เลี้ยงกุ้งขาว

การเลี้ยงกุ้งขาว

แยกตามความเค็มของน้ำได้เป็น 2 แบบ คือ

1.การเลี้ยงกุ้งขาวด้วยน้ำความเค็มต่ำ

การเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่น้ำจืดและในพื้นที่ภาคกลาง ส่วนใหญ่จะเลี้ยงโดยใช้น้ำความเค็มต่ำ ภิญโญ (2545) อธิบายถึงรายละเอียดวิธีการเลี้ยงกุ้งขาว ตั้งแต่การเตรียมบ่อ การให้อาหาร ตลอดจนการจัดการในระหว่างการเลี้ยง โดยใช้น้ำความเค็มต่ำมากจนเกือบจะเป็นระดับที่ถือว่าเป็นน้ำจืดดยทั่วไปเกษตรกรจะซื้อน้ำเค็มความเข้มข้นสูงจากนาเกลือใส่รถบรรทุกน้ำคันละประมาณ 12-13 ตัน ความเค็ม 100-200 พีพีที มาเติมในน้ำจืดเพื่อให้ได้ความเค็มประมาณ 3-4 พีพีที ส่วนใหญ่จะกั้นคอกก่อน มีการกั้นคอกโดยใช้ผ้าพลาสติกพื้นที่ประมาณ 150 ตารางเมตร ความลึกประมาณ 80 เซนติเมตร แล้วมีเติมน้ำจากนาเกลือเข้าไปในคอกจนได้ความเค็มประมาณ 8-10 พีพีที หลังจากนั้นก็จะใช้ลูกกุ้งซึ่งปรับความเค็มจากโรงเพาะฟักมาแล้วโดยลูกกุ้งขาวระยะโพสลาร์วา 10-12 (พี 10-12) มาปล่อยในคอก อนุบาลในคอกประมาณ 3-4 วันก็เปิดคอกออกมา จะอนุบาลในคอกไม่นาน เนื่องจากกุ้งขาวจะกินอาหารเก่ง และว่ายน้ำตลอดเวลาเพราะฉะนั้นจะไม่นิยมอนุบาลนานเกินไป เพราะอาจจะมีการกินกันเอง

หนึ่งเกษตรกรจะไม่ทำคอกเหมือนกุ้งกุลาดำคือเตรียมน้ำความเค็มประมาณ 3-5 พีพีที ทั้งบ่อแล้วให้ทางโรงเพาะฟักปรับความเค็มของลูกกุ้งจนมาอยู่ที่ความเค็มต่ำที่สุดประมาณใกล้เคียงกับที่จะมาปล่อยในบ่อ แล้วนำลูกกุ้งมาปล่อยโดยตรงโดยที่ไม่มีการกั้นคอกเป็นอีกวิธีหนึ่งของการเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ความเค็มต่ำ การปล่อยลูกกุ้งโดยตรงในบ่อจะให้อัตรารอดสูงกว่า ที่ผ่านมาจะปล่อยลูกกุ้งไม่หนาแน่นมากเมื่อเทียบกับการเลี้ยงริมชายฝั่งทะเล โดยทั่วไปจะมีการปล่อยลูกกุ้งในอัตราความหนาแน่นประมาณ 70,000-80,000 ตัว/ไร่ ผลผลิตเมื่อเทียบกับกุ้งกุลาดำแล้วผลผลิตของกุ้งขาว ถ้าปล่อยลูกกุ้ง 100,000 ตัว เลี้ยงด้วยความเค็มต่ำจะมีผลผลิตประมาณ 1,000 กิโลกรัม (1 ตัน)หรือมากกว่า 1 ตันเล็กน้อย ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเลี้ยงให้ได้กุ้งขนาดประมาณ 60-80 ตัว/กิโลกรัม คือเลี้ยงประมาณ 3 เดือน จะมีการจับกุ้งบางส่วนออกไปขายก่อยโดยมีการใช้อวนตาห่างเพื่อลากเอากุ้งขนาดใหญ่ในบ่อประมาณครึ่งหนึ่งออกไปขาย หลังจากนั้นก็จะมีการเติมน้ำเข้ามาเพราะก่อนจับจะมีการลดน้ำลงไปส่วนหนึ่ง ซึ่งถ้าน้ำลึกเกินไปจะใช้อวนทับตลิ่งลากลำบาก จึงต้องมีการลดน้ำลง แล้วก็ใช้อวนตาใหญ่ลาก ก็จะได้กุ้งตัวใหญ่อาจจะเป็นขนาด 60 ตัว/กิโลกรัมขึ้นมาขายก่อนครึ่งบ่อ จากนั้นจะมีการเติมน้ำจืดเข้าไปจนเต็มบ่อ หลังจากนั้นจะเอาน้ำเค็มมาเติมอีกรอบหนึ่งเพื่อเพิ่มความเค็ม กุ้งที่เหลือก็จะมีการเจริญเติบโตดีขึ้น และเลี้ยงต่ออีกประมาณ 2 สัปดาห์ จะทำให้กุ้งในบ่อโตขึ้นมา เช่น ขนาด 80 ตัว/กิโลกรัมก็จะกลับมาเป็น 60 ตัว/กิโลกรัม การเลี้ยงด้วยน้ำความเค็มต่ำในพื้นที่น้ำจืดก็จะเลี้ยงแบบนี้ คือจับ 2 ครั้ง ในบางส่วนของพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำบางปะกงซึ่งใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกง ในบางฤดูและบางพื้นที่มีความเค็มตลอดทั้งปีแต่ความเค็มไม่สูง บางช่วงเวลาก็จะซื้อน้ำเค็มจากนาเกลือมาเติม ส่วนใหญ่จะปล่อยกุ้งหนาแน่นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในฟาร์มที่มีความพร้อม มีเครื่องให้อากาศเต็มที่ ความเค็มของน้ำไม่ต่ำกว่า 3 พีพีที ฟาร์มเหล่านี้มีการปล่อยลูกกุ้งค่อนข้างหนาแน่นแทนที่จะปล่อยไร่ละ 70,000-80,000 ตัว จะปล่อยลูกกุ้งความหนาแน่นประมาณ 100,000-120,000 ตัว/ไร่ หมายถึงต้องมีน้ำถ่ายพร้อม ความเค็มไม่หมดในระหว่างการเลี้ยง ข้อควรระวังในการปล่อยลูกกุ้ง

ในการปล่อยลูกกุ้งลงในบ่อเลี้ยงเกษตรกรมักจะนำถุงที่บรรจุลูกกุ้งลอยไว้ในบ่อเพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำในบ่อ เนื่องจากลูกกุ้งที่ขนส่งลำเลียงมาจากโรงเพาะฟักจะมีการปรับอุณหภูมิระหว่างการเดินทางไม่ให้สูงมาก เพื่อลดความเครียดของลูกกุ้ง ส่วนมากอุณหภูมิของน้ำในถุงที่บรรจุลูกกุ้งประมาณ 23-25 องศาเซลเซียส การลอยถุงใส่ลูกกุ้งในบ่อ อย่าให้นานเกินไป เพราะเมื่ออุณหภูมิของน้ำในถุงอุ่นขึ้นเท่ากับในบ่อ ลูกกุ้งจะเริ่มปราดเปรียวว่องไว ลูกกุ้งตัวที่โตกว่าอาจจะกินตัวที่เล็กกว่า หรือทำอันตรายตัวที่เล็กกว่า จากการสังเกตถ้าปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงนานเกินไป และลูกกุ้งที่บรรจุในถุงมีขนาดแตกต่างกันมาก อัตรารอดมักจะต่ำกว่าปกติ

การให้อาหารลูกกุ้ง

ปริมาณการให้อาหารสำหรับลูกกุ้งที่เพิ่งปล่อยลงในบ่อแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการเลี้ยง เกษตรกรบางรายมีการเตรียมบ่อดี มีอาหารธรรมชาติมาก ให้อาหารเริ่มต้นคล้ายกับกุ้งกุลาดำคือ ลูกกุ้ง 100,000 ตัวให้อาหาร 1 กิโลกรัม/วัน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะปรับอาหารตามยอได้







ภาพถ่ายโดย ผู้ใหญ่จันทนา มั่นนาค ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 13 ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อหา จาก sites.google.com/site/karleiyngkungkhaw/