ประเพณีสรงน้ำพระธาตุแตงเขียว

พระธาตุแตงเขียว โดยประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ - ๒๔๖๗ มีแม่หม้าชื่อว่านางจันทร์ คนบ้านร่องถ่านได้นำแตงไทยมาถวายหลวงพ่ออุตตะมา (เดิมชื่อกุย เป็นบุตรของพ่อหนานยะ นันทวงศ์ แม่ฟุ่น คนบ้านร่องถ่าน อุปสมบทเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๘ รับฉายาว่า อุตฺตโม แตงไทยลูกนี้เดิมนางตุ้ย (แม่หม้าย) คนบ้านร่องถ่านซึ่งทำไร่ปลูกถั่ว ปลูกแตงใกล้กับไร่นางจันทร์ต้นแตงจากไร่ของนางตุ้ยได้เลื้อยไปอยู่ในพื้นที่ไร่ของนางจันทร์ พอต้นแตงไทยออกลูกนางตุ้ยจึงบอกให้นางจันทร์เก็บผลแตงที่แก่แล้วไปถวายหลวงพ่อที่วัดหลวงพ่ออุตตะมา เมื่อได้แตงไทยลูกนั้นมาแล้วจึงสั่งให้สามเณรภายในวัดผ่าแตงไทยลูกนั้น เพราะหลวงพ่อได้กลิ่นหอมของแตงไทยแต่สามเณรบอกว่าแตงไทยลูกนี้ยังไม่แก่เพราะยังเขียวอยู่ และยังไม่ได้กลิ่นของแตงหอมสุกเลยแถมเนื้อแตงยังแข็งอยู่ หลวงพ่อก็บอกว่าไม่เป็นไรรอมันสุกแล้วค่อยผ่าแตงมาถวาย สามเณรจึงเอาแตงลูกนั้นเก็บไว้ใต้เตียงของหลวงพ่ออีกสองสามวันหลวงพ่อได้กลิ่นหอมของแตงไทยจึงนำแตงไทยออกมาจากใต้เตียงแล้วนำพร้าผ่าแตงเพื่อฉันท์ แต่ปรากฎว่าพร้าผ่าแตงไม่เข้า ก็อัศจรรย์ใจจึงพิจารณาแตงไทยลูกนั้นเห็นว่ามีลักษณะเหมือนแตงทั่วไปแถมมีกลิ่นหอมเหมือนผลแตงที่สุกแล้ว จะแปลกตรงที่ผลแตกที่แข็งเอาหัวแม่มือกดลงบนผิวแตงก็ไม่บุ๋มลงไป เอาพร้าผ่าก็ไม่สามารถระคายผิวของแตงเลย ผิวแตงก็ออกสีเขียวหลวงพ่ออุตตะมาจึงแน่ใจว่าแตงไทยลูกนี้เป็นของกายสิทธิ์หรือทนสิทธิ์ เป็นของดีของศักดิ์สิทธิ์ควรจะสร้างองค์เจดีเพื่อบรรจุเอาไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนทั้งหลายในขณะที่หลวงพ่อให้ขุดดินสร้างฐานองค์เจดีอยู่นั้นมีสามเณรหวัน วงศ์ทำนา (ลูกของพ่อน้อยวงค์ แม่จ๋อย) ซึ่งเป็นคนบ้านร่องถ่านได้เก็บลูกหม่าก๊อ (ลูกทับทิม) ที่เกิดภายในวัดที่จะฉันท์พอสามเณรหวันกัดที่เปลือกลูกหม่าก๊อปรากฎว่ากัดไม่เข้าเอามีดผ่าก้ไม่เข้า จึงเอาลูกหม่าก๊อไปให้หลวงพ่ออุตตะมาหลวงพ่อก็บอกว่าดีแล้วจะได้นำมาบรรจุกับลูกแตงเขียวไว้ในองค์พระธาตุเจดีย์ แล้วจึงประกาศให้ศัทธาญาติโยมทราบว่าใครมีของดีหรือของมีค่าที่จะร่วมบรรจุในองค์พระธาตุเจดีย์นี้ก็ให้เอามาใส่ในหม้อมังกรโบราณแล้วเอาฆ้อง (ตอง) เป็นฝาหม้อปิดไว้ส่วนหม้อที่บรรจุแตงเขียว และหม่าก๊อนั้นหลวงพ่ออุตตะมาจะบรรจุเองมีพ่อออกบ้านลูนิเกตุซึ่งสนิทกับหลวงพ่อสั่งไว้ว่า หากจะเอาบรรจุอย่าลืมบอกกันด้วยจะได้ดูส่วนของมีค่าอื่น ๆ ที่ญาติโยมนำมาถวายเพื่อจะเอาบรรจุในองค์พระธาตุเจดีนั้นหลวงพ่อก็ให้ญาติโยมพากันนอนเฝ้าพอรอฤกษ์เวลาบรรจุในองค์พระธาตุ พอใกล้เวลาสว่างหลวงพ่ออุตตะมาก็เอาหม้อที่บรรจุแตงเขียวกับลูกหม่าก๊อ ไปบรรจุในพระธาตุเพียงรูปเดียวพอสว่าฤกษผานาทีแล้วประกาศให้ธาตโยงช่วยกันนำของมีค่าต่าง ๆ ที่นำมาถวายเอามาบรรจุในองค์พระธาตุพ่อออกบ้านลูนิเกตไม่เห็นหม้อที่บรรจุแตงเขียวกับหม่าก๊อ จึงถามหลวงพ่อ พอทราบว่าหลวงพ่อได้บรรจุในองค์พระธาตุก่อนแล้วก็บ่นในทำนองน้อยใจว่าทำไมไม่เรียกกันบ้างหลวงพ่อจึงบอกว่าไม่อยากรบกวนคนกำลังหลับนอน เมื่อสร้างองค์พระธาตุเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๘ หลวงพ่ออุตตะมาจึงได้ทำการฉลององค์พระธาตุ ชาวบ้านทั้งหลายจึงเรียกองค์พระธาตุ ชาวบ้านทั้งหลายจึงเรียกองค์พระธาตุนี้ว่า “พระธาตุแตงเขียว” เพราะได้เอาแตงเขียวบรรจุไว้ พระธาตุแตงเขียวนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มากมักมีศรัทธาญาติโยมเห็นดวงไฟสีเขียวพุ่งขั้นบนปลายยอดพระธาตุบ่อยๆโดยเฉพาะช่วงวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ ส่วนวันทำบุญสรงน้ำพระธาตุแตงเขียวนั้นจะจัดขึ้น ๑๕ เดือน ๙ หรือเดือน ๗ ใต้(ประมาณเดือนมิถุนายน) ของทุกปีซึ่งถือว่าเป้ฯวันประเพณีสรงน้ำพระธาตุแตงเขียวภายในวัดจะมีการเทศน์มหาชาติและนำน้ำอบ น้ำหอมขมิ้น ส้มป่อยสรงน้ำพระธาตุในช่วงตอนเย็น และมักมีปรากฎการณ์อัศจรรย์ตลอด เมื่อสรงน้ำพระธาตุแตงเขียวเสร็จฝนจะตก หากในวันก่อนฝนไม่ตกแต่หลังจากสรงน้ำพระธาตุแตงเขียวเสร็จแล้ว ฝนจะตกลงมา น้ำท่าจะบริบูรณ์“ถ้าตนใดเคราะห็ร้าย หรือดวงไม่ดี ให้สร้างพระเข้าตัว (นำธรรมะเข้าตัว) สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน” พระราชสุธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี