แหล่งเรียนรู้

  ศูนย์เรียนรู้การเกษตรทฤษฎีใหม่ (นายบุญแทน  เหลาสุพะ)

ศูนย์เรียนรู้การเกษตรทฤษฎีใหม่ (นายบุญแทน  เหลาสุพะ)

โดยมีนายบุญแทน  เหลาสุพะ  เจ้าของศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่  เป็นสวนเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่น  มีการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ  ปลูกพืชผักผลไม้ในสวนเพื่อรับประทานในครัวเรือนและจำหน่ายให้คนในถ้องถิ่น โดยพืชผักที่ปลูกล้วนเป็นผักผลไม้ปลอดสารเคมี  เพราะสวนแห่งนี้ปุ๋ยอินทรีย์ที่จัดทำขึ้นเอง  รวมถึงสารบำรุงดอกและใบ  สารกำจัดศัตรูพืชก็จัดทำขึ้นจากวัถุดิบธรรมชาติทั้งสิ้น  “แต่ก่อนเคยปลูกฝ้าย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ใช้ยาตลอด (ยาฆ่าแมลง) พอตรวจร่างกาย มีสารพิษตกค้างมาก จึงเลิกใช้สารเคมี ทุกวันนี้ยังมีสารตกค้างอยู่เลย แต่น้อยกว่าแต่ก่อน” เริ่มด้วยการซื้อต้นละมุดมาปลูก 1 ต้น และค่อยๆ จัดสรรแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชุมชน (รพช.) มาขุดสระเก็บน้ำให้ ปัจจุบันมีพืชสวนร่วม 23 ชนิด เช่น ละมุด มะละกอ ลำไย มะกอกน้ำ ส้มโอ มะม่วง กล้วย และมะพร้าว มีพืชสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้ ไหลแดง หนอนตายยาก และใบแมงลัก พืชผักสวนครัว 6 ชนิด เช่น พริก หอมแดง กระเทียม และมะนาว พืชไร่ 2 ชนิด คือ ข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชทุกชนิดล้วนปลอดภัยไร้สารพิษ จากการตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพดังกล่าว ประกอบกับการทำพืชไร่เชิงเดี่ยว มีต้นทุนสูงและประสบภาวะขาดทุน นายบุญแทนจึงสนใจปลูกพืชชนิดอื่นๆ ประกอบกับในปี 2544 ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมการทำเกษตรผสมผสาน จากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) กระทรวงมหาดไทย และได้รับความรู้ด้านการขยายพันธุ์พืชและการทำน้ำหมักชีวภาพจากสำนักงานเกษตรจังหวัดเลยและเทศบาลตำบลนาดินดำ ซึ่งเป็นฐานความรู้ที่นายบุญแทนมีความเชี่ยวชาญมาจนทุกวันนี้

ผลสำเร็จจากการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่จำนวน 25 ไร่ โดยจัดสรรพื้นที่ ดังนี้

นาข้าว จำนวน 4 ไร่ พันธุ์ข้าว กข 8 ผลผลิตเฉลี่ย 450 กิโลกรัม  ต่อไร่ ปลูกปีละ 1 ครั้ง และเปลี่ยนพันธุ์ปลูก 2 ครั้งต่อปี เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าว เมื่อหมดฤดูกาล ทำนา จึงปลูกพืชไร่หมุนเวียน เช่น แตงกวา ฟักทอง  หรือพืชผักสวนครัวต่างๆ

แหล่งน้ำ 

เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ โดยมีบ่อขนาด 20 x 40 x 2 เมตร จำนวน 5 บ่อ  และบริหารจัดการน้ำโดยใช้ภูมิปัญญาในการวางระบบท่อน้ำตามความลาดเทของภูมิประเทศ เพื่อให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ให้มีน้ำในบ่อตลอดทั้งปี ต่อมา  ในปี 2544 ได้รับการสนับสนุนการขุดสระจากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท

อีกจำนวน 4 สระ โดยใช้แรงงานครอบครัวและเครื่องจักรจากหน่วยงานช่วยขุด

รางวัลความสำเร็จ

รางวัลความสำเร็จ  ปี พ.ศ.2552  

รางวัลรองชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  การประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ครั้งที่ 2 ประเภทเกษตรกรทฤษฎีใหม่  สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ  เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

รางวัลชนะเลิศการประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพไร่นาสวนผสมดีเด่น ระดับจังหวัด กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

รางวัลที่ได้รับ  นายบุญแทน  เหลาสุพะ  ได้รับประกาศนียบัตรภูมิปัญญาท้องถิ่น สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย ปี พ.ศ.2558 


สถานที่ตั้ง บ้านเลขที่ 222 หมู่ที่ 10 บ้านห้วยม่วง  ตำบลนาดินดำ  อำเภอเมืองเลย  จังหวัดเลยโทรศัพท์มือถือ  083-3460287


กรณีเนื้อหาเขียนด้วยตนเอง  ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย  นางสาวิตรี  วาที

                                     ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดยนาง

กรณีเนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์  ข้อมูลเนื้อหา โดย นายบุญแทน  เหลาสุพะ

                         เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวิตรี  วาที                                    

                             ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวิตรี  วาที