การทำนาบัว

การทำนาข้าวในพื้นที่ที่ลุ่มหลายแห่งมักจะประสบปัญหาถูกน้ำท่วมทำให้ได้รับความเสียหายอยู่เสมอๆตำบลกระทุ่มแพ้วก็เคยประสบปัญหานี้มาชาวบ้านคนนี้ชื่อนางมะณี รัตนชน อายุ 56 ปี ชาวบ้านตำบลกระทุ่มแพ้ว ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักตนบอกเมื่อช่วงฤดูฝนนั้นการทำนาข้าวถูกผลกระทบอย่างมากจากฝตกหนักจึงทำให้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ตนจึงหันมาทำนาบัวจะมีความเหมาะสมดีกว่า ไม่ต้องเสี่ยงกับการถูกน้ำท่วม และการทำนาบัวยังง่ายกว่าการทำนาข้าว เพราะปลูกเพียงครั้งเดียวก็สามารถเก็บผลผลิตได้เรื่อยๆ ไม่ต้องลงทุนทุกปี นอกจากนั้นแล้วการทำนาบัวยังมีรายได้ดีกว่าการทำนาข้าวอีกด้วย

ฤดูปลูกบัว

ควรเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม

พื้นที่สำหรับทำนาบัว

ควรเป็นพื้นที่สมำเสมอไม่ลุ่มๆ ดอน ๆ หรือมีจอมปลวก ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ถ้าเป็นพื้นที่ไม่สมํ่าเสมอ ควรใช้รถเกลี่ย หรือไถปรับระดับ ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการให้น้ำ การเตรียมดินและบำรุงรักษา แต่ถ้าใช้พื้นที่ที่เป็นแปลงนาอยู่เดิม พื้นที่จะสม่ำเสมอดีอยู่แล้ว พื้นที่การทำนาบัวควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ห้วย หนอง บึง สระ

การเตรียมดิน
เมื่อเลือกสถานที่ได้แล้ว ยกคันดินโดยรอบให้สูงประมาณ 1 เมตร เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้ ถ้าต้องการจะเลี้ยงปลาในนาบัวด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องยกคันดินให้สูงประมาณ 2 เมตรและกว้างประมาณ 3 เมตร ดังนั้นนาบัวแปลงหนึ่ง ๆ ควรมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 5 ไร่ เพื่อยกคันดิน ที่ดินที่ไม่สม่ำเสมอ อาจทำแปลงใหญ่ขนาด 30-100 ไร่ก็ได้ แต่เพื่อสะดวกในการให้น้ำและบำรุงรักษาเนื้อที่แปลงหนึ่งๆ ควรมีขนาด 20-25 ไร่ หลังจากยกคันดินแล้ว ไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-15 วัน แล้วไถแปรอีกครั้ง แล้วสูบเอาน้ำเข้าให้ระดับน้ำสูงจากพื้นประมาณ 15 เซ็นติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน ให้ต้นอ่อนตัวเพื่อปักดำบัวต่อไป