วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงค์เถรวาทจะอธิฐานว่า จะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติกปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงค์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม

การเข้าพรรษาตามปกติเริมนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา สาเหตุที่พระเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงค์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝนเพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน

ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนี้เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงค์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อศึกษาธรรมวินัยจากพระสงฆ์ ที่ทรงความรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย


สำหรับการหล่อเทียนพรรษาของประชาชนตำบลบางผึ้งเป็นการถวายแก่พระสงฆ์เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงเข้าพรรษาซึ่งสมัยก่อนใช้จุดเพื่อแสงสว่างเนื่องจากไม่มีไฟฟ้า เรียกว่า ตามประทีปเพื่อศึกษาหรือบำเพ็ญเพียรสมาธิในสถานที่มืด ถือว่า ได้รับอานิสงส์ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะได้ธรรมะจากกิจกรรมและได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนิกชนตำบลบางผึ้งได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญ ตักบาตรหล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศิล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอาบายมุข และมีโอกาสได้ฟังธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษาเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและเพื่อความเป็นสิริมงคลซึ่งการหล่อเทียนพรรษานั้นเป็นประเพณีที่สัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ คือ การเข้าพรรษา นั่นเอง

ประเพณีแห่งเทียนพรรษานั้น เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา3 เดือน การนำเทียนไปถวายชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี

งานประเพณีแห่เทียนพรรษาตำบลบางผึ้ง เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่นตำบลบางผึ้ง โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน เป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะสรรหาภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีฝีมือทางช่าง มีความรู้ ความชำนาญในเรื่อง การทำลวดลายไทย การแกะสลักลวดลายลงบน ต้นเทียน การทำเทียนให้เป็นลายไทย แล้วนำไปติดบนต้นเทียน

การประดับด้วยผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดอกไม้สด ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของช่างในท้องถิ่น ส่วนการจัดขวนแห่ก็ล้วนแต่ใช้ของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขอขบวนฟ้อน จะใช้ผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำจะใช้ท่ารำที่ดัดแปลงมาจาก วิถีชีวิต การทำมาหากินของชาวบ้าน เป็นท่ารำในรูปแบบของศิลปะ ที่งดงาม ดนตรีประกอบ ก็เป็นเครื่องดนตรีประจำถิ่น ผสมเข้ากับการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ ทำให้งานประเพณีนี้ยิ่งใหญ่ ประชาชนต่างเฝ้ารอคอย


ตำแหน่งที่ตั้ง วัดบางผึ้ง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราวเขียนโดย นางสาวลลิดา แสงใส

ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นางสาวลลิดา แสงใส
ข้อมูล TKP อ้างอิง https://shorturl.asia/hItg5