แหล่งท่องเที่ยว ตำบลบ้านธาตุ

ประเพณีบุญบั้งไฟล้าน

ตำนานม้าคำไหล และ บุญบั้งไฟบ้านธาตุ


ม้าคำไหล เป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาควบคู่กับประเพณีบุญบั้งไฟของชาวบ้านธาตุ มาหลายชั่วอายุคน ม้าคำไหลเป็นม้าทรงพระศรีธาตุซึ่งเป็นเจ้าเมืองที่ปกครองบ้านธาตุเมื่อหลายร้อยปีก่อน สมัยก่อนเจ้าเมืองจะมีม้าเป็นพาหนะเพื่อใช้ในการเดินทางและตรวจเยี่ยมราษฎร ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี จะมีการละเล่นม้าคำไหล ซึ่งเปรียบเสมือนการอัญเชิญดวงวิญญาณพระศรีธาตุและม้าคำไหลมาประทับทรงในคราวเดียวกัน ลักษณะเด่นของการละเล่นคือ การแต่งกายด้วยเสื้อและกางเกงสีดำตกแต่งด้วยผ้าหลากหลายสีสันและมีการวิ่งเป็นคณะ โดยจะมีการรำเซิ้งไปตามม้าที่วิ่งวนไปรอบๆ บริเวณที่จัดงานและขบวนเซิ้งบั้งไฟ

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีอันเชิญม้าคำไหลอันศักดิ์สิทธิ์ ชมการประกวดขบวนเซิ้ง ขบวนแห่บั้งไฟล้านที่ยิ่งใหญ่ตระการตา การประกวดธิดาบั้งไฟล้าน ตำนานม้าคำไหล การจุดบั้งไฟล้าน บั้งไฟแสน บั้งไฟหมื่น การละเล่นพื้นเมือง อาทิ การแข่งขันชกมวย รำวงย้อนยุค และมหรสพสมโภชน์ตลอดงาน


ตำนานม้าคำไหล

วัดศรีเจริญโพนบก

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของ ตำบลบ้านธาตุ อีก 1 ที่จะแนะนำท่านผู้อ่านให้ไปเยี่ยมชม

ขอพรพระธาตุ คู่ตำบลเป็นสถานที่โบราณเก่าแก่สัญลักษณ์ของตำบล และเป็นที่เคารพบูชาของคนในพื้นที่ ประวัติความเป็นมาของพระธาตุนั้น มีชาวบ้านผู้เฒ่า ผู้แก่ได้เล่าไว้ว่า

แผ่นศิลาจารึก เป็นภาษาขอม ทางเข้าประตูทางทิศใต้ ทางพระอุโบสถ ก่อนที่ชาวบ้านได้ใช้ดินและปูน ฉาบทาปิดไปนั้น ปี พ.ศ. 2501 เป็นปีที่รัฐบาลได้ประกาศพัฒนาภาคอีสานเป็นครั้งแรก โดยได้พัฒนาตำบลบ้านธาตุ เป็นบ้านแรก รัฐบาลในช่วงนั้น เป็นรัฐบาลทหาร มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ จอมพลประภาส จารุเสถียร นำทหารหน่วย น.พ.ค. เร่งพัฒนาอันดับแรกนั้น ได้พัฒนาแหล่งน้ำ คือหนองหัวแตก ได้สร้างทำนบกักน้ำไว้ให้ราษฎรได้ใช้ และได้ตั้งชื่อหนองหัวแตกนั้นใหม่ว่า #หนอง

ศรีเจริญ จอมพลประภาส ได้นำเฮลิคคอปเตอร์ มาลงที่โรงเรียนบ้านธาตุราษฎร์วิทยาบำรุง แล้วท่านได้เห็นพระธาตุ จึงถามชาวบ้านว่า เป็นพระธาตุอะไร และชาวบ้านได้ตอบท่านว่า เป็นพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ และน่าเลื่อมใสมาก อยากได้อะไร หรือจะบนบานศาลกล่าว ก็จะได้สมดังใจปรารถนา วันต่อมา จอมพลประภาส ได้นำโหรหลวง พร้อมโหรผู้เชี่ยวชาญ มาอ่านภาษาขอมในแผ่นศิลา และท่านได้นุ่งขาวห่มขาว นั่งสมาธิใช้เวลานานพอสมควร เสร็จเเล้วท่านได้กล่าวกับชาวบ้านว่าพระธาตุเจดีย์นี้ ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นส่วนที่เหลือ จากการสร้างพระธาตุพนม

พระสารีริกธาตุ คือ พระรากขวัญ ขนาดเท่าเมล็ดงา (พระรากขวัญคือ กระดูกไหปลาร้าด้านซ้าย ) ส่วนนั้น คงเป็นกลุ่มเดียวกัน กับที่สร้างพระธาตุพนม โดยสันนิษฐานได้จากองค์พระธาตุนั้น มีลายเทพพนม เหมือนกันทุกอย่าง เทพพนม ลายดอกบัวเครือ ทั้ง 4 ด้าน เหมือนกัน

ในศิลาจารึกได้ระบุรายนามผู้สร้างองค์พระธาตุ ดังนี้

1. พระยาสุวรรณภิงคาร(เจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร)

2. พระยาคำเเดง (เจ้าเมืองหนองหานน้อย อุดรธานี)

3. พระยาจุลมณีพรหมทัต(เจ้าเมืองลาวเหนือ-ญวน)

4. พระยาอินทปัตนคร(เจ้าเมืองขอม-กัมพูชา)

5. พระยานันทเสน(เจ้าเมืองศรีโครตบูรณ์หลวง-ลาวใต้)