ความสัมพันธ์กับชุมชน
กับการส่งเสริมการเรียนรู้

จากการที่นายอบ บัวตุม บริหารจัดการศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลบ้านทาน พร้อมด้วยครู กศน.ตำบลบ้านทาน เข้ารับการอบรมพัฒนาฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะ มีความชำนาญ ประชาชนและผู้เรียนที่มาเรียนรู้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ ลดต้นทุนการผลิต และส่งเสริมการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ การปรับปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกแบบเกษตรธรรมได้อย่างดี การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและภาคีเครือข่าย ส่งผลให้ ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลบ้านทาน ได้รับการยอมรับหน่วยงานราชการ องค์กร เอกชนต่างๆ ในการเข้าศึกษาดูงาน อีกทั้งยังดำเนินการขยายผลการสร้างศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล ดังนี้
๑.ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลบ้านลาด
๒.ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลบ้านหาด
๓.ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลท่าเสน
๔.ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลไร่โคก
๕.ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลโรงเข้
การนำเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ไปขยายผลในชุมชนดำเนินการได้ ดังนี้
1) กศน.อำเภอบ้านลาด นำนักศึกษาของ กศน.อำเภอบ้านลาด ทั้ง 18 ตำบล ตำบลละ 15 คน เป็นจำนวน 270 คน และชุมชนเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ของกศน.อำเภอบ้านลาด ทั้ง 18 ตำบลๆ ละ 5 คน เป็นจำนวน 90 คน รวมทั้งสิ้น 360 คน เรียนรู้ทั้งแนวคิด วิธีการ คุณประโยชน์ที่ได้รับ ฯ
2) กศน.อำเภอบ้านลาดนำเนื้อหาสาระของแหล่งเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลบ้านทาน มาบูรณาการในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ ในรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับ ประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
3) ชักชวนเกษตรกรให้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ไปใช้ในการดำเนินการในอาชีพของตน และดำเนินวิถีชีวิต ตัวอย่างเกษตรกรที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ไปใช้ในชีวิตประจำวันจนประสบความสำเร็จ

3.1 นางบุญส่ง ศรีเมือง เกษตรกรตำบลโรงเข้

3.2 นางนภาภรณ์ บัวกล่ำ เกษตรกรตำบลไร่โคก

3.3 นายสุริยะ คำแก้ว เกษตรกรตำบลถ้ำรงค์

3.4 นายสุเวต พหรมมรเดช เกษตรกรตำบลท่าเสน

3.5 นายละออ สมบูรณ์ เกษตรกรตำบลท่าช้าง

3.6 นายเอ็ด เกิดเกษม เกษตรกรตำบลห้วยลึก

3.7 นายบรรจง แย้มเทศ เกษตรกรตำบลลาดโพธิ์

3.8 นายประสิทธิ์ สวยงาม เกษตรกรตำบลห้วยข้อง

3.9 นายทัน สังข์พุก เกษตรกรตำบลบ้านหาด

3.10 นางละมูล อยู่คง เกษตรกรตำบลบ้านลาด

3.11 นายอานัต เทศกลิ่น เกษตรกรตำบลสมอพลือ

3.12 นางปราณี สินสมบูรณ์ เกษตรกรตำบลไร่มะขาม

3.13 นางสาวจิราภรณ์ มิชสิน เกษตรกรตำบลบ้านทาน

3.14 นายประสงค์ หอมระรื่น เกษตรกรตำบลไร่สะท้อน

3.15 นายเฉลา พ่วงนิล เกษตรกรตำบลหนองกะปุ

3.16 นางสาวปนิชญา มิตรจิต เกษตรกรตำบลสะพานไกร 3.17 นายปราโมทย์ คำแก้ว เกษตรกรตำบลหนองกระเจ็ด

3.18 นายสรวัชร์ กลิ่นเจริญ เกษตรกรตำบลตำหรุ

ซึ่งการดำเนินการขยายผลดังกล่าวจะยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือพยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน โดยในแต่ละชุมชนมีการบริหารจัดการอย่างพอดีประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย และพัฒนาตนเองให้สามารถ"อยู่ได้อย่างพอเพียง" รู้จักลดกิเลสและลดความต้องการ ของตนเองลง เพื่อให้เหลือแรงและเวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากขึ้น