การเลี้ยงไส้เดือน หมู่.6

การเลี้ยงไส้เดือน นางทิพวรรณ โพธา หมู่ 6 บ้านวังหิน ตำบลเถินบุรี อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โทร ................................

1 ประวัติของไส้เดือนดิน

โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่จะเคยชินกับการเรียกไส้เดือนดิน ว่า "ไส้เดือน" โดยไม่ต้องมีคำว่าดินต่อท้าย แต่จากความก้าวหน้าทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบัน ได้พบอาหารธรรมชาติที่สำคัญของสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น และมีชื่อเรียกเช่นเดียวกับไส้เดือน เช่น ไส้เดือนน้ำ (Tubifex) และไส้เดือนทะเล (แม่เพรียง เพรียงทราย ; Clam worm, Sand worm) จึงทำให้นักวิชาการในปัจจุบันเรียกไส้เดือนที่พบตามดินทั่วไป ว่า "ไส้เดือนดิน"

ไส้เดือนดินมีอยู่ทั่วไปตามดินชุ่มชื้นร่วนซุย จะคืบคลานหากินอยู่ตามผิวดินและชอนไชไปตามซอกหลืบของเม็ดดิน การชอนไชของไส้เดือนดินทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น คือทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ไม่แน่นทึบและแข็ง เกิดการถ่ายเทอากาศภายในดินดีขึ้น เพิ่มช่องว่างในดิน ช่วยในการอุ้มน้ำของดิน การไหลผ่านของน้ำในดินทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ จึงเหมาะแก่การแทงรากออกไปหาอาหารของพืช และผลจากกระบวนการกินอาหารของไส้เดือนยังช่วยพลิกกลับดินหรือนำแร่ธาตุจากใต้ดินขึ้นมาบนผิวดิน โดยดิน ซากพืชซากสัตว์ เศษอาหาร และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่ไส้เดือนกินเข้าไป จะถูกย่อยสลายและถูกขับถ่ายออกมาเป็นมูล (cast) ซึ่งมีธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมากและอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ดี เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน แคลเซียม และธาตุอาหารอื่น ๆ รวมทั้งช่วยส่งเสริมในการละลายธาตุอาหารพืช ที่อยู่ในรูปอนินทรีย์สารที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้ ไปอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจจำพวกสัตว์ปีก ปลา กบ และหมู

มีตำราทางการแพทย์จากต่างประเทศรายงานผลการวิจัยออกมาว่า ไส้เดือนดินจะมีสารเคมีบางชนิดช่วยในการรักษาโรคหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ส่วนตามตำรายาจีนระบุว่าไส้เดือนดินเป็นอาหารที่ใช้บำรุงกำลัง ยาบำรุงทางเพศ และแก้โรคช้ำใน คนจีนจะกินไส้เดือนที่ปรุงสำเร็จตามสูตรแล้วเป็นอาหารเช้าคู่กับน้ำเต้าหู้ หรือมีการนำไส้เดือนดินมาตากแห้งวางขายแก่ลูกค้าที่ต้องการนำไปเป็นยาบำรุงทางเพศ และยาบำรุงรักษาโรคหัวใจตามตำราจีน ส่วนในไทยก็มีความเชื่อว่าเป็นยาสรรพคุณในการแก้ช้ำในได้ และในปัจจุบันพบว่าไส้เดือนดินสามารถกำจัดเศษอาหารและขยะได้ ที่สำคัญคือไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษแก่ธรรมชาติและมนุษย์เหมือนวิธีการเผา หรือวิธีการฝังกลบที่ยังไม่มีพื้นที่รองรับอย่างเพียงพอ นอกจากนั้นการใช้ไส้เดือนดินกำจัดเศษอาหารและขยะยังได้ปุ๋ยหมัก (Vermicompost) นำมาใช้บำรุงพืชอีกด้วย

จากความสำคัญของไส้เดือนดินดังกล่าว จึงได้มีการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อการค้า สร้างรายได้ให้แก่ชีวิต ใช้ ฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรม เช่น ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ กำจัดเศษอาหารและขยะ

2 ลักษณะรูปร่างของไส้เดือนดิน

ลักษณะทั่วไปของไส้เดือนดินมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว ด้านหัวและท้ายเรียวแหลม ความยาวลำตัวประมาณ 10 - 20 เซนติเมตร ผนังลำตัวชั้นนอกเป็นคิวติเคิลที่ปกคลุมด้วยสารพวกโพลีแซคคาไรด์ เจลาติน และชั้นอีพิเดอร์มิส มีเซลล์ ต่อมต่างๆ ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำเมือก ทำให้ผิวลำตัวชุ่มชื้น ลำตัวแบ่งเป็นปล้องชัดเจนจำนวนประมาณ 120 ปล้อง (ไส้เดือนดินในบ้านเรา) ทางด้านหัวมีช่องปากอยู่กึ่งกลางของปล้องแรก โดยมีติ่งเนื้อ (Prostomium) ทำหน้าที่คล้ายริมฝีปาก แต่ละปล้องจะมีเดือยเล็กๆ ใช้ในการเกาะกับดินเพื่อการเคลื่อนที่ และการจับคู่ผสมพันธุ์ มี Clitellum ซึ่งเกิดจากปล้องใกล้ส่วนหัว จำนวน 3 - 4 ปล้อง รวมกันเป็นปล้องเดียว มีหน้าที่สร้างปลอกหุ้มไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว อวัยวะที่สำคัญจะอยู่ระหว่างปล้องที่ 1 - 30

สำหรับไส้เดือนดินที่พบมากในบ้านเรา จะมี 2 ชนิด คือ พันธุ์ขี้คู้ (Pheretima posthuma ) ลำตัวสีเทา ขนาดใหญ่ยาวประมาณ 6 - 8 นิ้ว พบได้ทั่วไปในดินในสวนผลไม้ หรือในสนามหญ้า ในชั้นดินที่ค่อนข้างลึก กินเศษใบไม้ที่เน่าเปื่อย และดินบางส่วนเป็นอาหาร และ พันธุ์ขี้ตาแร่ (Pheretima peguana ) มีลำตัวเป็นสีแดงออกม่วง ยาวประมาณ 2- 5 นิ้ว อาศัยอยู่ในมูลสัตว์ หรือ กองเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ที่มีความชื้นสูง กินมูลสัตว์ และเศษซากพืชที่เน่าเป็นอาหาร ทั้ง 2 ชนิดมีลักษณะสำคัญอื่น ๆ ดังนี้

  • Clitellum เกิดจากการรวมตัวของปล้องที่ 14 - 16
  • ช่องเปิดสำหรับรับสเปิร์มจากตัวอื่น จำนวน 3 คู่ อยู่ในร่องระหว่างปล้อง 6/7, 7/8 และ 8/9 ร่องละ 1 คู่ เรียก Spermathecal pore หรือ Seminal receptacle pore (เป็นช่องเปิดของถุงรับสเปิร์ม Seminal receptacle)
  • ช่องออกไข่ มี 1 ช่อง อยู่ตรงกลางของปล้องที่ 14 ทางด้านท้อง เรียก Female pore
  • ช่องปล่อยสเปิร์ม จำนวน 1 คู่ อยู่ปล้องที่ 18 ทางด้านท้อง เรียก Male pore
  • ตุ่มสำหรับยึดเกาะในระหว่างผสมพันธุ์ จำนวน 2 คู่ อยู่ในร่องระหว่างปล้อง 17/18 และ 18/19 ร่องละ 1 คู่ เรียก Genita papilla หรือ Copulatory papilla
  • ช่องเปิดของอวัยวะขับถ่าย แทบทุกปล้องทางด้านท้องมีช่องเปิดของอวัยวะขับถ่าย จำนวนปล้องละ 1 คู่ เรียก Nephridiopores
  • ช่องทวาร มี 1 ช่อง อยู่ปลายสุดของปล้องสุดท้าย

.

การแพร่พันธุ์ของไส้เดือนดิน

ถึงแม้ไส้เดือนดินแต่ละตัวมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน แต่ก็จะมีการจับคู่ผสมพันธุ์กัน โดยปกติไส้เดือนดินจะผสมพันธุ์กันในช่วงกลางคืน ไส้เดือนดินสองตัวมาจับคู่สลับหัวสลับหางกันโดยใช้ด้านท้องแนบติดกัน ให้ตำแหน่งของช่องปล่อยสเปิร์ม (ปล้องที่ 18) ของตัวหนึ่ง ตรงกับช่องรับสเปิร์มของอีกตัวหนึ่ง (ปล้องที่ 7 หรือ 8) โดยมีปุ่มสำหรับยึดเกาะในระหว่างผสมพันธุ์กับเมือกบริเวณไคลเทลลัมยึดซึ่งกันและกันไว้ แล้วแต่ละตัวจะปล่อยสเปิร์มของตัวเอง ไปเก็บไว้ในถุงรับสเปิร์ม (Seminal receptacle) ของอีกตัวหนึ่งทีละคู่จนครบทุกคู่ แล้วไส้เดือนดินทั้งสองจะแยกออกจากกัน

เมื่อไส้เดือนดินที่ได้มีการรับสเปิร์มมาแล้วจะวางไข่ บริเวณ clitellum จะมีการสร้างเมือกหนาขึ้นมาแล้วเริ่มแข็งตัวคล้ายเป็นปลอก จากนั้นไส้เดือนดินจะเริ่มขยับตัวถอยหลัง ทำใ้ห้ปลอกเคลื่อนตัวไปทางด้านหัว ในขณะเดียวกันจะมีการปล่อยไข่ออกมาจากช่องออกไข่ (ปล้องที่ 14) ปลอกจะรับไข่เคลื่อนไปจนถึงช่องรับสเปิร์ม (ปล้องที่ 7 หรือ 8) ก็จะได้รับการผสมจากสเปิร์มที่รับมาเก็บไว้ ปลอกจะถูกดันให้เคลื่อนต่อไปจนหลุดออกไปทางหัว ปลายทั้งสองด้านของปลอกจะปิดแล้วแข็งตัวได้เป็นถุงไข่ (Cocoon) รูปไข่สีน้ำตาลแกมเหลือง ขนาดประมาณ 1 - 2 มิลิเมตร มีไข่อยู่ภายใน 3 - 5 ใบ ใช้เวลาประมาณ 4 - 8 สัปดาห์ จะฟักตัวออกมา

ขั้นเตรียมเลี้ยงไส้เดือนดิน

ปัจจุบันนี้การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อกำจัดขยะอินทรีย์ ที่สามารถดำเนินการได้อย่างจริงจัง เป็นต้นแบบที่สามารถนำไปดำเนินการในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ ลักษณะการเลี้ยงไส้เดือนดินที่ให้ผลดีทำได้ดังนี้

  • การเตรียมโรงเรือน เป็นโรงเรือนบ่อซิเมนต์ที่มีหลังคากันฝนและพรางแสง เนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสงสว่าง ในบริเวณบ่อเลี้ยงควรมีตาข่ายปิดด้านบน หรือใช้ตาข่ายกั้นบริเวณด้านข้างรอบโรงเรือนเพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือน
  • บ่อเลี้ยงไส้เดือน มีความกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวแล้วแต่ต้องการ และมีความลึกไม่เกิน 0.5 เมตร
  • บ่อเก็บน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ควรสร้างบริเวณด้านข้างโรงเรือนหรือด้านหลังโรงเรือน ขนาดไม่ใหญ่มากนัก เพื่อรับน้ำหมักจากบ่อเลี้ยงไส้เดือนดินให้ไหลไปรวมได้ง่าย
  • การเตรียมวัสดุรองพื้นเพื่อเป็นที่อาศัยของไส้เดือนดิน ใช้วัสดุอินทรีย์สด เป็นวัสดุรองพื้นหนาประมาณ 6 นิ้ว โดยเน้นส่วนที่เป็นผักสีเขียว และวัชพืช หรือหากเป็นการเลี้ยงเพื่อกำจัดขยะก็จะมีการใช้ขยะสดด้วย แล้วโรยทับด้วยปุ๋ยคอกหนาประมาณ 2 นิ้ว โรยปูนขาวให้ทั่วผิวบน แล้วให้ความชื้นพอเปียกชุ่มแต่ไม่ให้มีน้ำขัง ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จะพบว่าเกิดขบวนการหมัก สังเกตได้โดยมีความร้อนที่สูงขึ้น ทิ้งไว้อีกประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ ความร้อนที่เกิดขึ้นหมดไป วัสดุรองพื้นที่ผ่านการหมักที่สมบูรณ์จะไดุ้มีสีเข้มจนเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะร่วนซุยไม่มีกลิ่นเหม็น
  • การเลี้ยง เมื่อเตรียมวัสดุรองพื้นได้แล้ว จึงเริ่มปล่อยไส้เดือนดินลงเลี้ยง ควรปล่อยในอัตราไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 - 5 ตารางเมตร แล้วแต่เงินทุน หรือวัตถุประสงค์ในการเลี้ยง (ถ้าเลี้ยงเพื่อกำจัดขยะของชุมชน ควรปล่อยไส้เดือนดิน 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร จะช่วยกำจัดขยะสดได้เร็วมาก)
  • การให้อาหาร ใช้เศษผักสีเขียว และวัชพืช โรยไปตามหน้าวัสดุรองพื้นในอัตรา 120 - 150 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (12 - 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว) แต่ถ้าเป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศจะต้องให้อาหารเป็น 2 เท่า ใช้เวลาประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ จะมีปริมาณไส้เดือนดินเพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวของจำนวนที่ปล่อย

.

การเลี้ยงไส้เดือนทำปุ๋ยอินทรีย์

การเลี้ยงไส้เดือนจะช่วยปรับสภาพดิน กำจัดขยะ และได้มูลไส้เดือนทำเป็นปุ๋ย อินทรีย์ธรรมชาติคุณภาพดีมาใช้ในฟาร์ม เพราะไม่มีผลข้างเคียงต่อพืช ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ใช้ได้ กับพืชทุกชนิด เช่น ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น กล้วยไม้ ผักสวนครัวหรือนำไปเพาะต้นกล้าได้

ไส้เดือนมีอยู่มากมายหลายพันธุ์ โดยฟาร์มลุงเคราเลือกเลี้ยงพันธุ์ “แอฟริกันไนท์ครอเลอร์” (African night crawler) หรือที่เรียกกันติดปากว่า AF กับพันธุ์ “ไทเกอร์”(Eisenia foetida) เนื่องจากทั้งสองพันธุ์นี้ มีคุณสมบัติขยายพันธุ์รวดเร็ว และเหมาะเป็นปุ๋ย

คุณภาพดี ส่วนวัสดุที่ใช้เลี้ยง ประยุกต์ได้หลากหลาย เช่น กะละมัง บ่อซีเมนต์ ลังไม้ ฯลฯ หรือชั้นกล่องพลาสติกลิ้นชัก ซึ่งเหมาะกับผู้มีพื้นที่น้อยในการเลี้ยงโดยวิธีการเลี้ยง เริ่มจากเตรียมทำปุ๋ยหมักเพื่อเป็นที่อยู่สำหรับไส้เดือน (Bedding) ใช้ส่วนผสม ของมูลวัว เศษเปลือกผักผลไม้ ฟาง ขี้เลื่อย ใบไม้ ขุยมะพร้าว นำมา คลุกแล้วหมักรวมกันประมาณ 1-2 เดือน ระหว่างนั้นให้รดน้ำพอชุ่มชื้น เมื่อได้แล้ว ใส่ปุ๋ยหมักลงใน

ภาชนะที่จะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นกะละมัง บ่อซีเมนต์ เป็นต้นจากนั้น ปล่อยไส้เดือนลงไป แล้วคอยให้ อาหารไส้เดือนและรดน้ำสม่ำเสมอ เมื่อครบกำหนด 20 วันของรอบการเพาะเลี้ยงนั้น จะหยุดการ รดน้ำต่อเนื่องไปอีก 10 วัน เพื่อเอามูลไส้เดือน