แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งเรียนรู้ ของตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน  มีหลายอย่าง อาทิ

1. โครงการลุ่มน้ำแ่ม่อาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

2.วัดม่อนมะหินศิลาราม

3.วัดสุวรรณวิหาร

4.อ่างเก็บน้ำแม่วังส้าน

 

อ่างเก็บน้ำแม่วังส้าน ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง


          ประวัติ : อ่างเก็บน้ำแม่วังส้าน ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง ห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซางไปตามทางหลวงหมายเลข 106 ประมาณ 13 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 30 และ 31 ถึงทางแยกเข้าบ้านโป่งรู เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตรถึงอ่างเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำ หนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ   มีทิวทัศน์สวยงามมองเห็นภูเขาล้อมรอบ มีเรือนแพให้พักผ่อน สามารถตกปลาและกางเต็นท์ได้ สำหรับให้นักท่องเที่ยวพักผ่อนและมีร้านอาหารกลางน้ำและมีทิวทัศน์ที่สวยงาม ร้านอาหารสะอาดไม่อยู่ในเขตเมือง หรือเขตชุมชน มีทิวทัศน์สวยงามมองเห็นภูเขาล้อมรอบ มีเรือนแพให้พักผ่อน สามารถตกปลาและกางเต็นท์ได้อ่างเก็บน้ำแม่วังส้าน ตั้งอยู่หลังโรงพยาบาลป่าซาง มีป้ายบอกทางชัดเจน การเดินทาง ไม่ว่าจะเดินทางออกจากเมืองลำพูน หรือทางเลี่ยงเมืองลำพูน เมื่อท่านไปถึงสี่แยกสะปุ๋ง ให้ไปตามทางไปอำเภอบ้านโฮ่ง ประมาณ 9 กิโลเมตร ผ่านโรงพยาบาลป่าซาง อีก 2 กิโลเมตรแล้วเตรียมดูป้ายบอกทางทางด้านซ้ายมือ เลี้ยวเข้าถนนท้องถิ่น ลพ.4016 อีก 3.5 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่สันเขื่อนของอ่างเก็บน้ำ ให้ไปตามสันเขื่อนจะอยู่อีกฝั่งหนึ่ง

 

 ที่ตั้ง : ตำบลนครเจดีย์ อ.ป่าซาง จังหวัดลำพูน

  วัดม่อนมะหินศิลาราม 

        ตั้งอยู่เลขที่ 126 หมู่ที่ 4 บ้านปางกอตัน ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 200 ไร่ น.ส. 3  อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 20 เส้น ทิศใต้ประมาณ 10 เส้น ทิศตะวันออก ประมาณ 20 เส้น จดถนนสายแม่แว- ทุ่งหัวช้าง ทิศตะวันตกประมาณ 10 เส้น จดป่าสงวน

อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และศาลาเอนกประสงค์ ปูชนียวัตถุมี พระประธานเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปหินแกะสลักลงรักปิดทอง และเจดีย์


       สร้างเมื่อ พ.ศ. 2100 เดิมเป็นวัดร้างในปี พ.ศ. 2483 ท่านครูบาพรหมา พรหฺมจกฺโก ได้เดินธุดงค์มาพบเข้ามีสภาพเป็นวัดร้างปกคลุมไปด้วยหญ้าและต้นไม้   ท่านได้พักอยู่ระยะหนึ่งจึงเห็นสมควรบูรณะปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างที่ทรุดโทรม จึงได้ปรึกษากับกำนันบุญเลา ณ ลำพูน ผู้ใหญ่เป็ง ปราบผาง  พร้อมด้วยศรัทธาประชาชนช่วยกันบูรณะขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร

***ดสุวรรณวิหาร ***

        ตั้งอยู่ที่บ้านแม่อาว ถนนสายลำพูน-ลี้ หมู่ที่ 3 ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 30 ไร่  อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 120 วา จดถนนสาธารณะ ทิศใต้ประมาณ 120 วา จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออก 100 วา จดถนนสายลำพูน-ลี้ ทิศตะวันตกประมาณ 120 วา จดถนนสาธารณะ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 23 ไร่น.ส. 3 ก เลขที่ 848 และ 875

        อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอไตร อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม และโรงครัว ปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถสร้างด้วยทองเหลือง พระพุทธรูปศิลปเชียงแสนอายุประมาณ 400 ปี กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ และได้อนุรักษ์บ้านเก่าศิลปล้านนา อายุประมาณ 200 ปี


       ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อ พ.ศ. 2512 ทั้งนี้เนื่องจากพระมหาเขื่อนคำ อตฺตสนฺโต (พระครูเวฬุวันพิทักษ์) ได้รับคำขอร้องจากชาวบ้านว่าอยู่ไกลวัดการไปมาทำบุญลำบาก จึงได้ทำการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยมีนายบุญยัง แสงไทร พร้อมด้วยคณะศรัทธา ได้ซื้อที่ดินจากนางพริ้ง อินทราศรี ถวายเป็นที่สร้างวัดและเป็นผู้อนุญาตจั้งวัด กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2513 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร

การบริหาร และการปกครอง

     มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือรูปที่ 1 พระครูเวฬุวันพิทักษ์ พ.ศ.  2512 - 2528 รูปที่ 2 พระมหาองอาจ จนฺทวโส ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ. 2520 แผนกบาลี เปิดสอน พ.ศ. 2520 นอกจากนี้ได้จัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เมื่อ พ.ศ. 2525 ห้องสมุด และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล

       *****โครงการลุ่มน้ำแม่อาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ*****

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่อาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดลำพูน


พระราชดำริ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

แนวพระราชดำริ   เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพพื้นที่ บริเวณที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่อาวน้อย ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดยมีพลโทไพโรจน์ จันทร์อุไร แม่ทัพภาคที่ 3 นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. และ นายปราโมทย์ ไม้กลัด ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านให้คำ ปรึกษาการจัดสรรน้ำและปรับปรุงบำรุงรักษาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ และถวายรายงาน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน พระราชดำริต่อกรมป่าไม้โดยสรุป ดังนี้

                "ให้กรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการจำแนกประเภทป่าเสื่อมโทรมบริเวณที่ราบ ยังมีคุณภาพดี เพื่อจัดสรรให้ราษฎร ที่ไม่มีที่ทำกินได้เข้าอยู่เป็นการถาวร จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาการบุกรุกทำลายป่า ส่วนพื้นที่ดอย พื้นที่เนินสูงหรือภูเขาต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ ที่ดินมีคุณภาพไม่ดี และเสียสภาพป่า ให้ดำเนินการปลูกป่าทดแทน" 

ที่ตั้งของโครงการ :  โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ห่างจากอำเภอเมือง 20.5 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอป่าซาง 7.1 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 127,058 ไร่ เป็นเนื้อที่อยู่ในเขตอำเภอป่าซาง 122,058 ไร่ และอยู่ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง 5,000 ไร่ มีราษฎรอาศัยและทำมาหากินในเขตพื้นที่โครงการ ทั้งหมด 5,652 ครัวเรือน 20,046 คน 


วัตถุประสงค์โครงการ :

                1. อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยการป้องกันรักษาและควบคุมไฟป่า
                2. ปลูกเสริมป่า และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
                3. ส่งเสริมการปลูกไม้ใช้สอยชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร
                4. จัดทำแนวเขตป่าอนุรักษ์ในพื้นที่โครงการให้ชัดเจน

หน่วยงานผู้ดำเนินงาน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง :  หน่วยงานดำเนินการประกอบด้วย กรมป่าไม้, ส.ป.ก.,กรมชลประทาน, กรมส่งเสริมสหกรณ์,กรมพัฒนาที่ดิน ฯลฯ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นหน่วยงานกลาง ในการประสานงาน 

ผู้ได้รับประโยชน์ :  ครอบคลุมราษฎร 2 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 6 ตำบล 27 หมู่บ้าน ดังนี้
                                      อำเภอป่าซาง                     4 ตำบล 23 หมู่บ้าน
                                      อำเภอบ้านโฮ่ง                   1 ตำบล 1 หมู่บ้าน
                                      กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง       1 ตำบล 3 หมู่บ้าน


ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ :  

การดำเนินโครงการที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ดังนี้

                           ทรัพยากรน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการอุปโภคบริโภค ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ปรับปรุงแหล่งน้ำโดยการขุดลอกหนองน้ำ คู คลองธรรมชาติ สร้างฝาย จัดทำระบบท่อผันน้ำจากฝายไปสู่อ่างเก็บน้ำเพื่อเป็นการสนับสนุนแหล่งน้ำต้นทุน ขุดสระทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก รวมทั้งได้จัดหาแหล่งน้ำใต้ดิน โดยการเจาะน้ำบาดาล และจัดทำประปาหมู่บ้าน

                  ทรัพยากรป่าไม้ ป้องกันรักษาป่า ประชาสัมพันธ์เพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ พัฒนาแหล่งนันทนาการทางธรรมชาติให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว สนับสนุนกิจกรรมการปลูกป่า เพาะชำกล้าไม้ พัฒนาระบบเกษตร และป่าไม้ เป็นต้น 

                       รัพยากรที่ดิน ปฏิรูปที่ดิน สำรวจรังวัด และจัดสรรที่ดินให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์ พร้อมทั้งมีการติดตามการทำประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร ในส่วนงานพัฒนาที่ดิน ได้จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำพร้อมกับการปรับปรุงดินควบคู่กันไป และยังจัดอบรมเกษตรกรเรื่องการพัฒนาที่ดินอีกด้วย 

                          เส้นทางคมนาคมและสาธารณูปโภค ก่อสร้างถนนลาดยาง ถนนลูกรัง เพื่อใช้ในการเดินทางและขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาด ก่อสร้างถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านและเข้าไปพื้นที่สวนเกษตร มีการขยายเขตไฟฟ้า และติดตั้งหมายเลขโทรศัพท์ให้แก่หมู่บ้านในเขตพื้นที่โครงการ

                          พัฒนาอาชีพ ส่งเสริมโครงการเคหกิจการเกษตร การปลูกขยายพันธุ์พืช จัดกิจกรรมประมงโรงเรียน ประมงหมู่บ้าน เลี้ยงวัว เลี้ยงสัตว์ปีกทั้งในครัวเรือนและโรงเรียน จัดฝึกอบรมเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ ตัดเย็บเสื้อผ้า จักสาน ศิลปะประดิษฐ์ ฝึกอบรมด้านการตลาด เป็นต้น

                    ารพัฒนาสังคม สร้างที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน สนับสนุนอาหารเสริม (นม) อาหารกลางวันแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จัดอุปสมบทพระภิกษุและสามเณรภาคฤดูร้อน จัดบริการสาธารณสุขในสถานบริการ สาธารณสุขมูลฐาน กิจกรรมพัฒนาเยาวชน เป็นต้น

                        การบริหารโครงการ งานอำนวยการและบริหารโครงการ ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ รวมทั้งจัดสัมมนาและทัศนศึกษาแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผู้นำหมู่บ้านในเขตพื้นที่โครงการ 


ความสำเร็จของโครงการ

                 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การดำเนินงานโครงการมีความครบถ้วนสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม อาทิ การพัฒนาทรัพยากรน้ำทั้งแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน สภาพป่าไม้ดีขึ้น พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ไม่มีไฟป่าในบริเวณพื้นที่โครงการ เพราะความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่โครงการที่ช่วยกันป้องกัน รักษา และอนุรักษ์สภาพป่าไม้ ผลของการพัฒนาทรัพยากรน้ำและป่าไม้ ส่งผลให้ดินได้รับการฟื้นฟูตามมา ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรทุกๆ ด้านเกิดตามขึ้นมาอย่างเป็นวงจรและส่งเสริมกันอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การพัฒนาอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตร รวมทั้งการพัฒนาสังคม


อ้างอิงจาก

https://www.rdpb.go.th/rdpb/visit2/100project/100project_36_1.html