ประเภท (ข้อมูลเฉพาะ) แหล่งเรียนรู้   

        แหล่งเรียนรู้ที่เป็นวิชาการ/สถานที่ 

ชื่อแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในชุมชน (ตำบล) 

    โคกหนองนาตารัตน์

ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้ 

         โคกหนองนาตารัตน์ เป็นการพัฒนาจัดการพื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งเป็นการผสมผสานของเกษตรทฤษฏีใหม่ร่วมกับภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งต้องบอกว่าชื่อเรียกนี้ เป็นการจัดการสภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยมนุษย์นำสิ่งที่มีอยู่นั้นมาส่งเสริมทำให้เกิดความสำเร็จในการทำเกษตรกรรมโดยเร็ว และเป็นระบบมากขึ้น ทั้งนี้ แต่ละคำของชื่อเรียกยังหมายถึงแนวทางการทำเกษตรแบบอินทรีย์ และการสร้างชีวิตที่มีความยั่งยืนอย่างที่สุด 

     

      โคก-หนอง-นา โมเดล ซึ่งเป็นแนวทางทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้

          1. โคก: พื้นที่สูง

              – ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ

              – ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

              – ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ

    การบริหารพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่รู้จักกันในชื่อว่า “ โคก หนอง นาโมเดล ” ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นที่ตามศาสตร์พระราชา ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งพื้นที่เล็กหรือใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงศึกษาข้อมูลและทรงพบว่า เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ครอบครองพื้นที่โดยเฉลี่ยครอบครัวละ 10 – 15 ไร่ จึงทรงแนะนำให้จัดสรรโดยมีเป้าหมายว่า ต้องทำให้เรามีข้าวปลาอาหารพอกินตลอดปี เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและมีรายได้เหลือพอสำหรับจับจ่ายใช้สอยในเรื่องจำเป็น โดยใช้อัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 เป็นเกณฑ์ปรับใช้ ตัวอย่างเช่นพื้นที่ส่วนแรก 30 เปอร์เซ็นต์ใช้สำหรับขุดสระน้ำ เพื่อเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำที่กินหรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ รอบ ๆ ขอบสระปลูกไม้ต้นที่ไม่ใช้น้ำมาก และสร้างเล้าไก่บนสระ

  พื้นที่ส่วนที่สอง 30 เปอร์เซ็นต์ใช้สำหรับทำนา พื้นที่ส่วนที่สาม 30 เปอร์เซ็นต์ใช้ปลูกไม้ผล ไม้ต้น หรือไม้ที่ใช้สอยในครัวเรือน ใช้สร้างบ้านเรือน ทำอุปกรณ์การเกษตร หรือใช้เป็นฟืน พื้นที่ที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นที่อยู่อาศัย ทางเดินคันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ย หมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ หรือปลูกผักสวนครัว สมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น


         2. หนอง: หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ

              – ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก)

              – ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้

              – ทำ ฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง

              – พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก

              จะทำอย่างไรให้มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกและใช้ในชีวิตประจำวันตลอดปีและมีสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งหรือระยะฝนทิ้งช่วง ซึ่งตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่เน้นการคำนวณปริมาณน้ำด้วยหลักวิชาการ น้ำฝนที่ตกลงในแต่ละพื้นที่ ถ้าเป็นบริเวณที่ฝนตกน้อยพื้นที่ค่อนข้างแล้ง น้ำฝนขั้นต่ำมีปริมาณปีละ 800 มิลลิเมตร หมายถึง เมื่อฝนตกลงมาถ้าไม่ซึมและระเหยสู่อากาศ ปริมาณน้ำจะสูงจากพื้นดินประมาณ 80 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนตกชุก ถ้าไม่ซึมและระเหยก็จะมีปริมาณน้ำฝน 1,800 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี หรือสูงจากพื้นดิน 1.80 – 2 เมตร 

         3. นา:

             – พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน

             – ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

            ทั้งนี้ข้าวเป็นอาหารหลักที่คนไทยบริโภค ถ้าแต่ละครอบครัวทำนา 5 ไร่ก็จะมีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง และพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ อาจารย์ยักษ์เล่าถึงเทคนิคการปลูกข้าวอินทรีย์สำหรับเลี้ยงครอบครัวว่า “เราควรยกคันนาให้สูงและกว้าง บางคนไม่เข้าใจว่ายกคันนาสูงแล้วจะปลูกข้าวพันธุ์อะไรในน้ำลึกมากขนาดนั้น แต่เมื่อเราทดลองทำก็รู้ว่า ข้าวทุกพันธุ์สามารถปลูกในนาน้ำลึกได้ ขอเพียงเรารู้จักพันธุ์ข้าวให้จริง ข้าวที่ปลูกในดินที่บ่มไว้อย่างดีจะมีรากยาวพอที่จะหาอาหารเลี้ยงตัวและทะลึ่งต้นขึ้นสูงหนีน้ำได้ “นอกจากได้ข้าว เรายังได้ผลผลิตอื่นจากนาข้าวก็คือ ปู ปลา กุ้ง กบ เขียด ทำเป็นอาหารที่หลากหลาย ส่วนบนคันนาก็ปลูกพืช ผัก กล้วย อ้อย พริก สร้างรายได้อีกทางหนึ่ง”

      โดย นายสุรัตน์ ศรีบัว ได้มีการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้โคกหนองนา โมเดล ไว้เพื่อเป็นแหล่งเรียนไว้ให้แก่ชุมชน และตนเองจะได้มีพื้นที่ในการทำมาหากินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย “โคก หนอง นา โมเดล” จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของ การแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการนำ ที่สถาบันเศรษฐกิจ พอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้น้อมนำพระ ราชดำรัสใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตาม แนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการนำ และพื้นที่ การเกษตร โดยมีการผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้าน ให้สอดคล้องกัน โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้ 30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อ ทำหนองและคลองไส้ไก่ 30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว 30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ มีความสมบูรณ์ และความร่มเย็น และ 10% สำหรับที่อยู่อาศัย และ เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น 

    ประโยชน์ของโคกหนองนาโมเดล คือ ช่วยให้เราประหยัดมากขึ้น เพราะสามารถปลูกพืชต่าง ๆ ไว้ในพื้นที่และสามารถใช้สอยได้ครอบคลุมทุกปัจจัย ช่วยลดความตึงเครียดด้านเศรษฐกิจ ลดความกังวลเรื่องรายรับในช่วงที่ติดขัดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังไม่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม หรือความแห้งแล้งภายในพื้นที่ และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลต่าง ๆ ของโคกหนองนาโมเดล ที่น่าสนใจอย่างมาก ที่จะช่วยให้เกษตรกรทุกคนได้รับประโยชน์อย่างที่สุด ใครยังไม่เคยลองนำไปปฏิบัติ จะนำไปทำดูก็สามารถทำได้เลยทันที รับรองว่าผลลัพธ์มีค่าแบบที่ไม่เคยคิดมาก่อน



สถานที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้ประกอบอาชีพหรือของชุมชน

สถานที่ตั้ง ม 11.................... ตำบล....ศรีฐาน

อำเภอ/เขต......ภูกระดึง. จังหวัด.................เลย............

โทรศัพท์มือถือ....0804075496...........................

E-mail..........................................

พิกัด.........................

ความสัมพันธ์ของชุมชนกับการส่งเสริมความยั่งยืนของแหล่งเรียนรู้  

โคก หนอง นา ตารัตน์ มีส่วนร่วมกับชุมชนสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานให้แก่ โรงเรียนหรือผู้ที่สนใจในการที่จะศึกษาแนวทางในการทำโคก หนอง นา การทำเกษตรอินทรีย์และสามารถสร้างชีวิตที่มีความยั่งยืนได้เป็นอย่างดี

     ผู้ให้ข้อมูลและผู้เรียบเรียง หรือผู้เขียน

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย 

นางสาวยุภาพร บำรุงสำราญ  และนางสาวศิริวรรณ จันพัก

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย 

นางสาวยุภาพร บำรุงสำราญ  และนางสาวศิริวรรณ จันพัก