น้ำตกวังแก้ว

น้ำตกวังแก้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในอุทยานแห่งชาติดอยหลวงซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่16 เมษายน พ.ศ. 2533 ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงรายและจังหวัดลำปาง รวมเนื้อที่ประมาณ 731,250 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงทอดตัวแนวเหนือ-ใต้ มีดอยหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรังปะปนกัน มีสัตว์ป่าและน กหลายชนิด ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่บริเวณน้ำตกวังแก้ว และเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดในจังหวัดลำปาง สูง 102 ชั้น น้ำตกวังแก้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในอุทยานแห่งชาติดอยหลวงซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดพะเยา เชียงรายและลำปาง รวมเนื้อที่ประมาณ ๗๓๑,๒๕๐ ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงทอดตัวแนวเหนือ-ใต้ มีดอยหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรังปะปนกัน มีสัตว์ป่าและนกหลายชนิด ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่บริเวณน้ำตกวังแก้ว น้ำตกวังแก้ว เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดของจังหวัดลำปาง เกิดจากการทับถมของหินปูนที่ปนมากับน้ำ มีชั้นน้ำตกประมาณ ๑๐๒ ชั้น แต่เป็นชั้นใหญ่ ๙ ชั้น เมื่อขึ้นไปถึงชั้นบนสุดของน้ำตกจะพบหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้าที่บ้านป่าคาหลวง และบ้านส้านซึ่งมีทางขึ้นค่อนข้างชัน ที่น้ำตกวังแก้วยังมี เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ระยะทางประมาณ ๑.๔ กิโลเมตร นักท่องเที่ยวต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำทาง นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมี น้ำตกวังทอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำตกวังแก้ว ค่าธรรมเนียมเข้าชม เด็ก ๑๐ บาท ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท สามารถกางเต็นท์ได้แต่ต้องเตรียมอาหารไปเอง สถานที่พัก มีบ้านพักจำนวน ๗ หลัง ราคา ๑,๐๐๐ บาท ทางอุทยานฯ มีเต็นท์ให้เช่า พักได้ ๒ คน ราคา ๕๐ บาท/คืน/เต็นท์ หรือจะนำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ๒๐ บาท/คน/คืน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยหลวง ตำบล แม่เย็น อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โทร. ๐ ๕๓๖๐ ๙๐๔๒, ๐ ๒๕๖๒ ๗๐๖๐ หรือwww.dnp.go.th การเดินทาง จากอำเภอเมืองใช้ถนนสายลำปาง-แจ้ห่ม-วังเหนือ ไปประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่อำเภอวังเหนือ เข้าทางหลวงหมายเลข ๑๒๐ สายวังเหนือ-พะเยา แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑๓๐๓ ไปประมาณ ๒4 กิโลเมตร ถึงน้ำตก ถนนเป็นทางลาดยางตลอดสาย ส่วนทางเข้า น้ำตกวังทอง จากปากทางใหญ่ที่เข้ามาจะถึงก่อนน้ำตกวังแก้วประมาณ ๙ กิโลเมตร ถ้าเดินทางมากจากเชียงใหม่ ใช้ทาง เชียงใหม่-เชียงราย ผ่านอำเภอสันทราย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ขับรถมาเรื่อยๆจะเห็นบ้านแม่ขะจาน จังหวัดเชียงราย มองทางขวา จะมีปากทางสามแยกวังเหนือ ไปพะเยา ไปน่าน ขับรถอีกประมาณ 16 กิโลเมตรจะถึงตัวอำเภอวังเหนือ เลี้ยวซ้ายแยกหน้าที่ว่าการอำเภอวังเหนือ ไปอีกประมาณ 24 กิโลเมตร รถโดยสารมี รถเมลล์เขียว ขึ้นที่อาเขตเชียงใหม่ สายเชียงใหม่ - เชียงของ หรือ เชียงใหม่ - น่าน หรือ เชียงใหม่ - พะเยา ก็จะผ่านอำเภอวังเหนือ

ชื่อบทความ : น้ำตกวังแก้ว

ตามถนนหมายเลข 120 ทางผ่านป่าเขาลำเนาไพรแห่งหนึ่ง ที่ขับรถผ่านในทุกวัน ก็ต้องพบเจอทิวเขาที่สวยงามที่ตรงนี้เป็นประจำ และได้มองเห็นเทือกเขาในมุมนี้ ทุกๆวัน พันนึกอยู่นาน มันคือเทือกเขาอะไร....แต่ทันใดนั้นเพียงแวบเดียวก็นึกขึ้นได้...ใช่แล้ว เทือกเขานี้คือเทือกเขา "ผีปันน้ำ" อาณาเขตของป่าตามทิวเขาทั้งทิวเขาครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของตอนกลางของภาคเหนือและไปในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงทางตะวันตกของทิวเขานี้เป็นทิวเขากว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งเรียงตัวตามแนวเส้นแวง ยอดเขาที่สำคัญคือ ดอยขุนออน ดอยผาโจ้ ดอยผีปันน้ำ ภูชี้ฟ้า และดอยขุนตาล เป็นภูเขาหินแกรนิต ซึ่งตั้งขวางเส้นทางรถไฟสายเหนือที่เดินผ่านตามเส้นทาง ทำให้มีการเจาะลอดสันเขาทางใต้ของทิวเขานี้ เป็นอุโมงค์ขุนตาล ในปี พ.ศ. 2450 และเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2461 โดยมี ดอยหลวง เป็นดอยเขาที่สูงที่สุด ด้วยความสูง 1,694 เมตร (5,558 ฟุต) ในเขตจังหวัดพะเยา เชียงราย และลำปางนั้น ในทุกวัน ที่กำลังมองออกไปนั้นยังเห็นเทือกเขา ซึ่งจะต่างกันตามช่วงฤดูกาล ยิ่งช่วงฤดูฝนหลังฝนตกมันสวยมากๆบางครั้งก็มีสายรุ้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ตรงแถบแนวเขาที่มองไปนั้น เมื่อเวลาผ่านช่วงฤดูฝน เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ช่วงนี้จะสวยไปอีกแบบ มีหมอกขาวปกคลุมตามยอดดอย สลับกับหมอกบาง ปกคลุมไปทั่วบริเวณตามยอดดอยดังกว่า ทำให้สวยงาม แลดูแล้วสบายตา เต็มไปด้วยบรรยากาศที่เย็นสบาย

ดอยหลวง ถือว่าเป็นอีกดอยหนึ่งที่เป็นจุดสูงสุดของ สันเขาดอยหลวง ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของ “เทือกเขาฝีปันน้ำ” ตั้งอยู่ในภาคเหนือ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่รอยต่อของ 3 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง และ จังหวัดพะเยา มีความสูง 1,694 เมตรจากระดับน้ำทะเล และมียอดดอยหนอก ที่ตั้งอยู่ในเขตป่าบ้านปงถ้ำ ตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นเขาหินปูนที่มีความสูงและชันมาก ตั้งอยู่บนสันเขาดอยหลวง มีความสูง 1,077 เมตรจากระดับน้ำทะเล เหมาะสำหรับผู้ที่รักการผจญภัยและต้องการสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ได้ 360 องศา สามารถมองเห็นกว๊านพะเยา ตัวเมืองพะเยา ตัวอำเภอวังเหนืออีกด้วย และผืนป่าที่อยู่รอบด้าน ในฤดูหนาวบนดอยหนอกสามารถมองเห็นทะเลหมอกที่สวยงามมาก เหมาะสำหรับการเดินศึกษาเส้นทางธรรมชาติ จะต้องเดินป่าและพักแรมในป่า เส้นทางเดินจะผ่านป่าดึกดำบรรพ์ ป่าสนเขา ทุ่งหญ้า ซึ่งมีความสวยงามเป็นสถานที่ท้าทายสำหรับผู้รักการผจญภัย ในการเดินทางสู่ยอดดอยหลวงและดอยหนอกจะต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง การเดินทางสามารถขึ้นได้ 2 ทาง เส้นทางแรกขึ้นจากบ้านปากบอก อำเภองาว จังหวัดลำปาง ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร เส้นทางที่สอง ขึ้นจากบ้านห้วยหม้อ ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร แต่เส้นทางค่อนข้างลาดชันเป็นบางช่วง ที่ทำให้การเดินทางขึ้นไปยังจุดหมายอาจจะล้าช้ากว่ากำหนด

“ดอยหลวง” ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 61 เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2533 เป็นอุทยานแห่งชาติที่ได้ยกฐานะมาจาก (วนอุทยานน้ำตกปูแกง, วนอุทยานน้ำตกผาเกล็ดนาค, แกงวนอุทยานน้ำตกจำปาทอง, และวนอุทยานน้ำตกวังแก้ว) รวม 4 แห่ง ที่มีพื้นที่ติดต่อเป็นผืนป่าเดียวกันที่ใหญ่มาก มีสภาพเป็นธรรมชาติและจุดเด่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 731,250 ไร่ หรือ 1,170 ตารางกิโลเมตร เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน โดยมีเทือกเขาทอดตัวเป็นแนวยาว ในแนวเหนือ - ใต้ ความยาวประมาณกว่า 70 กิโลเมตร "ยอดดอยหลวง" เป็นพื้นที่สูงที่สุดประมาณ 1,694 เมตร รวมถึงมีสภาพดินที่เป็นดินลูกรังผสมหินโดยเฉพาะบนยอดเขา ส่วนบริเวณหุบเขาจะมีดินสีดำอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และหินมีลักษณะเป็นหินกรวดหรือหินปูนทราย ทำให้อุทยานแห่งชาติดอยหลวงแห่งนี้มีความหลากหลายทางกายภาพและทางชีวภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่ง รวมถึงเป็นป่าต้นกำเนิดที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น สัก เสลา อินทนิน มะขามป้อม มะกอกป่า มะม่วงป่า ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ชิงชัน ประดู่ กระบก ยมหิน ยมหอม บุนนาค เต็ง รัง เหียง พลวง ยางนา หว้า ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อกำยาน สนสามใบ รวมถึง[[ไผ่ขาว ไผ่บง กล้วยป่า เฟินก้านดำ ขิง ข่า กล้วยไม้ดิน เฟินชายผ้าสีดา กระแตไต่ไม้ เอื้องผึ้ง หวายป่า เท้าสิงโต เอื้องหมายนา ค้างคาวดำ ดุสิตา แววมยุรา และ กระดุมเงิน และมีแม่น้ำไหลผ่าน โดยมีแม่น้ำวัง ในเขตพื้นที่อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง มีน้ำแม่ลาวในเขต จังหวัดเชียงราย และกว๊านพะเยา รวมถึงมีป่าไม้หลากหลาย ประกอบด้วยชนิดของป่า 5 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา และนอกเหนือจากนี้ยังสัตว์ป่าหลากหลายชนิดที่สำรวจพบมีทั้งสัตว์ใหญ่และสัตว์เล็ก เช่นหมีเล็ก หมีใหญ่ (มีบ้างครั้งนักท่องเที่ยวก็เห็นหมีเช่นกัน) เลียงผา หมูป่า กวาง เก้ง สัตว์เล็ก เช่น ลิงป่า ชะนี กระรอก ไก่ป่า และมีนกใหญ่ น้อย นาๆชนิดมากกว่า 200 ชนิด แล้วพื้นที่แห่งนี้ยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารอันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำวัง (น้ำตกวังแก้ว) เป็นน้ำตกที่สวยงามมากที่สุดของจังหวัดลำปาง ซึ่งมีความสูง 102 ชั้น แต่เป็นชั้นใหญ่ 9 ชั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ บ้านฮ่าง หมู่ 5 ตำบลวังแก้ว อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวง

“น้ำตกวังแก้ว” เกิดจากการทับถมของหินปูนที่ไหลลงมากับน้ำ เป็นน้ำตกหินปูนขนาดใหญ่ มีลานด้านหน้าน้ำตกที่กว้าง ในน้ำใสมาก สามารถมองเห็นตัวปลาที่ว่ายน้ำไปมาได้โดยตาป่าว รวมถึงมีน้ำให้ได้เล่นตลอดทั้งปี และมีค่าธรรมเนียมในการเข้าชม สำหรับเด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท สามารถกางเต็นท์ได้แต่ต้องเตรียมไปเอง เสบียงอาหารต่างๆเตรียมไปเอง (จัดไปเต็มที่ เอาที่สบายใจ) สำหรับในการเดินทาง ให้ใช้เส้นทาง สายลำปาง - แจ้ห่ม - วังเหนือ ระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร มีทางเข้าสู่น้ำตกโดยเริ่มจากที่ว่าการอำเภอวังเหนือ – น้ำตกวังแก้ว ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ในส่วนลุ่มของน้ำตกวังแก้ว ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีสายน้ำไหลผ่าน ถือได้ว่าเป็นสายน้ำแห่งชีวิตที่หล่อเลี้ยงผู้คนบ้านฮ่างและบ้านอื่นๆที่แม่น้ำสายนี้ไหลผ่าน ในการนำมาบริโภค อุปโภค รวมถึงการใช้น้ำเพื่อการเกษตร สายน้ำแห่งนี้เป็นดั่งกำลังขับเคลื่อนของทุกสรรพสิ่ง Water is the driving force for all nature คำกล่าวนี้ยังเป็นจริงในทุกยุคทุกสมัยและในทุกพื้นที่ เพราะนอกจากการดำรงชีวิตประจำวันที่ได้พบเห็นและสัมผัส ทุกๆคนต่างก็ต้องใช้น้ำในการอาบ การกิน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และหากมองย้อนกลับไปในอดีตที่ผ่านมานั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือผู้เฒ่า คนแก่ รุ่นต่อรุ่น พบว่าในยุคก่อนๆนั้นต่างก็อพยพเพื่อมาตั้งถิ่นฐานกันอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ เพราะบริเวณดังกล่าวเหมาะสมแก่การตั้งรกรากทั้งในแงของการใช้ประโยชน์จากสายน้ำในการอุปโภคบริโภค และการทำการเกษตรในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไปด้วย ถือได้ว่าเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางข้าวปลาอาหาร สมกับคำกล่าวที่ว่าในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ที่ได้ยินมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันยังคงไม่ห่างไกลจากความเป็นจริงมากนัก แม้ว่าที่ผ่านจะต้องประสบพบเจอกับปัญหาน้ำแล้งและน้ำหลากเป็นประจำทุกปี ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงเกษตรกรก็ยังคงมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำในทุกรูปแบบเสมอมา โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นคอยดูแลให้ความช่วยเหลือและเป็นที่พึ่งหลัก ให้กับประชาชนและเกษตรกรอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม น้ำแล้ง หรือน้ำหลาก รวมถึงความพอดีที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการมากที่สุดคือการมีน้ำอุปโภคบริโภคที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นน้ำกินน้ำใช้ น้ำสำหรับทำการเกษตร ให้เพียงพอตลอดทั้งปีสามารถหล่อเลี้ยงทุกชีวิตและเป็นกำลังขับเคลื่อนทุกสรรพสิ่งต่อไป

ข้อมูลโดย...เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยหลวง

เรียบเรียงโดย...นายมานิต การเพียร

ภาพประกอบโดย...นายมานิต การเพียร