กูย

ที่มา https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=16651
ที่มาhttps://sites.google.com/a/srk.ac.th/arlue_law/wathnthrrm-ba-nxalu
ที่มา: https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=16651
ที่มาhttps://weekdayspecialthailand.com/2748

ประวัติชนชาติกูย

ชาวกวยหรือกูย เป็นกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งที่มีสายสัมพันธุ์ใกล้ชิด กับข่า สามารถใช้ภาษาสื่อสารเข้าใจกันได้ แต่เดิมได้อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำโขงทางตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนกัมพูชาในอดีตแถบเมืองอัตตะปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์ตอนใต้ของลาว ในปัจจุบัน ต่อมาได้สูญสลายไปเพราะถูกผนวกเข้ากับชนเผ่าไทย ที่เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนส่วนนี้ แต่ก็มีชาวกูยอีกจำนวนหนึ่งที่รักความอิสระสันโดษ ได้อพยพจากเมืองอัตตะปือแสนแป สาละวัน เข้ามาตั้งถิ่นฐานอันว่างเปล่า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตภาคอีสานตอนใต้ มีแม่น้ำมูลและลำน้ำชีไหลผ่าน โดยเฉพาะ ชาวกูยตำแรย (ชาวกูยจับช้าง) ซึ่งจำเป็นต้องมีน้ำใช้เลี้ยงช้างด้วยเพราะชาวกูยเป็นชนกลุ่มรักสงบ และมีวัฒนธรรมภาษาเป็นของกลุ่มเฉพาะของตนเองจึงมีหลักฐานปรากฏน้อย ต่อมาเริ่มเป็นที่รู้จักของราชสำนักในสมัยอยุธยา

ในอดีต อีสานใต้เป็นดินแดนอิสระ เป็นเอกราชส่งผลไห้ชาวกูย หรือ ข่า ในแขวงเมืองอัตตะปือ จำปาศักดิ์ และสาละวัน ประเทศลาว เข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่ดินแดนแถบอีสานใต้ จนกระทั้งมีชุมชนกูย ได้ปรากฏชัดเจนขึ้นและทำการเคลื่อนไหวทางการเมืองในอีสานใต้ (เขมรป่าดง) ซึ่งขณะนั้นอำนาจการปกครองของเมืองมายได้เข้าสู่พื้นที่เขตเขมรป่าดง แต่ทำการปกครองหัวเมืองในอีสานได้อย่างหลวมๆ

สมัยพระเจ้าเอกทัศน์ (พ.ศ. 2301-2310) เมื่อพระยาช้างเผือกแตกโรงออกจากกรุงออกไปอยู่ในป่าดงทางตะวันตก แขวงเมืองจำปาศักดิ์ มีผู้นำชาวกูย 5 คน ให้ความช่วยเหลือข้าหลวงจากอยุธยา ในการติดตามเอาตัวช้างเผือกกลับคืนเมืองหลวงได้ จึงได้รับการตอบแทนความดีความชอบ ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลดังกล่าว คือ ให้ตากะจะ เป็นหลวงสุวรรณ เชียงขัน เป็นหลวงปราบ เชียงฆะ เป็นหลวงเพชร เชียงปุ่ม เป็นหลวงสุรินทรภักดี เชียงลี เป็นหลวงศรีนครเตา

ผู้นำชาวกูยได้ทำราชการขึ้นอยู่กับเมืองพิมาย มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ นำช้าง, ม้า, แก่นสน, ยางสน, ปีกนก, นอระมาด, งาช้าง, ขี้ผึ้ง, น้ำผึ้ง สิ่งของดังกล่าวเรียกว่า “ส่วย” โดยนำไปส่ง ณ กรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯในเวลาต่อมา โดยตั้งให้ หลวงสุวรรณ (ตากะจะ) ป็นพระไกรภักดีศรีนครลำดวน จ้าเมือง ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน เป็นเมืองขุขันธ์ ให้หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็นพระสังฆะบุรี ศรีนครวัด เจ้าเมืองบ้านโคกอัดจะ (บ้านดงยาง) เป็นบ้านสังฆะ ให้หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุ่ม) เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวางเจ้าเมือง ตั้งบ้านคูประทายสมัน (คือเมืองสุรินทร์) ให้หลวงศรีนครเตา (เชียงสี หรือ ตาพ่อควาน) เป็นพระศรีนครเตาเจ้าเมือง ยกบ้านกุดหวาย (หรือบ้านเมืองเตา) เป็นเมืองรัตนบุรี ขึ้นกับเมืองพิมาย

เหตุเพราะได้มีการจัดส่งของป่านำส่งไปยังกรุงศรีอยุธยา ผู้คนทั่วไปจึงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ส่วย” แต่ชาวกูยไม่ชอบคำๆนี้ โดยจะเรียกตัวเองว่า กวย หรือ กูย แปลว่า “คน”

ที่มาhttp://cul.bru.ac.th/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B45/

ารแต่งกาย


การแต่งกายของชาวกูย- หญิงสูงอายุมักจะนุ่งผ้าลายเฉพาะของชาวกูย และนิยมใส่สร้อยคอลูกปัดเงินและชอบทัดดอกไม้ที่หู ชาวกูยมีธรรมเนียมว่า จะต้องดูแลการแต่งกายของแม่ที่สูงอายุให้ดี ให้แม่นุ่งผ้าไหม เป็นต้น จึงจะถือว่าดูแลดี ในปัจจุบันการทอผ้าไหมหรือผ้าหรือผ้าฝ้ายเริ่มลดน้อยลง ชาวกูยส่วนใหญ่นิยมที่จะซื้อด้านจากตลาดมาทอ เพราะสะดวกกว่าสามารถพบการทอผ้าไหมของชาวกูยได้ที่บ้านตรึมตำลตรึม บ้านแตล อำเภอศีขรภูมิ บ้านสำโรงทาบ ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ การทอผ้าของชาวกูยแบ่งออกเป็น การทอผ้านุ่ง ผ้าสไบหรือผ้าเบี่ยง , ผ้าหัวซิ่นและตีนซิ่นผ้านุ่ง สตรีมักนิยมทอหมี่คั่นเป็นแนวทางดิ่ง ใช้ไหมควบยืนพื้นสีน้ำตาลลอมดำ มีหัวซิ่นที่ยืนพื้นสีแดงลายขิด ตีนซิ่นพื้นดำขนาด 23 นิ้ว มีริ้วสีขาวเหลืองแดง ผ้านุ่งแบ่งออกเป็นสี่ชนิดคือ กระจิกน้อย คล้ายผ้าหางกระรอกหรือผ้ากระเนียวของชาวไทยเขมร มีลักษณะจุออกเหลือบมัน เป็นผ้าสำหรับผู้ชายนุ่งในพิธีการสำคัญต่างๆลักษณะการนุ่งพับจับจีบด้านหน้า เหมือนการนุ่งโสร่งของกลุ่มชาวไทยเขมร นอกจากนี้ยังใช้ในการคลุมศพคนตายด้วยโสร่ง เป็นผ้าตารางสี่เหลี่ยมใหญ่มีหลายสี ในการทอจะนำเส้นไหมมาควบกันสองเส้น เพื่อให้เกิดความมันและหนา มีลักษณะการทอเหมือผ้าโสร่งของชาวไทยลาวหรือไทยเขมร จะกวี เป็นผ้าที่มีลักษณะคล้ายผ้าผ้าอันลูซัมของชาวไทยเขมร จะมีลายยาวทางเป็นร่องเล็กๆใช้นุ่งในงานสำคัญ เช่น งานแต่งงานหรือเป็นผ้าไหว้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายเพื่อไหว้ปู่ย่าผู้ที่เป็นสะใภ้จะต้องทอหัวซิ่นและตีนซิ่นมอบให้ด้วยโดยไม่ต้องเย็บต่อกันจะกวีหรือผ้าถุง จิกโฮล เป็นประเภทผ้ามัดหมี่ลายต่างๆการนุ่งผ้าประเภทนี้จะต้องต่อตีนซิ่นและหัวซิ่นเช่นเดียวกับจะกวีผ้าสไบ จะทอด้วยผ้ายกดอกหรือยกเขา เรียกว่า ตะกอ ผ้าสไบที่มีลักษณะการทอเช่นนี้เรียกว่า ผ้าแก๊บ จะทอแล้วนำมาตัดเป็นตัวเสื้อ และผ้าสไบ ผู้ชายจะใช้ผ้าขาวม้าสองผืนเป็นผ้าเบี่ยงในการแต่งกายออกงานพิธี ผู้หญิงใช้ผ้าไหมยกดอกสีดำ หรือสีขาวเป็นผ้าเบี่ยง เรียกว่า สไบแวง ( สไบดำ ) หรือสไบบั๊วะ ( สไบขาว ) นอกจากนี้ยังมีผ้าสไบโพกหัว เรียกว่า สไบเจียดตรุย ทอด้วยพื้นสั้นขนาด 12 ล็อบ เก็บลายขิด 45 ลาย จัดระยะลายเป็นระบบ มีชายครุยทั้งสองข้าง ห้อยลูกปัดเล็กๆเรียกว่า ปอนจุ๊ ใช้โพกศีรษะทั้งชาย – หญิงเวลาออกงานเช่น แห่บั้งไฟบวชนาคหัวซิ่นและตีนซิ่น หัวซิ่นเรียกว่า ฮีมเปิล จะทอเป็นลายขิดคล้ายกับของไทยลาวซึ่งใช้สำหรับต่อเป็นหัวซิ่น เวลานุ่งจะทิ้งชายลงมาให้ห้อยเป็นพกไว้ใส่เงินหรือสิ่งของอย่างอื่นที่จำเป็น ผ้าคาดเอวของผู้ชายจะทอเหมือนหัวซิ่นแต่มีความกว้างมากกว่า โดยยืนพื้นสีแดงเช่นกัน เก็บลายเป็นขิดเป็นระยะๆ การทำผ้าคาดเอวจะทำจากผ้าขิดหัวซิ่นของผู้หญิงเพื่อเป็นสิ่งแทนตัวในยามไกลบ้าน สำหรับตีนซิ่นมีสองชนิดคือ เจิง หรือ ยืง มีความกว้างประมาณ 2 นิ้ว นิยมสีดำโดยทอเป็นผ้าฝ้าย ส่วนการใช้ผ้าฝ้ายทอเป็นเชิงนั้นก็เพื่อให้ซิ่นมีน้ำหนัก ส่วนกระบูลเป็นตีนซิ่นที่มีลายเป็นผ้ามัดหมี่ เหมือนกะโบลของชาวไทยเขมร อาจเพราะรับเอาวัฒนธรรมมาจากชาวไทยเขมร ชาวกูยจะเรียกผ้าที่มีลวดลายทั้งหลายว่า ผ้าโฮลหรือ จิกโฮลการกินการอยู่ของชาวกูย- มีลักษณะคล้ายกับเขมร แต่มีบางปห่งรับประทานข้าวเหนียว สมัยก่อนรับประทานอาหารที่สุกแล้ว แต่บางส่วนหันมารับประมานลาบ ก้อย เหมือนคนเผ่าลาว



ที่มา:https://schoolonly.wordpress.com/
ที่มา:https://schoolonly.wordpress.com/
ที่มา:https://schoolonly.wordpress.com/