ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง 

นายปทีป สุริยะ เป็นเกษตรกรเลี้ยงด้วงสาคู และด้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน หรือ แมงหวัง ในภาษาใต้ (อังกฤษ: Red palm weevil, Red-stripes palm weevil, Asian palm weevil, Sago palm weevil) เป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchophorus ferrugineus จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวผู้มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร

นายปทีป สุริยะ กล่าวว่าการเลี้ยงด้วงต้นสาคู เป็นแมลงพื้นบ้านที่รู้จักกันดี และเป็นที่นิยมในการบริโภคโดยเฉพาะทางตำบลลำพะยา ด้วงสาคูเป็นแมลงที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ตามธรรมชาติด้วงสาคูเป็นแมลงศัตรูพืชที่ทำลายพืชผลทางการเกษตร เป็นอันตรายต่อพืชตระกูลปาล์ม เช่นสาคู ลาน มะพร้าว เป็นต้น มีการทำวิจัยเรื่อง สารอาหารในด้วงสาคูที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ ให้โปรตีนและพลังงานสูง การเพาะเลี้ยงด้วงสาคู เป็นแนวทางอาชีพที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และการเพาะเลี้ยงด้วงสาคูในสภาพที่เหมาะคือสภาพอากาศของทางภาคใต้ รวมทั้งความคุ้นเคยของผู้บริโภค

ปัจจุบัน ตัวหนอนของด้วงงวงชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมของการเพาะเลี้ยงด้วงเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ทำให้รายได้สูง โดยนิยมบริโภคกัน มีราคาซื้อขายที่สูงถึงกิโลกรัมละ 200-300 บาท โดยระยะจากไข่-หนอน-ดักแด้ใช้เวลา 60 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุ 2-3 เดือน