วัฒนธรรมล้ำค่า บายศรี

บายศรี หมายถึงเครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตองรูปคล้ายกระทงเป็นชั้นๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี คำว่า “บายศรี” เกิดจากคำสองคำรวมกันคือ “บาย” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ข้าว” และคำว่า “ศรี”เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า “มิ่งขวัญ สิริมงคล” รวมความแล้ว “บายศรี” ก็คือ ข้าวขวัญหรือข้าวที่มีสิริมงคล เราจึงพบว่า ตัวบายศรีมักมีข้าวสุกเป็นส่วนประกอบและมักขาดไม่ได้ แต่โดยทั่วไปเราจะหมายถึง ภาชนะที่จัดตกแต่งให้สวยงามเป็นพิเศษด้วยใบตองทำเป็นกระทง หรือใช้พานเงินพานทองตกแต่งด้วยดอกไม้เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาวหวานในพิธี สังเวยบูชาและพิธีทำขวัญต่างๆ

นางบุญไร อ่อนสังข์ บ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 3 บ้านซับถาวร ตำบลไทยอุดม อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สืบทอดการทำบายศรีจากครูบาอาจารย์ที่รับขันครูแม่บายศรี

และดำเนินการสืบทอดการทำบายศรีที่ใช้พิธีการต่างๆ โดยเป็นผู้ทำบายศรี

และใช้ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ ผู้ได้รับการทำพิธี

บายศรีจึงเป็นของสูง สิ่งมีค่าของไทยมาแต่โบราณ ในงานมงคลทุกงาน

จะมีพิธีที่มีบายศรีเป็นส่วนสำคัญ เป็นศาสนพิธีของศาสนาพราหมณ์

คำว่าบาย เป็นภาษาเขมร หมายถึง ข้าวสุก ศรี เป็นภาษาสันสกฤต

หมายถึง มิ่งขวัญ บายศรี จึงหมายถึง ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวย

บายศรีจะหลายขนาด และหลายชนิด



บายศรีเทพหรือบายศรีพรมหม

บายศรีปากชาม

บายศรีตอ