับถือเชื่อฟัง ทำให้พระสงฆ์สามารถทำหน้าที่ประดุจศาลตัดสินความ แต่มุ่งในทางสมัครสมานสามัคคีเป็นสำคัญ

6. เป็นสถานบันเทิง ที่จัดงานเทศกาล งานสนุกสนานร่าเริง และมหรสพต่างๆ ของชุมชน รวมทั้งเป็นที่เล่นที่สนุกสนานของเด็กๆ

7. เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ทำหน้าที่อย่างสวน ที่ให้ความร่มรื่นสดชื่นของธรรมชาติ พร้อมไปกับให้บรรยากาศที่สงบเยือกเย็นทางจิตใจของพระศาสนา

8. เป็นสถานที่พบปะ ประดุจสโมสร ที่ชาวบ้านบางคนนัดพบ หรือบางคนมาพบปะกันเป็นประจำ บางคนได้มีโอกาสเจอะเจอกันเป็นครั้งคราว ทำให้ไม่ลืมกันไป โดยเฉพาะเป็นที่ชุมนุมสังสรรค์สนทนาปรึกษาหารือกันในกิจการที่เหมาะสม และผ่อนคลาย

9. เป็นสถานที่แจ้งข่าว แพร่ข่าว และสื่อสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจการของชุมชน ข่าวภายในชุมชนก็ดี ข่าวจากภายนอกชุมชน เช่นข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ของประเทศชาติบ้านเมืองก็ดี อาศัยวัดเป็นศูนย์เผยแพร่ที่สำคัญที่สุด และวัดหรือศาลาวัดเป็นที่สำหรับกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนนายอำเภอ เรียกชาวบ้านหรือลูกบ้านมาประชุม หรือถือโอกาสที่มีชุมนุมในงานวัด แจ้งข่าวคราวกิจการต่างๆ

10. เป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชน ตลอดจนดำเนินกิจการบางอย่างของบ้านเมือง เช่น เป็นที่กล่าวปราศรัยหาเสียงของนักการเมือง ที่จัดลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หรือยามสงครามสมัย โบราณ เป็นที่ชุมนุมทหาร ก็มีบ่อยครั้ง

11. เป็นสถานพยาบาล ที่รวบรวมสืบทอดตำรายาแผนโบราณ ยากลางบ้าน ที่รักษาผู้ป่วยเจ็บตามภูมิรู้ซึ่งถ่ายทอดสืบๆ มา

12. เป็นสถานที่พักคนเดินทาง ทำหน้าที่ดุจโรงแรมฟรี สำหรับผู้เดินทางไกล โดยเฉพาะจากต่างถิ่น และไม่มีญาติเพื่อนพ้อง

13. เป็นคลังพัสดุ สำหรับเก็บอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งชาวบ้านจะได้ใช้ร่วมกันเมื่อมีงานที่วัด หรือยืมไปใช้เมื่อตนมีงาน

14. เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม หรือให้บริการด้านพิธีกรรม ซึ่งผูกพันกับชีวิตของทุกคนในระยะเวลาและเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต ตามวัฒนธรรมประเพณี

คลิปวีดีโอ วัดศรีสันตยาราม

6. ผู้ให้ข้อมูลและผู้เรียบเรียง หรือ ผู้เขียน

กรณีเนื้อหาเขียนด้วยตนเอง  ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นายแสงอรุณ โชตะวงค์

                                        ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายแสงอรุณ โชตะวงค์

กรณีเนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์  ข้อมูลเนื้อหา โดย พระคูบามรกต ธรสาโร

                                     เรียบเรียงเนื้อหา โดย นายแสงอรุณ โชตะวงค์

                                        ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายแสงอรุณ โชตะวงค์