ชื่อเรื่อง       ผลิตภัณฑ์จากเส้นกก

ชุมชน        บ้านห้วยตาด หมู่ที่ 4 ตำบลนาดอกคำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

       บ้านห้วยตาด หมู่ที่ 4 ตำบลนาดอกคำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ห้วยหมายถึง ลำน้ำที่ไหลลงจากภูเขา ตาด หมายถึง ลานหินเป็นชั้นๆ บ้านห้วยตาด หมายถึง หมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำซึ่งมีลานหินเป้นชั้นๆ หรือมีน้ำตก ซึ่งด้วยชุมชนบ้านห้วยตาดและหมู่บ้านใกล้เคียง แหล่งที่อยู่อาศัย มีห้วย หนอง คลอง บึง ทำให้เกิดมีต้นกก ซึ่งเป็นวัชพืชท้องถิ่น เกิดขึ้นตามธรรมาชาติเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านห้วยตาด จึงได้นำมาแปรรูปเป้นเสื่อผืน เพื่อมาใช้ในครัวเรือน หากมีมากก้นำไปถวายวัดเพื่อใช้ประโยชน์ รมถึงนำไปเป็นของฝาก ญาติสนิทมิตรสหาย ทำให้ชาวบ้านมีความชำนาญในการทอเสื่อกกเป็นอย่างมาก ซึ่งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ จนชาวบ้านได้เกิดความคิด โดยที่นำอัตลักษณ์ของชุมชนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมจนเกิดสินค้าแฟชั่น ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและสะท้อนบุคลิกที่แตกต่างของผู้ใช้งานได้เป้นอย่างดีเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆเช่น กระเป๋า ตะกร้า ที่วางแก้ว หมวก เป็นต้น

โดยเริ่มแรกมีการใช้กกเหลี่ยมหรือที่เรียกว่า ผือนา ยังไม่มีการย้อมสีผลิตภัณฑ์หรือทำลวดลาย  ส่วนใหญ่นำมาใช้ในครัวเรือน  ปัจจุบันนิยมใช้กกกลมแทนกกเหลี่ยม  เนื่องจากหาง่ายในแหล่งธรรมชาติและเมื่อนำมาทอเสื่อแล้ว  มีคุณสมบัติเหนียวและมันวาว  ซึ่งมีการพัฒนาลวดลายบนผืนเสื่อที่หลากหลาย  มีความสวยงาม   โดนเด่น  จึงมีการนำเอาเสื่อกกมาออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เช่น  กระเป๋า กล่องใส่กระดาษทิชชู่ หมวก ต่างหู  แจกัน เป็นต้น

ต้นกก เป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง เป็นต้นไม้ที่สารพัดประโยชน์ที่บางคนอาจจะมองว่าเป็นวัชพืชไม่น่าสนใจและถึงขั้นทำลายทิ้งเสียด้วยซ้ำ แต่ในความจริงแล้วมันกลับสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ต้นกกจะถูกนำมาแปรรูปเป็นเสื่อ และได้นำเสื่อมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นเช่น กระเป๋า แจกัน โมบาย ของที่ระลึก ฯลฯ ลักษณะของต้นกกนั้นมีลำต้นใต้ดิน เจริญเติบโตเป็นกอ ลำต้นเหนือดินมีลักษณะเป็นก้านแข็งกลม สูงประมาณ 1.2-2.4 เมตร ใบมีขนาดสั้นแผ่เป็นกาบหุ้มส่วนโคนของลำต้น ดอกออกเป็นช่อกลมสีน้ำตาลแดงที่ปลายยอด มนุษย์ได้นำต้นกกมาใช้ประโยชน์ คือนำมาทอเสื่อ เพื่อใช้ในครัวเรือนขั้นตอนง่าย ดังนี้ นำกกหรือไหลมากรีดออกเป็นเส้นไปตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์ เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการ โดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี ส่วนมากจะย้อม สีน้ำตาลและสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน นำเชือกไนล่อนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืม นำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ เมื่อสอดกกหรือไหลเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกัน เป็นลายต่าง ๆ ลายที่ทอเป็นประจำและเป็นที่นิยมคือ ลายมัดหมี่ ลายธรรมดา ลายกระจับนอกจากเสื่อที่เป็นสินค้าขายดีแล้ว ทางกลุ่มทายาทยังผลิตเป็น กระเป๋า หมอน อาสนะ หนอนทอฟฟี่ (หมอนข้าง) เสื่อพับ ที่รองแก้ว หมอนสามเหลี่ยม ฯลฯ

ขั้นตอนการผลิต

การร้อยเส้นเอ็น   

 การร้อยเส้นเอ็นนี้มีต่างๆกันหลายชนิด แล้วแต่ลวดลายของเสื่อ อาทิเช่น

    1 เสื่อชั้นเดียว ที่จริงควรเรียกว่า “ เสื่อลายขัด ” เห็นจะถูกกว่า การร้อยเส้นเอ็นเสื่อชั้นเดียว ร้อยทุกฟันฟืมและรูฟันฟืมโดยไม่มีเว้น คือ ร้อยจากช่องฟันฟืมไปหารูฟันฟืม สลับกันไปตลอดความ ยาวของตัวฟืม

    2 เสื่อ 2 ชั้น เสื่อสองชั้นนี้ต้องใช้ฟืมที่มีฟันฟืมเล็กกว่าฟืมชั้นเดียว ทอเป็นลวดลายได้หลายชนิด  ว่า ลายตาหมากรุก ลายตาสมุก ลายตาเกล็ดกระ และลายตาเกล็ดเต่า เป็น

    2.1 ลายตาหมากรุก ต้องร้อยอย่างเดียวกับเสื่อชั้นเดียวจนหมดฟันฟืมเล็กๆ เมื่อถึงฟันใหญ่ให้ร้อยเส้นหนึ่งเว้นเส้นหนึ่งจนตลอดฟันใหญ่ แล้วเริ่มร้อยฟันเล็กอีกด้านหนึ่งเหมือนตอนต้น

    2.2 ลายตาหมากสมุก ทุกลายจะต้องร้อยตรงฟันเล็กเช่นเดียวกันเสมอ ตรงฟันใหญ่เริ่มร้อย 3 เส้น เว้น 1 เส้น ต่อไปร้อย 2 เส้น เว้น 1 เส้น และต่อไปร้อย 3 เส้นเว้น 1 เส้นร้อย 2 เส้น เว้น 1 เส้น สลับกันไปอย่างนี้ตลอดฟันใหญ่และจบลงด้วยฟันเล็กเช่นเดิม

    .2.3 ลายตาเกล็ดกระ ตรงฟันใหญ่เว้น 1 เส้น ร้อย 4 เส้นเว้น 1 เส้นร้อย 4 เส้นตลอดไป

    2.4 ลายเกล็ดเต่า ตรงฟันใหญ่เว้น 1 เส้นร้อย 5 เส้นเว้น 1 เส้นร้อย 5 เส้น ตลอดไป

ขั้นตอนในการทำเสื่อกก   การทอนี้ต้องใช้ 2 คนด้วยกัน คนหนึ่งเป็นคนกระทบ อีกคนหนึ่งเป็นคนพุ่งเส้นกก คนทอ มีหน้าที่พลิกฟืมให้คว่ำหงายและกระทบเส้นกก พร้อมกับการคอยสังเกตลักษณะของเส้นกกที่กระทบกันนั้น ขาด โค้งงอหรือไม่ ผู้พุ่งให้สีหรือเปลี่ยนสีที่ถูกต้องหรือไม่

 ผู้พุ่ง มีหน้าที่ส่งเส้นกกตามจังหวะหงายและคว่ำฟืม พร้อมด้วยการทำลวดลายของผืนเสื่อ

       การขึงเส้นเอ็นเพื่อการทอ ส่วนใหญ่การขึงครั้งหนึ่งจะทอเป็นเสื่อได้ 2 ผืน เมื่อทอเสร็จแล้วก็จะจำหน่ายให้กับกลุ่มเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เสื่อกกและ ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร สื่อต่างๆ สถานประกอบการ สื่อของจริง ภูมิปัญญาใน ชุมชน เพื่อนำข้อมูลมาใช้ใน การประกอบอาชีพ ที่มี ความเป็นไปได้ในชุมชน              

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

- เป็นการนำเอาวัสดุที่เกิดขึ้นจากชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชน

- การนำเอาอัตลักษณ์ของชุมชนผสมผสาน สร้างสัญลักษณ์และลวดลายที่สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

- เส้นกก สามารถนำไปผลิตได้หลายรูปทรง

- เส้ยกก ที่ใช้มีความยืดหยุ่น คลทน มีอายุการใช้งานยาวนาน

ผลิตภัณฑ์จากเส้นกกมีประโยชน์  สามารถใช้งานได้ เข้าใจง่าย เหมาะสมกับลูกค้าที่มีความหลากหลาย เช่น ใช้ปูรองนั่ง/นอน ,ใช้ตกแต่งประดับสถานที่ ,เป็นกระเป๋า ,กล่องใส่ของ ,ที่วางแก้ว เป็นต้น



ตำแหน่งที่ตั้ง  ตั้งอยู่ เลขที่ 87 บ้านห้วยตาด หมู่ที่ 4 ตำบลนาดอกคำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย 42210 การเดินทาง  ดูเส้นทางดีที่สุดสำหรับสภาพการจราจรปัจจุบันที่ https://maps.app.goo.gl/jPqfUWE8ekZwVpYZ7  หรือจับพิกัดได้ที่  17.4793698,101.9701476

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นายพันยศ งามนาเสียว

                 ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายพันยศ งามนาเสียว

แหล่งข้อมูล นางเกษร เนธิบุตร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านห้วยตาด ต.นาดอกคำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

ภาพคิวอาร์โค้ดที่ระบุพิกัดแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น สําหรับให้บุคคลที่สนใจสแกนหาพิกัดของแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น