คลังสื่อการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ 



                                                    สำนักงาน กศน.จังหวัดฉะเชิงเทรา

 นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงาน กศน. ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ                                                                                                                          (รายละเอียด คลิก)

                  สำนักงาน กศน. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมหลักเกี่ยวกับผู้สูงอายุ   ที่เป็นจุดเน้นการดำเนินงาน มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560  โดยดำเนินการ  ใน 3 ส่วน ได้แก่

                 ส่วนที่ 1 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับกลุ่มเป้าหมาย          ผู้สูงอายุ เป็นการสร้างกิจกรรมเรื่องการเรียนรู้ให้แก่ผู้สูงอายุ  ให้เรียนรู้       ในเรื่องของการทำอาหารเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายต่างๆ ในลักษณะของการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีวัตถุประสงค์  เพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่ในสภาพ     ติดสังคม เพราะฉะนั้นจึงกำหนดให้มีการสร้างการเรียนรู้ที่ กศน.ตำบล       ทุกพื้นที่

                ส่วนที่ 2 กิจกรรมที่จะให้ผู้สูงอายุมาช่วยงานทางสังคมในเชิงคลังสมอง เป็นผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาและประสบการณ์ และร่วมสร้างการเรียนรู้ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ ต่อการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน

                ส่วนที่ 3  สำนักงาน กศน. จังหวัด ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข   จัดอบรมหลักสูตร Care Giver หรือหลักสูตรผู้ดูแล  ผู้สูงอายุ โดยจัดขึ้น    เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มีสภาพร่างกายการ  ติดบ้าน ติดเตียง มีวัตถุประสงค์  ในการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับเยาวชน และประชาชน ซึ่งถือเป็นอาชีพขาดแคลนและ เป็นที่ต้องการของสังคม โดยนำหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาใช้ 2 หลักสูตร หลักสูตร 420 ชั่วโมง และหลักสูตร 70 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

             ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและศักยภาพทรัพยากรมนุษย์  ข้อ 3.8 ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ  โดยเสริมสร้างการจัดกิจกรรมให้กับประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักถึงการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) มีความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัย รวมทั้งเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน พัฒนาการจัดบริการการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับประชาชนในการเตรียมความพร้อม  เข้าสู่วัยสูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุภายใต้แนวคิด “Active Aging” การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาทักษะชีวิตให้สามารถดูแลตนเองทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต และรู้จักใช้ประโยชน์   จากเทคโนโลยี สร้างความตระหนัก ถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญา  ของผู้สูงอายุ และให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านต่างๆ ในชุมชน เช่น ด้านอาชีพ กีฬา ศาสนา และวัฒนธรรม  ตลอดจนจัดการศึกษาอาชีพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ

ชุดความรู้สำหรับครู กศน. ด้านการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ 

 ชุดความรู้      การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับ  ผู้สูงอายุที่เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นชุดความรู้ประกอบการพัฒนาสมรรถนะครู กศน. ด้านการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับผู้สูงอายุที่เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยกระบวนการนิเทศ SIPDEC+N 

                           ครู กศน. สามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้ไปปรับใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ออกแบบจัดกิจกรรม        การเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ  ชุดความรู้ มีทั้งหมด 5 ชุด ดังนี้

                          ชุดที่  1  สังคมผู้สูงอายุและการเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ          

                           ชุดที่  2  สุขภาพกาย สุขภาพใจของ ผู้สูงอายุ                       

                          ชุดที่  3  การเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในสังคม         

                          ชุดที่  4  ความมั่นคง ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตของ ผู้สูงอายุ                       

                          ชุดที่  5 การเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับ   ผู้สูงอายุ

                          จุดมุ่งหมายของ   ชุดความรู้เพื่อให้ครู กศน. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมผู้สูงอายุและการเสริมสร้างสังคม     แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ แนวคิด หลักการ  วิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุที่เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในสังคม ผู้สูงอายุมีความมั่นคง ปลอดภัย     ในการดำเนินชีวิต และการเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เนื้อหาต่าง ๆ เหล่านี้ จะทำให้ครู กศน. สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ และหรือผู้สูงอายุ ผู้สนใจอื่น ๆ สามารถนำความรู้ ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมและการดำเนินชีวิตของ       

ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คลิกที่เล่มเพื่อศึกษาราละเอียด

 คู่มือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ  

 คู่มือการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ                                                                              

           คู่มือจัดกิจกรรมการเรียน เป็นตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับผู้สูงอายุของหน่วยงานต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้      ครู กศน. หรือผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ครอบคลุมเนื้อหาความรู้ตามความต้องการจำเป็นและมีความสำคัญต่อครู กศน. ด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียน ผู้รับบริการและจัดการเรียนรู้ให้กับผู้สูงอายุ ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของผู้สูงอายุ และบริบทพื้นที่

 คลิกที่เล่ม เพื่อศึกษาราละเอียดและคู่มือเล่มอื่นๆเพิ่มเติม

ความหมายของผู้สูงอายุ                                             (รายละเอียด คลิก)

ผู้สูงอายุ  หมายถึง  ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในวัยนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทางอารมณ์และทางสังคม จึงเป็นวัยที่คนส่วนมากกลัว ดังนั้นการได้เข้าใจ  ถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งบุตรหลานหรือผู้ใกล้ชิด  มีส่วนสำคัญมากในการช่วยให้ท่านปรับตัวได้อย่างมีความสุข

การปรับตัวให้มีความสุขให้วัยสูงอายุ

1.  เตรียมใจยอมรับความรู้สึกสูญเสีย ซึ่งเป็นธรรมชาติของ วัยนี้ เช่น สูญเสีย สมรรถภาพทางกาย ลูกหลานจากไปมีครอบครัว บางครั้งก็ต้องอยู่ตามลำพังคนเดียว

2. ไม่ควรคิดถึงอายุซึ่งลวงเลยไป หรืออดีตด้วยความวิตกกังวล

3. อย่าคิดว่าอายุทำให้คนอื่นเลิกเคารพตัวท่าน

4. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาขอคำแนะนำจากคนอื่นบ้าง

5. ไม่ควรจริงจังกับชีวิตมากนัก ดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลาง

6. ดูแลสุขภาพอนามัยให้ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีโปรตีนปานกลาง ไขมันน้อย วิตามินมาก ปริมาณต้องจำกัด

7. การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง

8. ควรมีการพักผ่อนหย่อนใจและทำงานอดิเรกเล็กๆน้อยๆเพื่อความเพลิดเพลินใจ เช่น ปลูกต้นไม้ ไปวัดทำบุญศึกษาและปฏิบัติธรรม

9. ในขณะที่ยังทำงานมีรายได้ก็ควรออมทรัพย์ไว้เพื่อจุนเจือใช้จ่ายในวัยสูงอายุจะได้ ไม่ลำบาก และไม่เป็นภาวะแก่ผู้อื่น จะได้พึ่งตนเองได้

10. ไม่เก็บตัว แยกตัวอยู่ตามลำพังคนเดียว

11. ควรร่วมวงสนทนากับเพื่อนๆและผู้อื่นที่มีอายุอ่อนกว่าจะช่วยทำให้สังคมของผู้สูงอายุกว้างมากขึ้น และยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในสังคม ช่วยให้ปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีความสุข ไม่คับข้องใจมากนัก

12. การยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ ประพฤติปฏิบัติตัวให้ถูกกาลละเทศะและเหมาะสมกับอายุ

13. ไม่ทำตนให้เป็นที่รำคาญแก่ลูกหลานหรือผู้อื่น ไม่จู้จี้ขี้บ่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้อื่นและ ลูกหลานรู้สึกอบอุ่นและอยากเข้ามาใกล้ชิด

14. ทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ รู้จักสร้างอารมณ์ขัน

     ลูกหลานญาติพี่น้อง มีส่วนสำคัญยิ่งในการช่วยให้ผู้สูงอายุปรับตัวได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น โดยให้เกียรติแก่ผู้สูงอายุ และช่วยให้ท่านมีความภาคภูมิใจ เช่น เวลามีปัญหาอาจไป ขอคำปรึกษาจากท่าน ไม่ดูถูกเหยียดหยามท่าน ให้การเลี้ยงดูและดูแลท่าน คอยถามไถ่เวลาท่านไม่สบายพาไปหาหมอ ช่วยดูแลจนหายจากเจ็บไข้ ท่านจะได้รู้สึกว่าตนเองยังมีความสำคัญต่อครอบครัวยังมีคนห่วงใยคอยดูแลอยู่ทำให้ท่านรู้สึกอบอุ่นใจ และสามารถที่จะต่อสู้กับชีวิตในวัยสูงอายุได้ดีขึ้น

    ในปัจจุบันรัฐบาลและสังคมได้ให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุมาก โดยได้จัดให้วันที่ 13 เมษายน เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของท่านที่ได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคมมาช้านาน โดยการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้นตามภาคต่างๆ บริการด้านสาธารณสุข แก่ผู้สูงอายุ คือให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปฟรีโดยไม่คิดมูลค่าและส่งเสริมให้โรงพยาบาลต่าง ๆ จัดตั้งบริการคลินิกผู้สูงอายุขึ้น บริการตรวจสุขภาพฟรี และชุมนุมผู้สูงอายุเพื่อให้ความรู้ให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

     จะเห็นว่าสังคมไม่เคยทอดทิ้งผู้สูงอายุเลย และเห็นความสำคัญของท่านมาก ฉะนั้นจงมีความภาคภูมิใจในความมีอายุของท่านเถิด ส่วนลูกหลานก็ควรแสดงความกตัญญูต่อผู้สูงอายุโดยการเลี้ยงดูเอาใจใส่ดูแลท่าน ก็จะช่วยให้ท่านปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้อย่างมีความสุข ส่วนผู้สูงอายุก็ควรทำตนให้เป็นที่เคารพรักของลูกหลานให้ความอบอุ่นใจ ความสบายใจแก่ลูกหลานด้วยการไม่สร้างความลำบากใจให้แก่ลูกหลาน ไม่จู้จี้ขี้บ่น ไม่เรียกร้องความสนใจและความเอาใจใส่มากเกินไป พยายามช่วยเหลือตัวเองเท่าที่จะทำได้ ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุและลูกหลานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข   

 

อัพเลเวล...อาชีพใหม่ให้ผู้สูงวัย โครงการสูงวัยใจสมาร์ท.mp4

สถานการณ์ผู้สูงอายุ                                             (รายละเอียด คลิก)

สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย

องค์การสหประชาชาติได้ประเมินสถานการณ์ว่า ปี พ.ศ. 2544-2643 (ค.ศ.2001-2100) จะเป็น “ศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ” หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกโดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรโลก จึงทำให้เป็นประเด็นที่แต่ละประเทศจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมและจัดทำแผนรองรับสถานการณ์ดังกล่าว

       การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรไทยมีมาอย่าง

ต่อเนื่องอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านสาธารณสุขและเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของคนไทยยืนยาวขึ้น 

ผู้สูงอายุจึงเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการเกิดลดลงอย่างรวดเร็ว 

ทำให้เกิดสภาพปัญหาที่ตามมาคือ ประชากรวัยทำงานลดลง 

ซึ่งประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548  และจากข้อมูลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีอัตราส่วนประชากรผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งสิ้นร้อยละ 16.70 รวมทั้งจากการประมาณการของสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ คือมีคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20 % 

       รัฐบาลได้กำหนดให้สังคมผู้สูงอายุเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีการกำหนด มาตรการในการสร้างระบบดูแลช่วยเหลือ คุ้มครอง พัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจผู้สูงอายุ ที่มีมาตรฐานระดับสากลและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการบูรณาการ ในการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมและนำนวัตกรรมมาใช้เพื่ออำนวยความสำเร็จในการที่จะให้ผู้สูงอายุ 

ที่มีศักยภาพเข้ามามีส่วนพัฒนาเศรษฐกิจ ใช้นวัตกรรมในการสร้างมาตรฐานด้านการดูแลผู้สูงอายุ การจ้างงาน ผู้สูงอายุ 

การถ่ายทอดภูมิปัญญาจากผู้สูงอายุ พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้สูงอายุให้เป็นเชิงบวก ภายใต้นโยบายของรัฐบาล (คณะกรรมการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ

และผู้ด้อยโอกาสสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. 2561: 1-13)

 สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 จัดทำโดยกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่า ภาพรวมประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้น 66,558,935 คน มีผู้สูงอายุ 11,136,059 คน คิดเป็นร้อยละ 16.73 %  ในส่วนของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีประชากร 720,113 คน มีผู้สูงอายุ 121,318 คน คิดเป็นร้อยละ 16.85 % ซึ่งอยู่ในระดับของการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) 

สถานการณ์ผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา


             เมื่อพิจารณา 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2560-2563) สัดส่วนของผู้สูงอายุของจังหวัดฉะเชิงเทรา มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 16.14 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 17.17 ในปี 2562 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-18 ปี) 

มีแนวโน้ม ลดลง และกลุ่มอายุ 19 - 59 ปี มีจำนวนค่อนข้างคงที่ จึงเรียกได้ว่า เป็น “สังคมผู้สูงอายุ” คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้น ในในพื้นที่ ต่อจำนวนประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกันในอัตรามากกว่าร้อยละ 10 ซึ่งเข้าใกล้ความเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” (มีอัตราส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรทุกกลุ่มอายุ มากกว่าร้อยละ 20) มากขึ้นทุกที จำนวนผู้สูงอายุที่มีงานทำ จากการวิเคราะห์สถานการณ์และศักยภาพจังหวัดฉะเชิงเทราและการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร สำนักงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา สำรวจผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 139,252 คน มีผู้สูงอายุที่ มีงานทำ 29,309 คน หรือร้อยละ 21.05 เท่านั้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะไม่ได้ทำงาน โดยมีจำนวน 109,943 คน หรือร้อยละ 78.95 ของผู้สูงอายุทั้งจังหวัด ทั้งนี้ ในกลุ่มที่ไม่ได้ทำงาน ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะความชรา ร้อยละ 64.92 ทำงานอยู่ที่บ้าน

ร้อยละ 23.68 เกษียณ ร้อยละ 7.72 และป่วยหรือพิการ ร้อยละ 2.72




Fullสารคดีสูงวัยใจสมาร์ทสำนักงานกศน.จังหวัดฉะเชิงเทรา.mp4

เป้าหมายการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ  

                                                                                                              (รายละเอียด คลิก)

            เป้าหมายในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ แบ่งออกเป็น 3 เรื่องใหญ่ ๆ ดังนี้

รัฐบาลโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศ   จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อเสริมสร้างพัฒนาผู้สูงอายุ ตามแนวคิด แนวทางขององค์การสหประชาชาติ โดยมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 3S เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพ มีศักยภาพ เป็นผู้สูงอายุที่เป็นพฤติพลัง (Active Ageing) ประกอบด้วย

สำนักงานวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์

 มีความคิดเห็นทำนองเดียวกับองค์การอนามัยโลกที่มีเป้าหมาย ผู้สูงอายุพึ่งตนเองได้

การจัดกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงสมรรถนะทางกาย จิต และสมองของผู้สูงอายุ.mp4

เหตุผลความสำคัญจำเป็นในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ                                                                              (รายละเอียด คลิก)

      สังคมไทยในปัจจุบันก้าวเข้าสูงสังคมยุคดิจิทัลเป็นสังคมที่มีความแตกต่างจากสังคมไทยในสมัยก่อนเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว       มีการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีนวัตกรรมใหม่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีความสะดวกสบาย อำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร การแพทย์ การเกษตร การทำธุรกรรมทางการเงิน รวมทั้งมีช่องทาง สื่อ ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทำให้มีโอกาสในการเรียนรู้ศึกษาข้อมูลได้อย่างกว้างขวางหลากหลาย รวมทั้งส่งผลต่อการประกอบอาชีพ การมีรายได้ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตทั้งสิ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ เห็นการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดังนั้น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อปรับตัวและหรือพัฒนาตนเองให้สามารถดำเนินชีวิต ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในสังคมใหม่ๆ กิจวัตรประจำวันที่แตกต่างจากเดิม รวมทั้งสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น

ผู้สูงอายุ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งด้านร่ายกาย จิตใจ อารมณ์  สถานภาพทางด้านสังคม การทำงาน ที่เปลี่ยนแปลงไป สภาวะสุขภาพที่เสื่อมถอย วิถีการใช้ชีวิตก็เปลี่ยนไป รวมทั้งสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การคมนาคม ความแตกต่างระหว่างช่วงวัย ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องมีการปรับตัว ปรับทัศนคติปรับทักษะ เรียนรู้ที่จะต้องนำความรู้ไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี 

        นอกจากตัวผู้สูงอายุเองที่ต้องมีการเรียนรู้เพื่อการปรับตัว บุคคลในครอบครัว บุคคลสังคมและชุมชนก็ควรมีบทบาทในการสนับสนุน เสริมสร้าง ช่วยเหลือผู้สูงอายุให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข   มีคุณภาพ ลดภาวะพึ่งพิงและมีความสุข 





9convert.com - สงวยใจแซบ Ep 32 สทธผสงอาย มอะไรบาง เชกเลย.mp4

 ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้สูงอายุ สำนักงาน กศน.จังหวัดฉะเชิงเทรา

กศน. อำเภอเมือง

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอบ้านโพธิ์

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอคลองเขื่อน

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอบางน้ำเปรี้ยว

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอบางปะกง

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอบางคล้า

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอพนาสารคาม

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอท่าตะเกียบ

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอแปลงยาว

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอสนามชัยเขต

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

กศน.อำเภอราชน์สาน์น

วัน/เดือน/ปี/สถานที่จัดกิจกรรม

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่

วันที่