แหล่งเรียนรู้

หลวงปู่แก้ว พระคู่เมืองอำเภอกุดจับ

วัดอัมพวันวิทยาราม เป็นวัดที่ประดิษฐานหลวงปู่แก้วศักดิ์สิทธิ์ผู้คนที่ไปอำเภอกุดจับต้องแวะเข้าไปคารวะเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอกุดจับ

ประวัติหลวงปู่แก้ว

หลวงปู่แก้วเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 83 นิ้ว สูง 145 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในวิหาร ภายในบริเวณกำแพงแก้วพระอุโบสถวัดอัมพวันวิทยาราม บ้านเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ถือเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลให้ผู้ที่เคารพและเชื่อถือประสบสมหวังนานัปการ นับเป็นที่พึ่งและเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ ของชาวอำเภอกุดจับสำคัญยิ่ง



ประวัติหลวงปู่แก้ว กล่าวกันว่าเมื่อครั้งเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ (เมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน) ได้แผ่อำนาจการปกครองมาทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง มีชาวลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่า “ลาวพวน” ได้อพยพมาทางอำเภอโพนพิสัยและตำบลคอกช้าง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย แผ่ขยายมาทางบ้านน้ำสวยและอำเภอบ้านผือ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน และตั้งเมืองขึ้นปกครองเรียกว่า “เมืองราชคฤห์” เจ้าอนุวงศ์ได้มอบหมายให้ พระยาคงคามาปกครอง พระยาคงคาได้แต่งงานกับนางเพีย น้องสาวของพระวอและพระตา เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภูหรือจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) พระวอ พระตาสองพี่น้อง เป็นเชื้อพระวงศ์เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ พยายามคิดกบฏแต่ไม่สำเร็จ จึงได้นำทหารของตัวเองหนีมาตั้งเมืองใหม่คือ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระวอและพระตาได้ตั้งฐานทัพเป็นด่านหน้าบริเวณน้ำตกเฒ่าโต้แห่งภูพานคำ





พระเจ้าอนุวงศ์พยายามแผ่อำนาจ เพื่อจะปราบพระวอพระตาโดยแต่งตั้งพระยาเชียงสาเป็นแม่ทัพ พระยาเชียงสายกทัพถึงเชียงคำได้ปะทะกับทหารของพระวอพระตา สู้ทหารของพระวอพระตาไม่ได้จึงแตกพ่ายถอยทัพกลับไป มาตั้งมั่นอยู่บ้านขอนสีดา (บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหลวงปัจจุบัน) พระยาเชียงสาได้แจ้งข่าวให้พระยงคงคาน้องชายยกทัพไปช่วย แต่นางเพียผู้เป็นภรรยาทราบดีว่า ความสามารถในการรบของสามีคงสู้พระวอพระตาผู้เป็นพี่ชายไม่ได้ กลัวสามีจะเป็นอันตราย และกลัวพี่ชายจะตำหนิ จึงพยายามหน่วงเหนี่ยวสามีไว้ กองทัพของพระวอพระตาได้ยกติดตามพระยาเชียงสาและได้เกิดการรบพุ่งกันอีกครั้งหนึ่ง พระยาเชียงสาได้รับบาดเจ็บสาหัส แจ้งให้พระยาคงคากวาดต้อนผู้คน และเสบียงอาหารกลับนครเวียงจันทน์ ยกทัพกลับถึงบ้านน้ำสวยพระยาเชียงสาก็ถึงแก่กรรม เมืองราชคฤห์ก็ล่มสลาย วัดวาอารามต่าง ๆ ปล่อยรกร้างเป็นเวลานานกว่า 200 ปี เช่น วัดอัมพวันวิทยาราม (วัดบ้านเพีย) วัดเชียงคงบ้านผักกาดย่า วัดดงหวาย (ตั้งอยู่บริเวณห้วยแล้งทิศตะวันออกของวัดอัมพวันวิทยาราม) วัดบ่องีมบ้านหันเทา วัดหนองสระพัง(ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดอัมพวันวิทยาราม) วัดดงสะคู วัดดงธาตุ วัดโนนธาตุ วัดดงบัง วัดบ้านโพธิ์ วัดพระยาธรรม (ตั้งอยู่ริมห้วยหลวงบ้านดงหมากหลอด) ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และวัดบ้านนาแอง ฯลฯ.





หลวงปู่แก้ว เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระยาคงคาครองเมืองราชคฤห์ โดยมีอ้ายใหญ่เชียงคงและเฒ่าสุดินเป็นช่างก่อสร้าง อ้ายใหญ่เชียงคงได้นำแก้วสารพัดนึกมาบรรจุเป็นหัวใจหลวงปู่แก้วและได้นำงาช้างซึ่งลงอักขระยันต์ต่าง ๆ มาบรรจุเป็นแขนขา จึงถือเป็นองค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่มีคนเคารพนับถือสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยเมืองราชคฤห์

หลังจากที่พระยาคงคาและพระยาเชียงสาพ่ายแพ้แก่กองทัพของพระวอพระตา และกวาดต้อนผู้คนกลับนครเวียงจันทน์ ปล่อยให้เมืองราชคฤห์ ตลอดทั้งวัดวาอารามต่าง ๆ รกร้าง ต้นไม้ขึ้นปกคลุม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์ ต่อมาได้มีหมอช้างชื่อนายคำมี มาจากบ้านผักปัง อำเภอภูเขียวจังหวัดชัยภูมิ มาคล้องช้างป่าที่บริเวณอำเภอหนองวัวซอปัจจุบัน ได้นำช้างป่าที่คล้องได้ จำนวน 1 เชือกมาเลี้ยงไว้ที่กุดโป่งบ้านโสกแก และได้เที่ยวดูทำเลพื้นที่ เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะแก่การทำไร่ทำนา โดยเฉพาะบริเวณหนองไฮ หนองจำปา (บริเวณบ้านเพียปัจจุบัน) จึงกลับไปนำญาติพี่น้องมาเลือกจับจองที่ดินและที่ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นใหม่ ในระยะแรกมีนายคำมี กำนันลี พ่อตู้ดี เฒ่างูเหลือม และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านเพีย” โดยนำชื่อนางเพียภรรยาของพระยาคงคามาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน เพราะเห็นว่านางเพียเป็นผู้มีจิตใจรักสงบ ไม่ชอบการรบราฆ่าฟัน



เมื่อตั้งหมู่บ้านเพียขึ้นแล้ว ก็มีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นและกลายเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2488 ได้ย้ายวัดมาจากบริเวณตลาดสุขาภิบาลกุดจับ มาอยู่บริเวณวัดอัมพวันวิทยารามปัจจุบัน ก็เริ่มปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปหลวงปู่แก้ว โดยมีพระครูสถิตธรรมรัตน์ (หลวงปู่โถน) เจ้าคณะตำบลกุดจับ ได้ซ่อมแซมพระสอให้อยู่ในสภาพเดิม ในปี พ.ศ. 2535 ได้ปรับพื้นที่เพื่อที่จะทำการก่อสร้างวิหารประดิษฐานหลวงปู่แก้ว ได้พบพระพุทธรูปและวัตถุมงคลมากมาย ข่าวแพร่ไปยังผู้ที่เคารพนับถือ ยิ่งเพิ่มแรงศรัทธามากขึ้นและได้ลงมือทำการปลูกสร้างพระวิหารแก้ว เพื่อเป็นที่ประดิษฐานหลวงปู่แก้ว โดยมีคุณพ่อยิ่งยง สุชนวนิช และคุณพ่อโกเมนทร์ ตันติวิวัฒนพันธ์ เป็นผู้นำในการก่อสร้าง ร่วมกับชาวอำเภอกุดจับและอำเภอใกล้เคียง เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 ใช้งบประมาณจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค เป็นเงินทั้งสิ้น 3,613,418 บาท ต่อจากนั้นได้สร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บรักษาพระพุทธรูปและวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่ขุดพบ เสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2540



สำหรับผู้ที่จะไปกราบไหว้หลวงปู่แก้วนั้น สามารถไปได้ทุกเวลาเพราะเป็นวิหารเปิด ไม่มีพิธีมากมายนัก เพียงนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาที่แท่นบูชาแล้วขึ้นไปกราบหลวงปู่แก้วบนวิหาร โดยถอดรองเท้าไว้ข้างล่าง ก่อนกราบกล่าวคำบูชา ดังนี้ “ เมตตา เกจิยัง สติปันโน ชโยนิจัง” กล่าว 9 ครั้ง ตั้งจิตอธิษฐานแล้วกราบลง 3 ครั้ง ท่านว่าเป็นมงคลยิ่งแล.

ที่มา วัดอัมพวันวิทยาราม (หลวงปู่แก้ว)


วัดอัมพวันวิทยาราม เป็นวัดที่ประดิษฐานหลวงปู่แก้วศักดิ์สิทธิ์ผู้คนที่ไปอำเภอกุดจับต้องแวะเข้าไปคารวะเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอกุดจับ

ประวัติหลวงปู่แก้ว

หลวงปู่แก้วเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 83 นิ้ว สูง 145 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ในวิหาร ภายในบริเวณกำแพงแก้วพระอุโบสถวัดอัมพวันวิทยาราม บ้านเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ถือเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลให้ผู้ที่เคารพและเชื่อถือประสบสมหวังนานัปการ นับเป็นที่พึ่งและเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ ของชาวอำเภอกุดจับสำคัญยิ่ง



ประวัติหลวงปู่แก้ว กล่าวกันว่าเมื่อครั้งเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ (เมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน) ได้แผ่อำนาจการปกครองมาทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง มีชาวลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่า “ลาวพวน” ได้อพยพมาทางอำเภอโพนพิสัยและตำบลคอกช้าง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย แผ่ขยายมาทางบ้านน้ำสวยและอำเภอบ้านผือ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานีในปัจจุบัน และตั้งเมืองขึ้นปกครองเรียกว่า “เมืองราชคฤห์” เจ้าอนุวงศ์ได้มอบหมายให้ พระยาคงคามาปกครอง พระยาคงคาได้แต่งงานกับนางเพีย น้องสาวของพระวอและพระตา เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลุ่มภูหรือจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) พระวอ พระตาสองพี่น้อง เป็นเชื้อพระวงศ์เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ พยายามคิดกบฏแต่ไม่สำเร็จ จึงได้นำทหารของตัวเองหนีมาตั้งเมืองใหม่คือ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน พระวอและพระตาได้ตั้งฐานทัพเป็นด่านหน้าบริเวณน้ำตกเฒ่าโต้แห่งภูพานคำ





พระเจ้าอนุวงศ์พยายามแผ่อำนาจ เพื่อจะปราบพระวอพระตาโดยแต่งตั้งพระยาเชียงสาเป็นแม่ทัพ พระยาเชียงสายกทัพถึงเชียงคำได้ปะทะกับทหารของพระวอพระตา สู้ทหารของพระวอพระตาไม่ได้จึงแตกพ่ายถอยทัพกลับไป มาตั้งมั่นอยู่บ้านขอนสีดา (บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหลวงปัจจุบัน) พระยาเชียงสาได้แจ้งข่าวให้พระยงคงคาน้องชายยกทัพไปช่วย แต่นางเพียผู้เป็นภรรยาทราบดีว่า ความสามารถในการรบของสามีคงสู้พระวอพระตาผู้เป็นพี่ชายไม่ได้ กลัวสามีจะเป็นอันตราย และกลัวพี่ชายจะตำหนิ จึงพยายามหน่วงเหนี่ยวสามีไว้ กองทัพของพระวอพระตาได้ยกติดตามพระยาเชียงสาและได้เกิดการรบพุ่งกันอีกครั้งหนึ่ง พระยาเชียงสาได้รับบาดเจ็บสาหัส แจ้งให้พระยาคงคากวาดต้อนผู้คน และเสบียงอาหารกลับนครเวียงจันทน์ ยกทัพกลับถึงบ้านน้ำสวยพระยาเชียงสาก็ถึงแก่กรรม เมืองราชคฤห์ก็ล่มสลาย วัดวาอารามต่าง ๆ ปล่อยรกร้างเป็นเวลานานกว่า 200 ปี เช่น วัดอัมพวันวิทยาราม (วัดบ้านเพีย) วัดเชียงคงบ้านผักกาดย่า วัดดงหวาย (ตั้งอยู่บริเวณห้วยแล้งทิศตะวันออกของวัดอัมพวันวิทยาราม) วัดบ่องีมบ้านหันเทา วัดหนองสระพัง(ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดอัมพวันวิทยาราม) วัดดงสะคู วัดดงธาตุ วัดโนนธาตุ วัดดงบัง วัดบ้านโพธิ์ วัดพระยาธรรม (ตั้งอยู่ริมห้วยหลวงบ้านดงหมากหลอด) ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และวัดบ้านนาแอง ฯลฯ.





หลวงปู่แก้ว เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระยาคงคาครองเมืองราชคฤห์ โดยมีอ้ายใหญ่เชียงคงและเฒ่าสุดินเป็นช่างก่อสร้าง อ้ายใหญ่เชียงคงได้นำแก้วสารพัดนึกมาบรรจุเป็นหัวใจหลวงปู่แก้วและได้นำงาช้างซึ่งลงอักขระยันต์ต่าง ๆ มาบรรจุเป็นแขนขา จึงถือเป็นองค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่มีคนเคารพนับถือสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยเมืองราชคฤห์

หลังจากที่พระยาคงคาและพระยาเชียงสาพ่ายแพ้แก่กองทัพของพระวอพระตา และกวาดต้อนผู้คนกลับนครเวียงจันทน์ ปล่อยให้เมืองราชคฤห์ ตลอดทั้งวัดวาอารามต่าง ๆ รกร้าง ต้นไม้ขึ้นปกคลุม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์ ต่อมาได้มีหมอช้างชื่อนายคำมี มาจากบ้านผักปัง อำเภอภูเขียวจังหวัดชัยภูมิ มาคล้องช้างป่าที่บริเวณอำเภอหนองวัวซอปัจจุบัน ได้นำช้างป่าที่คล้องได้ จำนวน 1 เชือกมาเลี้ยงไว้ที่กุดโป่งบ้านโสกแก และได้เที่ยวดูทำเลพื้นที่ เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะแก่การทำไร่ทำนา โดยเฉพาะบริเวณหนองไฮ หนองจำปา (บริเวณบ้านเพียปัจจุบัน) จึงกลับไปนำญาติพี่น้องมาเลือกจับจองที่ดินและที่ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นใหม่ ในระยะแรกมีนายคำมี กำนันลี พ่อตู้ดี เฒ่างูเหลือม และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านเพีย” โดยนำชื่อนางเพียภรรยาของพระยาคงคามาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน เพราะเห็นว่านางเพียเป็นผู้มีจิตใจรักสงบ ไม่ชอบการรบราฆ่าฟัน



เมื่อตั้งหมู่บ้านเพียขึ้นแล้ว ก็มีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นและกลายเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ในปี พ.ศ. 2488 ได้ย้ายวัดมาจากบริเวณตลาดสุขาภิบาลกุดจับ มาอยู่บริเวณวัดอัมพวันวิทยารามปัจจุบัน ก็เริ่มปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปหลวงปู่แก้ว โดยมีพระครูสถิตธรรมรัตน์ (หลวงปู่โถน) เจ้าคณะตำบลกุดจับ ได้ซ่อมแซมพระสอให้อยู่ในสภาพเดิม ในปี พ.ศ. 2535 ได้ปรับพื้นที่เพื่อที่จะทำการก่อสร้างวิหารประดิษฐานหลวงปู่แก้ว ได้พบพระพุทธรูปและวัตถุมงคลมากมาย ข่าวแพร่ไปยังผู้ที่เคารพนับถือ ยิ่งเพิ่มแรงศรัทธามากขึ้นและได้ลงมือทำการปลูกสร้างพระวิหารแก้ว เพื่อเป็นที่ประดิษฐานหลวงปู่แก้ว โดยมีคุณพ่อยิ่งยง สุชนวนิช และคุณพ่อโกเมนทร์ ตันติวิวัฒนพันธ์ เป็นผู้นำในการก่อสร้าง ร่วมกับชาวอำเภอกุดจับและอำเภอใกล้เคียง เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2535 ใช้งบประมาณจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค เป็นเงินทั้งสิ้น 3,613,418 บาท ต่อจากนั้นได้สร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บรักษาพระพุทธรูปและวัตถุมงคลต่าง ๆ ที่ขุดพบ เสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2540



สำหรับผู้ที่จะไปกราบไหว้หลวงปู่แก้วนั้น สามารถไปได้ทุกเวลาเพราะเป็นวิหารเปิด ไม่มีพิธีมากมายนัก เพียงนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาที่แท่นบูชาแล้วขึ้นไปกราบหลวงปู่แก้วบนวิหาร โดยถอดรองเท้าไว้ข้างล่าง ก่อนกราบกล่าวคำบูชา ดังนี้ “ เมตตา เกจิยัง สติปันโน ชโยนิจัง” กล่าว 9 ครั้ง ตั้งจิตอธิษฐานแล้วกราบลง 3 ครั้ง ท่านว่าเป็นมงคลยิ่งแล.

ที่มา วัดอัมพวันวิทยาราม (หลวงปู่แก้ว)