ปลูกผักสวนครัว ปลอดสารพิษ

การปลูกผักสวนครัว หมู่ที่ 6 ตำบลเถินบุรี อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง นางสดใส มณีวงศ์

ความเป็นมา

ชุมชนบ้านวังหิน หมู่ที่ 6 ปลูกผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูก การปลูกพืชสวนครัวนั้นไม่ยากเลย ถ้ามองไปรอบด้านภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเมืองใหญ่ เมืองหลวง หรือบ้านในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ล้วนละลานตาไปด้วย "บ้านไทย" ซึ่งไม่ต้องอาศัยเครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเหมือนทุกวันนี้

ความสำคัญของพืชผักสวนครัว

1. ความสำคัญในด้านคุณค่าทางอาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ ให้สิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งอาหารชนิดอื่นๆมีไม่เพียงพอหรือไม่มี ผักสวนครัวมีคุณสมบัติช่วยให้ระบบย่อยอาหารของร่างกายลดสภาพความเป็นกรดโดย สาเหตุจากย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนย และอื่นๆ เยื่อใยของพืชผักสวนครัว ช่วยระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ลดการเป็นโรคลำไส้ และมะเร็งในลำไส้ ลดปริมาณคลอเรสตอรอล ลดความอ้วน ผักสวนครัวอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียมและธาตุเหล็ก ผักสีเขียวและเหลืองให้ วิตามินเอ ซี สำหรับถั่วต่างๆจะให้โปรตีน ประเภทหัว เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ให้คาร์โบไฮเดรต

2. ความสำคัญในด้านคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการบริโภคการอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีทั้งใช้บริโภคภายใน และส่งไปจำหน่าย จึงทำให้พืชผักสวนครัวมีแนวโน้มที่จะเป็นเศรษฐกิจในอนาคต

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

1. ที่ตั้งแหล่งชุมชน ผักหลายชนิดโดยเฉพาะผักกินใบ และผักต่างๆแปลงควรตั้งอยู่ในเขตชานเมือง เพื่อลดการสูญเสียและรักษาความสดระหว่างการขนส่งอีกทั้งลดต้นทุนในการขนส่ง อีกด้วย

2. ดิน ถึงแม้เทคโนโลยีได้อำนวยการผลิตพืชผักสวนครัว ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยดินก็ตามแต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญและคุ้มค่าทาง เศรษฐกิจ ในการใช้ผลิตพืชผักสวนครัวอยู่ในปัจจุบัน ดินที่เหมาะต่อการปลูกพืชผักสวนครัว ควรมีชั้นหน้าดินลึกอุดมสมบูรณ์ระบายน้ำได้ดี เนื้อดินร่วนซุย

3. แหล่งน้ำ ต้องมีอย่างเพียงพอแก่ความต้องการโดยเฉพาะในระยะที่แห้งแล้งที่สุดของปี พืชผักสวนครัวเป็นที่ต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ การใช้ฝนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอควรมีการคำนวณการใช้น้ำอย่างคร่าวๆตลอด ฤดูกาล4_15

4.ความลาดเทของพื้นที่ ทางเขตอบอุ่นทางซีกโลกเหนือ ความลาดเทของพื้นที่มีผลต่อการผลิตผักให้สำเร็จอย่างยิ่งโดยทั่วไปความลาดเท ของภูเขาทางด้านใต้ จะได้รับแสงแดดมากกว่า จึงอบอุ่นมากกว่าด้านเหนือ การที่พื้นที่มีความลาดเทสูงเป็นอุปสรรคต่อการเตรียมดินและการปลูกพืชผักสวน ครัว เกิดการชะล้างผิวหน้าดินไปได้ง่าย จึงจำเป็นต้องหามาตราการที่เหมาะสมเพื่ออนุรักษ์ดินไว้ โดยทั่วไปพื้นที่ราบมีความเหมาะสมในการปลูกพืชผักสวนครัวมากกว่า แต่ถ้าพื้นที่มีความลาดเทเล็กน้อยจะเหมาะสมที่สุดเพราะจะช่วยให้ดินระบายน้ำ ได้ดี และสะดวกต่อการให้น้ำตามร่อง

5. ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเล มีผลกระทบทางอ้อมต่อผลผลิตของพืชผักสวนครัว เนื่องจากความสูงของพื้นที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปัจจัยที่สำคัญต่อการ เจริญเติบโตของพืช คืออุณหภูมิ ความชื้น



ภูมิอากาศของท้องถิ่น

1 อุณหภูมิ ในบ้านเราอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไม่เป็นผลต่อการเจริญเติบโตของพืชถ้ามีน้ำ เพียงพอ แต่ถ้าผักหลายชนิดที่นำมาจากประเทศจะเกิดปัญหา ความเย็นไม่พอต่อการกระตุ้นในการสร้างดอก

2 ปริมาณน้ำฝน ในเขตเอเชีย ฝนเป็นผลมาจากมรสุม ปริมาณน้ำฝนมักจะมีมากในช่วงฤดูฝน มักขาดแคลนในฤดูแล้ง แต่ละภูมิภาคมีการกระจายตัวของปริมาณน้ำฝน ในแต่ละเดือนแต่ละปีแตกต่างกันออกไป การทราบสถิติข้อมูลน้ำฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระหว่างฤดูปลูกพืชผักสวนครัวที่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ อาจไม่จำเป็นให้น้ำเพิ่มเติม

3ช่วงวันบ้านเราตั้งอยู่ในเขตร้อน มีความแตกต่างของช่วงวันน้อยมากคือไม่น้อยกว่า 30 นาที/วัน พันธ์ุพืชผักสวนครัวที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในบ้านเราเสมอมา ถือว่าเป็นพืชผักสวนครัวประเภทวันสั้นหรือช่วงวันกลาง สามารถปรับตัวเจริญได้ดีเมื่อมีความยาวของวันประมาณ 12_121/2ชั่วโมงต่อวัน พันธุ์ผักต่างประเทศหลายชนิด เช่น หอมหัวใหญ่บางพันธุ์ ซึ่งเป็นพืชช่วงวันยาว ต้องการแสงอย่างน้อย 14-16 ชั่วโมง/วัน ไม่สามารถปลูกให้สร้างหัวได้

4 ลมในที่เปิดโล่ง ลมแรงสามารถทำอันตรายต่อพืชผักสวนครัวได้โดยตรง ลมแรงเกิดจากพายุโซนร้อนสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมาก ถ้าไม่มีการสร้างฉากกำบัง โดยเฉพาะพืชตระกลูถั่วเป็นต้น อ่อนแอต่อสภาพลมแรงโดยเฉพาะระยะออกดอกและผล


การเตรียมแปลงเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ปฏิบัติดังนี้

1. วัดขนาดของพื้นที่ที่จะทำแปลงเพาะ โดยวัดความกว้างความยาวตามความต้องการ

2. ใช้จอบถากหญ้าหรือวัชพืช ออกจากบริเวณที่จะทำแปลงเพาะ

3. ทำการเก็บเศษหรือวัชพืชออกโดยการใช้คราด คราดออกแล้วเก็บทิ้ง

4. เมื่อบริเวณพื้นที่สะอาดเรียบร้อยแล้ว ใช้จอบขุดดินลึกประมาณ 15 ซม. เพื่อพลิกหน้าดินลงไปข้างล่างและดินล่างขึ้นมาด้านบน

5. ตากดินที่ขุดไว้ประมาณ 2-3 วัน แล้วทำการย่อยดินให้ละเอียด

6. เก็บเศษวัชพืชออกให้หมด แล้วนำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ใส่ลงไป ผสมคลุกเคล้าดินให้เข้ากับปุ๋ยให้ดีที่สุด

7. ทำการตกแต่งแปลงให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความต้องการ พร้อมที่จะทำการเพาะเมล็ดต่อไ

การดูแลพืชผักสวนครัว

1. การให้น้ำ เป็นการรักษาความชุ่มชื้น การรักษาความชุ่มชื้นหมายถึง การให้น้ำแก่พืชซึ่งต้องคำนึงถึงการทดน้ำและระบายน้ำ การทดน้ำเป็นการเอาน้ำเขตในแปลงเพาะปลูกแต่เมื่อน้ำท่วมสวนและขังนานๆพืช หายใจไม่ได้ก็อาจจะตายในที่สุด จึงต้องขุดร่องระบายน้ำให้ระดับน้ำลดลง

สำหรับการให้น้ำ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติดังนี้

1.1 รดน้ำต้นไม้ในตอนเช้าและตอนเย็น ซึ่งฝนไม่ตก ให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ

1.2 อุปกรณ์ที่ใช้รดน้ำ ถ้าต้นพืชยังเล็ก ควรใช้บัวฝอยละเอียดๆ แต่เมื่อต้นโตขึ้นจะใช้บัวฝอยหยาบขึ้นก็ได้

1.3 รดน้ำให้ชุ่มชื้นพอดี ไม่รดจนดินแฉะ และดินแข็งจนเกินไป หรือรดน้อยจนต้นไม้เหี่ยวเฉาตาย

1.4 ไม่รดน้ำแรงจนเกินไป เพราะอาจทำให้ยอดต้นล้มหรือหักและพืชพับใบ

1.5 รดน้ำให้ท่วมแปลง เพื่อว่ารากพืชซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปจะได้ดูดแร่ธาตุอาหารได้ทั่วถึง

1.6 หลังจากรดน้ำแล้ว เอาหญ้าหรือฟางคลุมดินไว้ให้ชุ่ม พืชจะได้มีน้ำใช้นานๆ

2. การพรวนดิน วิธีการพรวนดินที่ถูกต้องปฏิบัติดังนี้

1. ควรพรวนดินเมื่อพืชที่ปลูกตั้งตัวได้แล้ว

2. ครั้งต่อไปพรวนดินเมื่อดินแน่นหรือเวลาใส่ปุ๋ย

3. อย่าให้กระทบกระเทือนต้นพืช อย่างัดโคนต้นขึ้น

4. ควรพรวนรอบๆ บริเวณต้น โดยถือหลักว่า ใบไปไหน รากไปถึงนั่น

ประโยชน์ของการพรวนดิน

1. ทำให้ดินร่วนซุย

2. ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

3. ช่วยเก็บความชื้นในดิน

4. ทำลายวัชพืช

5. ช่วยทำลายโรคบางอย่าง

6. ทำให้เกิดรากงอกใหม่มากมาย

7. ช่วยรากดูดน้ำแร่ธาตุของอาหารพืช

การจำหน่าย

1. ขายแม่ค้า พ่อค้าที่มารับซื้อ

2. จำหน่ายตลาดนัด

3.จำหน่ายงานเกษตร




ออกรายการ Thai PBS