ปลูกชะอม

การปลูกชะอม

ตำบลหนองยาวเป็นหมู่บ้านเกษตรกร ซึ่งอาชีพหลักของชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ที่ 9 บ้านต้นตาล หมู่ที่ 10 บ้านต้นนา และ หมู่ที่ 11 บ้านต้นตาล จะปลูกชะอมเป็นหลัก

ซึ่งเมื่อปลูกได้ระยะ 2 เดือน ก็เริ่มมีผลผลิตให้ได้เก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว 4วัน/ครั้ง 1 เดือน ประมาณ 7 ครั้ง ในแต่ละครั้งสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 250 กรัม/ครั้ง 1 เดือน สามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1,750 กรัม เพราะฉะนั้นกำละ 7 บาท จะมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 12,200 บาท/เดือน

ชะอม เป็นผักขวัญใจมหาชนแถมยังเป็นวัตถุดิบที่สร้างความอร่อยให้กับอาหารไทยอีกหลายเมนูเลยทีเดียว เช่น แกงส้มชะอมกุ้ง หรือผัดวุ้นเส้นยอดชะอม เป็นต้น ถ้าอยากมีชะอมติดบ้านไว้กินตลอดปี มาดูวิธีปลูกชะอมที่กระปุกดอทคอมนำมาฝากกันในวันนี้ค่ะ ได้แก่ การปลูกด้วยเมล็ดและการปลูกชะอมแบบปักชำ ใครถนัดปลูกชะอมแบบไหน ก็นำวิธีของเราไปใช้ได้ตามสบายเลย

การปลูกชะอมด้วยเมล็ด

อุปกรณ์

- เมล็ดชะอมที่สมบูรณ์

-กะละมังแช่เมล็ด

-กระถางขนาดเล็กหรือถุงเพาะต้นกล้า

-กระถางปลูกขนาดใหญ่

-ดินร่วน ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยยูเรีย

วิธีปลูก

1. แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำลำดับแรกของการปลูกชะอมด้วยเมล็ดนั้น เราจะต้องนำเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาไปแช่น้ำไว้ 1 วันกับอีก 1 คืน เพื่อดูว่าเมล็ดไหนใช้ได้บ้าง ถ้าเป็นเมล็ดที่แข็งแรงและพร้อมปลูกจะปริออกเล็กน้อยหลังจากแช่น้ำ แต่ถ้าเมล็ดไหนไม่ปริเปลือกออกแสดงว่าไม่สมบูรณ์ให้ช้อนทิ้งไป

2. ลงเมล็ดชะอมในในกระถางเพาะกล้าเมื่อเราได้เมล็ดที่แตกตัวพร้อมปลูกมาแล้ว ให้เตรียมกระถางเพื่อปลูกต้นกล้าโดยการใส่ดินร่วนปนทรายที่ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก และนำเมล็ดมาฝังลงผิวดินไม่ต้องกลบจนมิด ประมาณ 2 เมล็ด รดน้ำวันละครั้ง อย่าให้แฉะจนเกินไป

3. ย้ายต้นกล้ามาปลูกกระถางใหญ่ เพียงไม่กี่วันเราจะได้เห็นต้นกล้าชะอมน้อย ๆ โผล่ขึ้นมาแล้ว จากนั้นก็ย้ายต้นกล้าชะอมลงมาปลูกในกระถางใหญ่ ใส่ปุ๋ยคอก และรดให้ชุ่มแต่อย่าแฉะ

การปลูกชะอมแบบปักชำ

อุปกรณ์

- กิ่งชะอมที่สมบูรณ์

-กรรไกรต้นไม้

-กระถางขนาดเล็ก หรือถุงเพาะต้นกล้า

-กระถางปลูกขนาดใหญ่

-ดินร่วน, ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยยูเรีย, แกลบ และขี้เถา

วิธีปลูก

1. คัดเลือกกิ่งที่ดีไปปักชำถ้าจะปลูกชะอมด้วยวิธีการปักชำให้เลือกกิ่งชะอมที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค ต้องไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป มีตาติดอยู่ในกิ่งประมาณ 3-4 ตา จากนั้นตัดกิ่งออกมาให้ได้ความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร

2. ปักลงดินให้แตกรากเมื่อได้กิ่งที่พร้อมแล้วให้นำไปปักลงในกระถางหรือถุงเพาะกล้าที่มีดินผสมแกลบ ขี้เถ้า และปุ๋ยคอก รดน้ำวันเว้นวันให้ชุ่มแต่อย่าแฉะ ต้นกล้าชะอมจะแตกยอดและออกรากใหม่ให้เรานำไปปลูกลงในกระถางใหญ่อีกครั้ง

วิธีการดูแล

หลังจากที่เราลงมือปลูกชะอมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนของการดูแลซึ่งต้องรดน้ำสม่ำเสมอทุกวันในตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือน ต้นชะอมแข็งแรงขึ้นก็ให้เปลี่ยนมารดน้ำแบบวันเว้นวันแทน เพื่อป้องกันโรครากเน่านั่นเอง ใส่ปุ๋ยยูเรียไปพร้อม ๆ กับปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกเพื่อกระตุ้นให้ชะอมแตกยอด หมั่นพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืชให้สิ้นซาก และที่สำคัญต้องไม่ลืมตรวจสอบคุณภาพดินให้ระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำขังอีกด้วย

สิ่งสำคัญที่ควรระวัง

แม้ชะอมจะเป็นไม้เลื้อยที่ปลูกง่ายโตง่ายก็ตาม แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องโรครากเน่าให้เราต้องระวังเป็นพิเศษ ทางที่ดีควรจะเลือกปลูกชะอมในช่วงฤดูร้อนไปเลยเพื่อประคับประคองให้ต้นอ่อนแข็งแรงพอที่จะไม่เสี่ยงต่อโรครากเน่า และพร้อมเผชิญหน้ากับฤดูฝนต่อไป ส่วนปัญหาศัตรูพืชก็ไม่ต้องกังวลอะไรมากนัก แต่อาจจะมีหนอนกินยอดและมดแดงบ้างเล็กน้อย ให้นำน้ำดองหน่อไม้ราดลงไปที่รังของมันก็จะช่วยกำจัดศัตรูพืช

ระยะเวลาเก็บเกี่ยว

ชะอมถือว่าเป็นผักที่ไม่ต้องใช้เวลานานในการเก็บเกี่ยวเท่าพืชผักอื่น ๆ เพียงแค่ 3-4 เดือน