ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

พื้นที่ตำบลดอนเกาะกา เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าว คิดเป็นร้อยละ 97.6 ของพื้นที่ทางการเกษตร และเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมมากสำหรับ การปลูกข้าว (S1) ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายสด แปรรูป และผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ไว้จำหน่ายบ้าง โดยมีการรวมกลุ่มเพื่อผลิตในรูปแบบแปลงใหญ่ ปัญหาที่พบ คือ

- ต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะปุ๋ยมีราคาแพง

- ศัตรูพืชระบาด ผลผลิตขายได้ราคาต่ำ

แนวทางการพัฒนา : การลดต้นทุนการผลิตข้าว โดยลดการใช้เมล็ดพันธุ์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีโดยการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง การไถกลบตอซังข้าว การตรวจวิเคราะห์ดิน การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า

เทคโนโลยีเด่นของศูนย์เรียนรู้: เทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าว

การนำไปใช้ประโยชน์ : การลดต้นทุนการผลิตข้าว

หลักสูตรเรียนรู้: 1. การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง

2. การผลิตปุ๋ยหมัก

3. การตรวจวิเคราะห์ดิน

4. การทำบัญชีครัวเรือน

5. การผลิตข้าวเพื่อบริโภคและแปรรูป

ฐานการเรียนรู้ในศูนย์ฯ

ฐานการเรียนรู้ที่1 การดูแลรักษาตั้งแต่ปลูก – การเก็บเกี่ยวและขนส่ง โดยเน้นใน
- ระยะกล้า ได้แก่ การกำจัดวัชพืช การใช้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การตรวจแมลง
- ระยะแตกกอ ได้แก่ การตัดพันธุ์ปน การกำจัดวัชพืชและแมลง การให้น้ำแบบเปียกสลับแห้ง
- ระยะตั้งท้อง ได้แก่ การตัดพันธุ์ปน และกำจัดวัชพืช สำรวจโรคและแมลง ระยะออกรวง ได้แก่ การตัดพันธุ์ปน กำจัดวัชพืช ส ารวจแมลงก่อนเกี่ยว 20 วัน เอาน้ำออกจากนา ระยะเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวระยะพลับพลึง

ฐานการเรียนรู้ที่ 2 การใช้ข้าวพันธุ์ดีใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ใช้อัตราที่เหมาะสม โดยเน้นการเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่

ฐานการเรียนรู้ที่3 การเลือกเทคโนโลยีการผลิตข้าวอย่างประณีตและการลดต้นทุนการผลิต โดยการทำนาโยน เปียกสลับแห้ง และการใช้ปุ๋ยตามค่าการตรวจวิเคราะห์ดินหรือที่เรียกว่า ปุ๋ยสั่งตัด

ฐานการเรียนรู้ที่4 การใช้ปุ๋ยถูกชนิด ถูกอัตรา ถูกเวลา โดยเน้นการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน ได้แก่การส่งดินตรวจหาผลการวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อไร่ และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อแปลง