วัดพระธาตุดอยป่าตาล หมู่ 2

วัดดอยป่าตาล เลขที่ 33 หมู่ 8 บ้านเหล่ามะกอก ตำบลเถินบุรี อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 52160

ประวัติความเป็นมา

อายุประมาณ 600 ปี ตั้งอยู่ที่บ้านเหล่ามะกอก ต.เถินบุรี สังกัดคณะสังฆหนิกาย ปูชนียวัตถุบรรจุพุทธเกศา ยอดฉัตรประดับแก้วศักดิ์สิทธิ์ และของมีค่าในวิหาร และพระพุทธรูป นอกจากนั้นยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่บนยอดเขา แม้จะแห้งแล้งแต่ก็ยังมีน้ำอยู่ตลอด ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2264 เดิมชื่อวัดม่อนวัวนอน หรือวัวดอยม่อนวัวนอน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเถิน

ตามตำนากล่าวว่า ในอดีตชาติของพระโพธิสัตว์ ปางเสวยพระชาติเป็นพญาวัว อุสุภราช อันกำเนิดแก่พ่อวัวแม่วัวแดง โดยได้อาศัยทางทิศตะวันออกของแม่น้ำวัง ได้รอนแรมมาสู่ทิศตะวันตกของแม่น้ำวัง ซึ่งเป็นดอยอันร่มเย็น อันเป็นที่อาศัยของบรรดาสัตว์นานาชนิด มียักษ์ใหญ่ 3 ตนขุมแก้วคำขุมแก้วเงิน โดยแม่วัวเคยพาพระโคอุสุภราชมานอน จึงได้ชื่อว่า “ม่อนวัวนอน” คนโบราณจึงเรียกว่าวัดดอยม่อนวัวนอน โดยการค้นพบของพระเถระจันทร์ ศิษย์ของพระมหาสังฆเถระอาทิตย์ โดยที่พระเถระจันทร์ได้ขึ้นไปเก็บต้นยาบนม่อนดอย พบพระธาตุแผ่นจารึกและผอบทองคำ จึงได้ทำการบูรณะเจดีย์ และโดยตำนานกล่าวต่อว่าจะมีนักบุญเดินทางมาจากทางทิศอุดร มาทำการบูรณะวัดดอยป่าตาลให้เป็นปูชนียสถานสืบต่อไป

ในปี พ.ศ. 2471 ครูบาเจ้าศรีวิชัย หรือครูบาศิลธรรม ผู้มีบุญบารมีถืออรัญวาสีแคร่งครัดในจริยวัตร ได้เดินทางมาจากจังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ท่านได้นำคณะสานุศิษย์และคณะศรัทธาในอำเภอเถินและอำเภอใกล้เคียงร่วมกันสร้างสิ่งต่างๆ ณ วัดดอยป่าตาล เช่น วิหาร เจดีย์ โดยที่ในเวลาต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีไว้ว่าเป็นโบราณสถานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2477 โดยได้ถือว่าเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเถินมานาน ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ

และเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ประชาชนจะพร้อมใจกันไปนมัสการและสรงน้ำพระธาตุวัดดอยป่าตาลเป็นประจำทุกปี จึงถือเป็นประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดดอยป่าตาลสืบมาจนถึงปัจจุบัน

วิหาร

มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบล้านนาสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นฝีมือเชิงช่างของท่านครูบา ศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา แผนผังของหลังคาไม่มีการซ้อนชั้น กล่าวคือ โครงสร้างของหลังคาตลอดช่วงอาคาร ยาวเป็นผืนเดียวไม่มีการลดระดับชั้นของหลังคาเหมือนในยุคโบราณ หน้าบันวิหารตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ประดับกระจกเติมพื้นที่หน้าบันแบบภาคกลาง ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยครูบาศรีวิชัย ก่อฝาผนังปิด ทั้งสี่ด้าน มีช่องประตูด้านหน้าและช่องหน้าต่างบริวารซ้าย – ขวา ของอาคาร ภายในประดิษฐานองค์ พระประธานที่ก่อด้วยอิฐถือปูน ธรรมมาสทรง

ปราสาท

และสัตตภัณฑ์ที่ใช้ส าหรับเป็นฐานตั้งเทียนจุดถวาย พระรัตนตรัย พระเจดีย์องค์พระเจดีย์ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของวิหาร ซึ่งเป็นลักษณะทีพิเศษกว่าเจดีย์องค์อื่นๆ เนื่องจากปกติต าแหน่งขององค์เจดีย์จะตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของวิหาร ลักษณะทางศิลปกรรมขององค์เจดีย์ เป็นเจดีย์ทรงล้านนาที่มีฐานเขียนสี่เหลี่ยม ๓ ชั้น ซ้อนลดหลั่นเป็นฐานล่างรองรับฐานปัทม์ ต่อด้วยฐานเขียง กลมซ้อนลดหลั่นกัน ๓ ชั้น รองรับชุดฐานปัทม์ทรงกลมที่ซ้อนลดหลั่นกัน ๓ ชั้น ถัดสูงขึ้นไปเป็นชั้นองค์ระฆัง ที่รองรับฐานบัลลังก์ ต่อขึ้นไปเป็นชุดปล้องไฉน ปลียอด และยอดฉัตรเป็นชุดสูงสุดขององค์เจดีย์ การประดับตกแต่งตั้งแต่องค์ระฆังขึ้นไป มีการประดับตกแต่งด้วยการปิดกระจกเกรียบสีเหลืองทอง ซึ่งท าให้องค์

เจดีย์

มีความสวยงามที่โดดเด่น ประกอบกับตำแหน่งที่ตั้งอยู่บนม่อนดอย จึงท าให้สังเกตเห็นองค์ เจดีย์ได้ตั้งแต่ระยะไกล หอธรรม มีลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้น ตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร ชั้นล่างเป็นอาคารสร้างด้วยการก่ออิฐ ฉาบปูน เจาะช่องประตูด้านหน้า ๑ ช่อง ด้านข้างซ้าย – ขวา เจาะช่องหน้าต่างเพื่อถ่ายเทอากาศและรับแสง ด้านละ ๓ ช่อง ส่วนชั้น ๒ เป็นอาคารไม้ ภายในมีตู้เก็บพระธรรมขนาดใหญ่ว่างไว้ตรงกลางอาคาร โดยสร้าง ติดกับตัวอาคารอย่างถาวร ในตู้มีการเก็บคัมภีร์ใบลานที่เขียนเป็นตัวอักษรล้านนา ปัจจุบันเหลืออยู่จำนวนกี่ผูก




ความเชื่อ

ในความเชื่อยักษ์ 2 ตน เรียกว่าในความเชื่อยักษ์ 2 ตน เรียกว่า ยักษ์กุมภัณฑ์ ตามประวัติยักษ์ 2 ตนนี้กล่าวไว้ว่า โดนถูกสาบมาจากเทพชั้นสูงให้เฝ้าดูแลรักษาปกป้องปูชนียสถาน พร้อมกับบำเพ็ญเพียรตบะ เพื่อให้ได้พ้นกรรมที่เคยก่อกระทำไว้

จากรูปปั้นยักษ์สอตนที่ทางเข้าแล้วยังมีรูปปั้นที่แปลกตานั่นคือปกติเราจะเห็นการปั้นเป็นรูปสิงห์หรือรูปสัตว์ในตำนานหรือวรรณกรรมแต่สำหรือรูปปั้นนี้กลับมีลักษณะที่แตกต่างกล่าวคือเป็นการเีลียนท่านั้งของสิงห์แต่กลับเป็นใบหน้าคน ซึ่ง สิงห์หน้าคน เรียกว่า พระสิงห์ตัวเมีย ตามประวัติกล่าวไว้ว่า เดิมที พระสิงห์ตัวนี้เป็นมนุษย์ เป็นธิดาของพระยา นางมีนิสัยชอบเที่ยวกลางคืน คืนหนึ่ง นางได้สมสู่กับสิงห์ตัวผู้ จนมีลูกหลานด้วยกัน ก่อนนางตายได้สั่งเสียลูกหลานไว้ว่า ถ้าปั้นสิงห์ตัวผู้ไว้ ณ ที่แห่งหนใดก็ตาม ให้ปั้นรูปของตน โดยให้ตัวเป็นสิงห์หน้าเป็นนาง ไว้ที่นั่นด้วย โดยให้ปั้นสิงห์ตัวผู้ไว้ด้านทิศตะวันออก และปั้นตนไว้ด้านทิศตะวันตก(แต่ที่วัดดอยป่าตาลสิงห์ตัวนี้หันหน้าไปทางทิสตะวันออก

ในเรื่องความเชื่อยักษ์เป็นผู้สถิตหรือรักษา ตามโบราณสถานเก่าๆ จะเป็นวัดร้าง กู่เก่า เจดีย์เก่า ที่มีสมบัติฝั่งหรือสิ่งมีค่าหรือสิ่งที่เคารพบูชาของคนในอดีตซ่อนอยู่ ยักษ์ จะคอยพิทักษ์รักษาสมบัติเหล่านั้นเอาไว้ไม่ไห้ใครมาแตะต้อง ยักษ์ที่อยู่ในวัดส่วนใหญ่เชื่อกันว่า สำหรับคนในชุมชนล้านนาต่างมีความเชื่อว่าถ้าใครไปลบลู่ผีกับยักษ์ เช่นไปทำลายสิ่งของ ลักขโมย ไปถ่ายของเสียรดในโบราณสถานเช่น วัดเก่าเจดีย์เก่า กู่เก่า ก็จะโดนยักษ์เล่นงานและถ้าโดนผีกับยักษ์เล่นงานแล้ว โอกาสรอดชีวิตนั้นมีน้อยมาก ชาวบ้านจะมีความเกรงกลัวยักษ์เป็นอันมาก

วันเพ็ญเดือน 6 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ) เรียกว่า วันวิสาขบูชา จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ โดยก่อนการจัดงานประเพณี คณะชาวบ้านเหล่ามะกอกทุกครัวเรือน ต้องช่วยกันเตรียมงาน คือ แผ้วถางหญ้าบริเวณวัด รอบๆวัด จัดเตรียมอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ เช่น เต๊นท์, โต๊ะ, เก้าอี้, ถ้วยชาม, แก้วน้ำ ของใช้ต่างๆ จนเรียบร้อย โดยมีบ้านป่าตาล บ้านน้ำโท้ง และบ้านแท่นดอกไม้ มาช่วยอีกส่วนหนึ่งด้วย ในวันงานจะ มีพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอเถิน และอำเภอใกล้เคียง ได้พร้อมใจเดินทางมานมัสการ และสรงน้ำพระธาตุวัดดอยป่าตาลเป็นประจำทุกปีมาแต่โบราณกาล จนถือเป็นประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดดอยป่าตาลมาจนถึงทุกวัน