วัดสุคันธศีลาราม (วัดหอมศีล)

มาที่เดียวได้ครบเครื่อง


จากความเป็นมาของบ้านหอมศีล เดิมคือบางหอมศีล ตั้งชื่อตามคลองหอมสิน ซึ่งเป็นคลองที่กั้นระหว่าง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งคลองหอมสินถึงแม้จะเป็นคลองขนาดเล็ก แต่สามารถไปเชื่อมกับคลองสำโรง ซึ่งไหลผ่าน อำเภอบางปะกง ไปออกแม่น้ำบางปะกงบริเวณท่าสะอ้าน และจากแม่น้าบางปะกง สามารถเดินทางไปออกอ่าวไทย แล้ววกเข้าแม่น้าเจ้าพระยาได้อีกด้วย บางหอมสิน เคยเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ ขึ้นกับมณฑลปราจีน ต่อมาขึ้นอยู่กับตำบลบางเกลือ ซึ่งแบ่งได้ออกเป็น 4 หมู่บ้าน ต่อมา เมื่อแยกบ้านหอมสิน (บ้านหอมศีล) ยกระดับขึ้นเป็นตำบลหอมศีลเมื่อ พ.ศ.2533 อีก 2 หมู่บ้าน คือหมู่ 2 และ 4 ได้แยกไปขึ้นอยู่กับตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันมี 4 หมู่บ้าน สำหรับชื่อหอมสินนั้นเป็นชื่อเดิมตั้งตามชื่อคลองหอมสิน ซึ่งเป็นชื่อเรียกมาตั้งแต่เดิม (ในตราจองหรือโฉนดที่ดินที่สำรวจใน พ.ศ.2473 เรียกว่าคลองป่า หอมสินธ์ สันนิษฐานว่าบริเวณนี้คงเป็นป่ามาก่อน ส่วนคำว่า สินธ์ ไม่มีความหมาย แต่คำว่า สินมีความหมายถึง เงิน ทรัพย์ )

เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา ( พระยศในขณะนั้น ) ได้เสด็จประพาสทางเรือและประทับพักแรมที่วัดหอมสิน (หอมศีล ในปัจจุบัน) และทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดหอมสิน เป็นวัดหอมศีล หรือ “วัดสุคันธศีลาราม” ซึ่งมีความหมายเดียวกัน คือ กลิ่นหอมของศีล อันจะกล่าวถึงความหมายของชื่อวัดในเรื่องเกี่ยวกับป้ายชื่อวัดหรือ วัดสุคันธศีลาราม จากคำบอกเล่าของท่านเจ้าอาวาสวัดหอมศีลองค์ปัจจุบัน สันนิษฐานว่าบ้านหอมสินมีคนมาอยู่อาศัยในราวรัชกาลที่ 3 แล้ว และมีคนอยู่อาศัยมาตลอด

ปัจจุบันตำบลหอมศีล แบ่งออกได้เป็น 6 หมู่ คือ

หมู่ที่ 1 บ้านหอมศีล หมู่ที่ 2 คลองบางพลีน้อย

หมู่ที่ 3 ปากคลองหอมศีล หมูที่ 4 คลองเจ๊กพงษ์

หมู่ที่ 5 คลองสกัด40(ตะวันตก) หมู่ที่ 6 คลองสกัด80

วัดสุคันธศีลาราม ( วัดหอมศีล )เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่ของฉะเชิงเทรา แต่หมู่บ้านหอมศีลเป็นหมู่บ้าน 2 จังหวัดคืออยู่สมุทรปราการด้วยเช่นกัน มีคลองหอมศีลกั้นกลางระหว่างฉะเชิงเทรา และ สมุทรปราการ จึงเป็นวัดสำคัญของชาวสมุทรปราการด้วยเช่นกัน และ เป็นวัดที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฏางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระโอรสรัชกาลที่ ๕ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม และ ทรงสร้าง ศาสนสถานวัดหลายแห่ง ซึ่งล้วน แต่มีคุณค่าทางศิลปกรรม กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนพระอุโบสถเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ต่อมาทางวัด และ บริษัท มรดกโลก จำกัด จึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามให้อยู่ในสภาพดีดังเดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ -๒๕๓๐

ศาลเจ้าสองพี่น้อง

คลองสำโรง

ข้อมูลเนื้อหา โดย เทศบาลตำบลหอมศีล

เรื่องราว เขียนโดย นางสาวลลิตา สุวรรณสม

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย เทศบาลตำบลหอมศีล

ข้อมูล TKP อ้างอิง https://shorturl.asia/yqhZa