พระธาตุจอมก้อย(พระเจ้าตอกสาน)






ประวัติความเป็นมาขององค์พระพุทธรูปเจ้าตอกสาน

ครั้งหนึ่ง เริ่มขึ้นด้วยการจาริกของพระบรรจง ปุญญกาโม โดยมีพระสงฆ์หลายรูปได้ร่วมเดินทาง อาทิเช่น คณะของพระครูบาใต้อ๋อง แห่งวัดกู่ไก่แก้ว จังหวัดพะเยา ได้ร่วมเดินทางเป็นไปด้วย ในการจา ริกครั้งนั้นมีจุดมุ่งหมายสุดท้าย คือ ถ้ำผาแรม เขตเมืองพม่า เมื่อเดินทางถึงถ้ำผาแรม จุดสนใจที่สุดทำให พระบรรจง เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า ที่อยู่เบื้องหน้าของท่าน เป็นพระพุทธรูปเจ้านอนองค์ใหญ่ ที่มีความงด

งาม ที่พิเศษกว่านั้น คือการใช้ตอกเป็นเส้นๆ สานให้เป็นรูปองค์พระขึ้นมา จึงเรียกว่า พระพุทธรูปเจ้าตอกสาน หรือเรียกทางตำนานต้นว่า พระเจ้าอินทร์สาน ประวัติต้น ที่เรียกว่า พระเจ้าอินทร์สาน นั้น เชื่อว่าพระอินทร์เป็นผู้สร้างขึ้น มีอายุมากมายหลายร้อยปี เกิดขึ้นในเมืองพม่า กาลต่อมาได้มีช่างฝีมือโบราณเกิดศรัทธาเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาค้นคว้าวิธีการสร้างขึ้นมา เพื่อบูชาพระพุทธศาสนาขึ้นหลายองค์ จนกระทั่งช่างฝีมืออีกท่านหนึ่งนามว่า พ่อ สล่าศรีทน (อุ่น) ได้เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงได้ศึกษาวิธีการสานองค์พระพุทธรูปเจ้าตอกสาน จนเกิดความสำเร็จ เกิดศรัทธาขึ้นมาเรื่อยๆ สร้างพระพุทธรูปเจ้าตอกสาน บูชาไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้กราบสักการบูชา ดั่งสมบุญญาบารมีต่อไป เพราะศรัทธาอย่างแรงกล้านี้เองที่ทำให้ พระพุทธรูปเจ้าตอกสาน เกิดขึ้น ณ สำนักสงฆ์พระธาตุจอมก้อย หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านขอ อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง แห่งนี้ ท่านจึงติดต่อคณะผู้สร้างองค์พระพุทธรูปเจ้า ตอกสาน และได้คำตอบเป็นที่น่าปิติยินดีอย่างของชาวพุทธในประเทศไทย โดยคณะที่เดินทางมานั้น มาจากสิบสองปันนา เพื่อมาสร้าง องค์พระพุทธรูปเจ้าตอกสาน ซึ่งเป็นคณะลูกศิษย์ พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสังวโร ประกอบด้วย พระครูบาศรีนวล นันทะธมมิก, ท่านเจ้าประสิทธิ์ จิตตสงวโร, ท่านเจ้าจาม อินทากะ, ท่านเจ้าเสน่ห์ ถาวโร, สามเณรคำแสง โกวิตะ และพ่อสล่าศรีทน (อุ่น) ค้าวจ้อย ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทย เมื่อวันจันทร์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และได้เริ่มสร้าง(บวงสรวง) ณ พระธาตุจอมก้อย ในวันอังคารที่ 3 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 การคำนวณความยาวขององค์พระพุทธรูปเจ้าตอกสานได้ความยาว 12 เมตร 2 เซนติเมตร ไม้ที่นำมาใช้ในการสร้างองค์พระพุทธรูปเจ้าตอกสานเพื่อให้ตั้งอยู่ในตำนาน บวรพระพุทธ ศาสนาให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ทราบทั่วกัน ชื่อว่า ไม้ไร่มุง มีลักษณะพิเศษ คือเหนียว ทนทาน แตกกิ่งก้านสาขา เลื้อยขึ้นมุงไม้ใหญ่ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ คล้ายหวาย การอยู่ของไม้ไร่มุง จะอยู่ในที่เย็น หุบเขาใหญ่ นำมาจาก เขตอน ุรักษ์ป่า บ้านกล้วย อำเภองาว จังหวัดลำปาง อีกที่หนึ่งที่ได้นำมาคือ จากเขตป่าแม่แจ๋ม เขตติดต่อระหว่างลำปาง – เชียงใหม่

ตลอดระยะเวลาในการสร้าง (สาน) ได้มี พระสมณะ สาธุชน อุบาสก อุบาสิกา อันกอรปด้วยน้ำใจศรัทธาอันแรงกล้า เดินทางมาจากทิศทั้งสี่ ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล เพื่อปรารถนาที่จะให้องค์พระสำเร็จลงและใคร่ที่จะได้เห็น ทุกวันทั้งกลางวัน กลางคืน จะมีผู้ศรัทธาเลื่อมใส ในบวรพระพุทธศาสนา ได้มาช่วยจักและเหลาตอกโดยมิขาด ที่มีเงินก็ถวายเงิน เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ในการสร้าง ที่มีแรงก็ออกแรง ทำอย่างบริสุทธิ์ใจ และความบริสุทธิ์อันประเสริฐ แห่งพระพุทธศาสนาผู้ที่มาร่วมใจสานองค์พระพุทธรูปเจ้าตอกสานนั้น ล้วนแต่ปรารถนาใน

องค์พระที่สานให้มีความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ก่อนเหลาและสานองค์พระพุทธรูปเจ้าตอกสานนั้น ต่างพากันสมาทานเบญจศีล (ศีล 5) สำหรับท่านที่สาน ก็มีใจวิรัติงดเว้นบาป อกุศลยิ่งขึ้น โยสมาทาน อโบสถศีล เพื่อปฏิบัติบูชา พระรัตนตรัยดวงแก้ว 3 ประการ ละชั่ว ประพฤติดี ทำใจให้บริสุทธิ์ สะอาดผ่องใส ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี สำหรับ พ่อสล่าศรีทน เท่าที่ได้เห็น ได้สัมผัสตลอดระยะเวลาที่สร้างองค์พระพุทธรูปเจ้าตอกสานนั้น ทุกวัน ท่านก็รับประทานอาหารเจ มื้อเดียว เป็นอย่างนี้ทุกวัน ทั้งตื่นเช้าเพื่อสร้างองค์พระจนถึงเวลากลางคืน เวลาพักก็เพียงกิส่วนตัวเท่านั้น ท่านบอกว่า เพื่อบูชาพระรัตนตรัยดวงแก้ว 3 ประการ และจะมอบทั้งกายและใจเพื่อการบูชาครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้ จนกระทั่งความสำเร็จครั้งใหญ่ สิ่งที่ทุกคนตั้งใจก็มาถึง คือการสร้างองค์พระพุทธรูปเจ้า ตอกสาน ก็สำเร็จลงใน วันพฤหัสบดี ที่ 25 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2547 เวลา เที่ยงคืน รวมระยะเวลาในการสร้าง 1 เดือน 22 วัน และเป็นที่น่าปิติยินดีอย่างยิ่งของชาวพุทธ เราที่มีส่วนร่วมสร้าง องค์พระพุทธรูปเจ้าตอกสาน เห็นความสำคัญที่ยิ่งใหญ่ ที่จะเป็นประโยชน์ ผล บุญญาบารมีสืบอายุ บวรพระพุทธศาสนา ให้ยั่งยืนยาวนาน ให้ผู้มีจิตเลื่อมใสได้ดั่งสมบุญญาบารมีในกาลต่อไป