การย้อมมะเกลือ

ประวัติความเป็นมาของการย้อมผ้าด้วยมะเกลือ

บ้านอาลึ เป็นหมู่บ้านของชาวกุย ที่มีดำเนินชีวิตที่เป็นการคงวัฒนธรรม ศิลปะ ความเชื่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวกุยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหมู่บ้านชาวกุยคงเอาไว้ ซึ่งวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวกุยที่บ้านอาลึ หมู่ที่ 4 ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ การย้อมผ้าด้วยมะเกลือ คงมีมาไม่ต่ำกว่า 70 ปีมาแล้ว โดยเป็นกิจการซึ่งมีเจ้าของเป็นชาวจีน และจ้างแรงงานในแถบนั้น ซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวจีน กิจการย้อมผ้าด้วยมะเกลือ ชาวบ้านเรียกกันว่า ลานมะเกลือ วัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมผ้าด้วยมะเกลือ 1. มะเกลือ ขนส่งทางเรือจากยะลา และอาจมีที่อื่นด้วย ใช้มะเกลือแก่ ( สีเขียวเข้ม ) ลูกมะเกลือมีขนาดเท่าลูกมะขามป้อม 2. ผ้า เป็นผ้าแพรปังลิ้นขาวมีลายดอก อาจนำเข้าจากจีน ย้อมทั้งพับ ความกว้างประมาณ 1 หลา ความยาวประมาณ 20 – 30 วา

ขั้นตอนการย้อม

ตำมะเกลือด้วยครกกระเดื่อง ( ครกไม้ขุด ) แบบใช้คนเหยียบ ย้อม โดยหมักน้ำที่ได้จากกการตำมะเกลือในถังหมักซึ่งเป็นถังขนาดใหญ่ รวมกับเปลือกไม้ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ย้อมอวนผสมเกลือและน้ำ ใช้เวลา 1 วัน จะได้สีดำ ใช้บุ้งกี๋หวายตักกากใหญ่ๆ ขึ้น แช่ผ้าทั้งพับลงในถังหมัก 1 คืน ซัก ด้วยวิธีใช้ไม้ทุบ โดยกองผ้าไว้บนขั้นบันไดไม้ที่ทำลงในแม่น้ำ เพื่อเอาสิ่งสกปรกออก ( กาก ) และสีส่วนที่เกินออก จากนั้นยกขึ้นตาก โดยไม่ต้องบิด วิธีตาก ใช้ 2 คนลากปลาย 2 ข้างคลี่ออก มีคนที่ 3 อยู่ตรงกลาง ช่วยคลี่ตรงกลาง ตากกับพื้นที่ที่มีกากมะเกลือโรยไว้กันเปื้อน ต้องกลับผ้าทุกชั่วโมง ต้องย้อม 4 – 5 ครั้ง ( ทำซ้ำทุกขบวนการตั้งแต่ ย้อม ซัก ตาก )