บทบาทหน้าที่ กศน.ตำบลสำโรง

การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ. 2552-2561) ได้ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ ตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ” กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบล ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับประชาชนเพื่อประชาชนได้ใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ กศน.ตำบล หมายถึง หน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ตั้งอยู่ในระดับตำบล/แขวง

หลักการทำงาน

หลักการทำงาน กศน. ตำบลสำโรง ยึดชุมชนเป็นฐานในการทำงานและการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนใน ชุมชน/สังคม เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินการจัดกิจกรรม กศน.ตำบลสำโรง ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชนคณะกรรมการ กศน.ตำบลสำโรง ที่เป็นคนในชุมชนให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตามดูแลและร่วมประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบลสำโรง

บทบาทหน้าที่ กศน. ตำบลสำโรง

1) เพื่อ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

2) เพื่อสร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน

3) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย

4) เพื่อประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน

5) บริการเรียนรู้ในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

6) สร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน โดยการประสานงานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย องค์กรชุมชนผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน เป็นต้น

7) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่งานโครงการ กิจกรรมและผลการดำเนินงานของ กศน.ตำบลในรูปแบบต่างๆ

8) รายงานผลการปฏิบัติงาน รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามแบบรายงาน และระยะเวลา ที่กำหนดและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของ กศน.ตำบล

9) ภาคีเครือข่าย

- ผู้นำชุมชน หมู่ที่ 1-10

- กลุ่ม อสม.ตำบลสำโรง

- เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย

- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำโรง

- โรงเรียนวัดโยธินประดิษฐ์

- วัดโยธินประดิษฐ์

การดำเนินงาน

  • ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center)

พัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศระดับชุมชน โดยใช้แบบสำรวจข้อมูลของ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดเก็บข้อมูลครบถ้วน ประมวลผลเป็นรายหมู่บ้าน จัดทำฐานระบบข้อมูลสารรสนเทศและนำมาใช้ในการบริหารกิจกรรม กศน.

  • ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน(Learning Center)

ออกแบบกิจกรรม/โปรแกรมการศึกษา ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดย กศน.ตำบลสำโรง และ กศน.อำเภอประประแดง ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในการออกแบบกิจกรรม โครงการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมาย

  • ศูนย์ชุมชน(Community Center)

กศน.ตำบลสำโรง เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมชุมชน เช่น เวทีชาวบ้าน สถานที่พบปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พบกลุ่ม จัดกิจกรรมต่างๆ โดย ครู กศน.ตำบล เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น อบต. อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน อาสาสมัครส่งเสริมรักการอ่าน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้