พระบรมรูปสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฏางเดชาวุธ
เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ

สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 มีพระนามลำลองว่า "เอียดเล็ก" ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก ถึงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2441 จึงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ วิสิฐวิสุทธลักษณโสภณ อุบัตรดลกาลนิยม ประถมปริวัตรรัตนโกสินทร์ศก สะตะสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนารถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ อุภโตปักษวิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร กรมขุนนครราชสีห์มา" ทรงศักดินา พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี,พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์

สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา มีพระกรณียกิจที่สำคัญในกองทัพเรือ คือ ทรงดำรงตำแหน่งผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์[6] โดยได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลเรือเอก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ศกเดียวกันและทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2467[8] ทรงเปลี่ยนระเบียบการปกครองบังคับบัญชาเรือหลวงใหม่ แต่เดิมนั้นการบังคับบัญชาในเรือหลวง แบ่งออกเป็น 2 กระบวนเรือ แต่ละกระบวนเรือต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เหมาะสม ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ไม่เป็นแบบฉบับเดียวกัน

จึงให้รวมกระบวนเรือทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า กองทัพเรือ มีผู้บัญชาการกองทัพเรือเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือคนแรกคือ นาวาเอก พระหาญสมุท (บุญมี พันธุมนาวิน) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2466[9]และให้แบ่งแยกกองทัพเรือออกเป็น 3 กองเรือ คือ กองเรือปืน กองเรือใช้ตอร์ปิโด และกองเรือช่วยรบ

ต่อมาพระบรมรูปสมเด็จเจ้าฟ้าอัษฏางเดชาวุธ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธได้เสด็จประพาสทางเรือและประทับพักแรมที่วัดหอมสิน(หอมศีล ในปัจจุบัน)ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดหอมศีล พร้อมกับเปลี่ยนเป็นตำบลหอมศีลในปัจจุบันเพื่อต้องการให้สื่อความหมายว่าเป็นตำบลแห่งศีลธรรม และทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดหอมสินเป็นวัดหอมศีล หรือ วัดสุคันธศีลาราม ซึ่งมีความหมายเดียวกัน คือ กลิ่นหอมของศีลอันจะกล่าวถึงความหมายของชื่อวัดในเรื่องเกี่ยวกับป้ายชื่อวัด ต่อมาทางหน่วยงานและประชาชนได้มีการจัดงานประเพณีสักการะอนุสาวรีย์ท่านเจ้าฟ้า ล่องเรือ ชิมเมี่ยงปลานิล กินน้ำปานะ ไหว้พระสองแผ่นดิน ณ.วัดสุคันธศีลาราม (หอมศีล) ในทุกๆปี

ข้อมูลเนื้อหา โดย เทศบาลตำบลหอมศีล

เรื่องราว เขียนโดย นางสาวลลิตา สุวรรณสม

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย เทศบาลตำบลหอมศีล

ข้อมูล TKP อ้างอิง https://shorturl.asia/WHLJs